พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อโนตตาปีสูตร ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัวต่อความชั่ว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36636
อ่าน  392

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 545

๒. อโนตตาปีสูตร

ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัวต่อความชั่ว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 545

๒. อโนตตาปีสูตร

ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัวต่อความชั่ว

[๔๖๔] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปและท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๖๕] ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสป ดังนี้ว่า ท่านกัสสป ผมกล่าวดังนี้ว่า ผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ส่วนผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.

ดูก่อนผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงจักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 546

[๔๖๖] ท่านพระมหากัสสปกล่าวว่า ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เราจะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส.

[๔๖๗] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร.

ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมที่ลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว ผู้มีอายุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 547

เพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.

[๔๖๘] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลสอย่างไร.

ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส.

[๔๖๙] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร.

ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว ผู้มีอายุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 548

สะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้.

จบอโนตตาปีสูตรที่ ๒

อรรถกถาอโนตตาปีสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในอโนตตาปีสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อนาตาปี ความว่า เว้นจากความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส.

บทว่า อโนตฺตาปี ความว่า ไม่กลัว คือ เว้นความกลัวแต่ความเกิดแห่งกิเลส และความไม่เกิดแห่งกุศล.

บทว่า สมฺโพธาย คือ เพื่อความตรัสรู้.

บทว่า นิพฺพานาย คือ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง.

อนุตฺตรสฺส โยคกฺเขมสฺส คือ อรหัต. ก็อรหัตนั้น ยอดเยี่ยมและเกษมจากโยคะ ๔.

ในบทเป็นต้นว่า อนุปฺปนฺนา ความว่า อกุศลบาปธรรมมีโลภะเป็นต้นเหล่าใด ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น อันตนยังไม่เคยได้วัตถุเป็นที่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งของอุปัฏฐาก สัทธิวิหาริก และอันเตวาสิกทั้งหลายแล้ว ถือเอาสิ่งนั้นด้วยเข้าใจว่างาม เป็นสุข ดังนี้ โดยไม่แยบคาย ก็หรือรำพึงถึงอารมณ์อันไม่เคยมีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่แยบคายตามมีตามเกิด. อกุศลบาปธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้.

บาปธรรม ชื่อว่ายังไม่เกิดขึ้นในสงสารอันมีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้ ย่อมไม่มีโดยประการอื่น.

อนึ่ง อกุศลธรรมยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ในเพราะอารมณ์อันเป็นวัตถุ อันเคยมีมา หรือด้วยความบริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 549

เป็นปกติ หรือด้วยการเรียนและการสอบถาม หรือด้วยอำนาจแห่งปริยัตินวกรรมและทำไว้ในใจโดยแยบคาย อย่างใดอย่างหนึ่งในก่อน ภายหลังย่อมเกิดขึ้นได้เร็วด้วยปัจจัยเช่นนั้น.

อกุศลธรรมแม้เหล่านี้ พึงทราบว่า ที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์. ด้วยว่า อกุศลธรรมเมื่อเกิดขึ้นในวัตถารมณ์เหล่านั้นบ่อยๆ ชื่อว่ายังละไม่ได้. อกุศลธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่าที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อยังละไม่ได้พึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์.

นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้. ส่วนความพิสดารแยกเป็นเกิดขึ้น และวิธีที่ละได้ ยังละไม่ได้ ทั้งหมดท่านกล่าวในวิสุทธิมรรคว่าด้วยญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ.

บทว่า อนุปฺปนฺนา เม กุสลา ธมฺมา ความว่า ธรรมที่ไม่มีโทษ กล่าวคือ ศีล สมาธิ มรรคและผลที่ตนยังไม่ได้.

บทว่า อุปฺปนฺนา ได้แก่ กุศลธรรมเหล่านั้นอันตนได้แล้ว.

บทว่า นิรุชฺฌมานา อนตฺถาย สํวตฺเตยฺยุํ ความว่า ธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น เมื่อดับไปเพราะยังไม่เกิด ด้วยอำนาจความเสื่อม.

ก็ในธรรมมีศีลเป็นต้นนี้ โลกิยธรรมย่อมเสื่อม. โลกุตรธรรมไม่มีเสื่อม.

ส่วนเทศนานี้ ท่านแสดงด้วยอำนาจสัมมัปปธานนี้ว่า เพื่อความดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เมื่อทุติยมรรคยังไม่เกิด ปฐมมรรคเมื่อดับ พึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์.

สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ ท่านกล่าวในสูตรนี้ ด้วยอำนาจวิปัสสนาส่วนเบื้องต้น ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอโนตตาปีสูตรที่ ๒