พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ติงสมัตตาสูตร ว่าด้วยภิกษุชาวเมืองปาเวยยะ ๓๐ รูป ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36623
อ่าน  386

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 526

๓. ติงสมัตตาสูตร

ว่าด้วยภิกษุชาวเมืองปาเวยยะ ๓๐ รูป ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 526

๓. ติงสมัตตาสูตร

ว่าด้วยภิกษุชาวเมืองปาเวยยะ ๓๐ รูป

ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

[๔๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลนทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ภิกษุชาวเมืองปาเวยยะประมาณ ๓๐ รูป ทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร แต่ทั้งหมดล้วนยังเป็นผู้มีสังโยชน์อยู่ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๔๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริว่า ภิกษุชาวเมืองปาเวยยะประมาณ ๓๐ รูปเหล่านี้แล ทั้งหมดล้วนถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดล้วนยังมีสังโยชน์ ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมโดยประการที่ภิกษุเหล่านี้จะพึงมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ณ อาสนะนี้ทีเดียว ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.

[๔๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้ยังมีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โลหิตที่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 527

หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ดังนี้.

[๔๔๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนาน นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า... เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นแกะ... เกิดเป็นแพะ... เกิดเป็นเนื้อ... เกิดเป็นสุกร... เกิดเป็นไก่... เมื่อพวกเธอถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรฆ่าชาวบ้านตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า... ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรคิดปล้น... ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่นตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้... พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

[๔๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 528

พอใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุชาวเมืองปาเวยยะประมาณ ๓๐ รูป พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.

จบติงสมัตตาสูตรที่ ๓

อรรถกถาติงสมัตตาสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในติงสมัตตาสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาเวยฺยกา ได้แก่ ภิกษุชาวเมืองปาเวยยกะ.

ในบทเป็นต้นว่า สพฺเพ อารญฺิกา พึงทราบความที่ภิกษุเหล่านั้นอยู่ในป่าเป็นวัตรเป็นต้น ด้วยอำนาจสมาทานธุดงค์.

บทว่า สพฺเพ สสญฺโชนา ความว่า พวกภิกษุทั้งปวงยังมีเครื่องผูกอยู่ คือ บางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี. ก็ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเป็นปุถุชน หรือพระขีณาสพไม่มี.

ในบทเป็นต้นว่า คุนฺนํ ได้แก่ พึงถือเอาเวลามีสีอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาสีขาวและดำเป็นต้น.

บทว่า ปาริปนฺถกา ได้แก่ พวกโจรปล้นคอยดักที่ทาง.

บทว่า ปารทาริกา คือ โจรผู้ประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น.

จบอรรถกถาติงสมัตตาสูตรที่ ๓