พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สาวกสูตร ว่าด้วยการอุปมากัป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36616
อ่าน  398

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 516

๗. สาวกสูตร

ว่าด้วยการอุปมากัป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 516

๗. สาวกสูตร

ว่าด้วยการอุปมากัป

[๔๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 517

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีมาก มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า.

[๔๓๔] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสาวก ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี หากว่าท่านเหล่านั้นพึงระลึกถอยหลังไปได้วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึกไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูปของเราผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี พึงทำกาละโดยล่วงไป ๑๐๐ ปีๆ โดยแท้แล กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีจำนวนมากอย่างนี้แล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบสาวกสูตรที่ ๗

อรรถกถาสาวกสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในสาวกสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุสฺสเรยฺยุํ ความว่า แม้พระสาวก ๔ รูป พึงระลึกถอยหลังไปได้ ๔ แสนกัปอย่างนี้ว่า เมื่อรูปหนึ่งระลึกถอยหลังได้แสนกัป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 518

อีกรูปหนึ่งระลึกถอยหลังได้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป แม้รูปอื่นก็ระลึกถอยหลังได้อีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปจากสถานที่เขาอยู่.

จบอรรถกถาสาวกสูตรที่ ๗