พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ชิณณสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้ชรากับการนุ่งห่มผ้าบังสุกุล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36639
อ่าน  451

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 561

๕. ชิณณสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ชรากับการนุ่งห่มผ้าบังสุกุล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 561

๕. ชิณณสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ชรากับการนุ่งห่มผ้าบังสุกุล

[๔๗๘] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 562

ภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๗๙] เมื่อพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า กัสสป บัดนี้เธอชราแล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่ม เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงคฤหบดีจีวร จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ในสำนักของเราเถิด.

ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานมาแล้ว ข้าพระองค์ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความมักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลี เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ดังนี้.

[๔๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนกัสสป ก็เธอเล็งเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไร จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร สิ้นกาลนาน.

[เปยยาลอย่างเดียวกัน]

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 563

เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร... เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร... เป็นผู้มักน้อย... เป็นผู้สันโดษ... เป็นผู้สงัดจากหมู่... เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ดังนี้.

[๔๘๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร สิ้นกาลนาน ฯลฯ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร... ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร... ทรงไตรจีวรเป็นวัตร... มีความปรารถนาน้อย... เป็นผู้สันโดษ... เป็นผู้สงัดจากหมู่... เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความปรารภความเพียร.

เล็งเห็นการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม และอนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลังว่า ทำไฉน ประชุมชนในภายหลังพึงถึงทิฏฐานุคติว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความอยู่ป่าเป็นวัตร สิ้นกาลนาน ฯลฯ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร... ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร... ทรงไตรจีวรเป็นวัตร... เป็นผู้มักน้อย... เป็นผู้สันโดษ... เป็นผู้สงัดจากหมู่... เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรมาแล้ว สิ้นกาลนาน ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการเหล่านี้ จึงอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นอยู่ป่าเป็นวัตร... เที่ยว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 564

บิณฑบาตเป็นวัตร... ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร... ทรงไตรจีวรเป็นวัตร... มีความปรารถนาน้อย... เป็นผู้สันโดษ... เป็นผู้สงัดจากหมู่... เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่... ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรสิ้นกาลนาน.

[๔๘๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ กัสสป ได้ยินว่า เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนกัสสป เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงผ้าบังสุกุลอันไม่น่านุ่งห่ม จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด ฉะนี้.

จบชิณณสูตรที่ ๕

อรรถกถาชิณณสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในชิณณสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ชิณฺโณ ได้แก่ พระเถระแก่.

บทว่า ครุกานิ ความว่า ผ้าป่านเป็นผ้าหลายชั้น เป็นของหนักด้วยเย็บด้วยด้ายและด้วยผ้าดามในที่ที่ชำรุดๆ จำเดิมแต่เวลาที่ท่านได้ผ้านั้นจากสำนักของพระศาสดา.

บทว่า นิพฺพสนานิ ความว่า ได้ชื่อว่าอย่างนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งมาก่อนแล้วเลิกไป.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเธอชราและทรงผ้าบังสุกุลหนัก.

บทว่า คหปตานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเลิกทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ทรงจีวรอันคฤหบดีถวายเถิด.

บทว่า นิมนฺตนานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเลิกองค์ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นบัตร บริโภคภัตรที่เขานิมนต์มีสลากภัตรเป็นต้น.

บทว่า มม สนฺติเก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 565

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเลิกองค์ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านเถิด.

ถามว่า ก็พระราชา ทรงตั้งเสนาบดีในตำแหน่งเสนาบดี เมื่อเสนานดีนั้นให้พระราชาทรงยินดีด้วยหน้าที่ของตน มีความจงรักภักดีต่อพระราชาเป็นต้น ทรงเอาตำแหน่งนั้นไปพระราชทานแก่คนอื่น ชื่อว่าทรงกระทำไม่สมควรฉันใด พระศาสดาก็ฉันนั้น เสด็จไปสิ้นทาง ๓ คาวุต เพื่อไปต้อนรับพระมหากัสสปเถระ ประทับที่โคนต้นพหุปุตตะ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา ทรงให้โอวาท ๓ ข้อ ทรงเปลี่ยนจีวรของพระองค์กับพระมหากัสสปเถระนั้น ได้ทรงทำพระเถระให้อยู่ในป่าตามธรรมชาติเป็นวัตร และให้ทรงผ้าบังสุกุลตามธรรมชาติเป็นวัตร.

เมื่อท่านยังพระทัยของพระศาสดาให้ทรงยินดีอยู่ด้วยกัตตุกัมยตาฉันทะ พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงให้เลิกธุดงค์มีองค์ผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเป็นต้น ทรงชักซวนในการรับคหบดีจีวรเป็นต้น ชื่อว่าทรงกระทำไม่สมควรมิใช่หรือ.

ตอบว่า ทรงไม่กระทำ.

ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะเป็นอัธยาศัยของตน.

แท้จริง พระศาสดาจะทรงให้พระเถระเลิกธุดงค์ก็หามิได้. เปรียบเหมือนกลองยังไม่ได้ตีเป็นต้น ย่อมไม่ดังฉันใด ทรงประสงค์จะให้พระเถระบันลือสีหนาทด้วยทรงดำริว่า คนเห็นปานนี้ยังไม่ถูกกระทบ ย่อมไม่บันลือสีหนาทฉันนั้น จึงตรัสอย่างนี้ โดยอัธยาศัยแห่งสีหนาท.

แม้พระเถระบันลือสีหนาทโดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าตลอดกาลนาน ดังนี้ โดยสมควรแด่พระอัธยาศัยของพระศาสดาเท่านั้น.

บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารํ ความว่า ชื่อว่าทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม ย่อมได้แก่ภิกษุผู้อยู่ป่าเท่านั้น หาได้แก่ภิกษุผู้อยู่ในละแวกบ้านไม่. เพราะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 566

ภิกษุผู้อยู่ในละแวกบ้าน ได้ยินเสียงเด็ก เห็นรูปไม่เป็นที่สบาย ได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงเกิดความไม่ยินดี. ส่วนภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่ออยู่เลยไปคาวุตหนึ่ง หรือกึ่งโยชน์ หยั่งลงสู่ป่า ได้ยินเสียงเสือดาว เสือโคร่ง และราชสีห์เป็นต้น ความยินดีในเสียงมิใช่เสียงมนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นเพราะฟังเสียงเป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความยินดีในเสียง ตรัสว่า

ความยินดีอันมิใช่ของหมู่มนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่สุญญาคาร มีจิตสงบ ผู้เห็นธรรมแจ่มแจ้งโดยชอบ เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลายแต่อารมณ์ใดๆ เมื่อเธอรู้แจ้งอารมณ์อันเป็นอมตะ ย่อมได้ปีติปราโมทย์ ถ้าผู้อื่นอีกไม่มีข้างหน้า หรือข้างหลัง ความผาสุก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ยินดีอยู่ในป่ารูปหนึ่งในที่นั้นแล.

สำหรับภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเท่านั้น ก็ย่อมได้อย่างนั้นเหมือนกัน สำหรับภิกษุผู้ไม่เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรได้ไม่. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่เที่ยวบิณฑบาตเป็นผู้เที่ยวไปในกาลมิใช่เวลา รีบไปรีบกลับ ไปอย่างผู้มีความห่วงใย มีความสงสัยมากในความห่วงใยนั้น.

ก็ภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรไม่เที่ยวไปในกาลมิใช่เวลา ไม่รีบไป ไม่รีบกลับ ไปอย่างผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่มีความสงสัยมากในความห่วงใยนั้น.

ถามว่า อย่างไร.

ตอบว่า ภิกษุผู้ไม่บิณฑบาตเป็นวัตร อยู่ในวิหารไกลจากบ้านคิดว่า เราจะได้ข้าวยาคูหรือภัตรเพื่อภิกษุผู้อยู่ปริวาส ก็หรือว่าภัตรอะไรในบรรดาอุทเทสภัตร เป็นต้นในโรงฉัน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 567

จักถึงแก่เรา ดังนี้ ต่อกาลเท่านั้น เมื่อตัดใยแมงมุม ให้โคที่นอนลุกขึ้นแล้ว ไปอยู่แต่เช้า ชื่อว่า เที่ยวไปในเวลามิใช่กาล.

ครั้นมนุษย์ออกไปจากเรือน เพื่อทำการงานในนาเป็นต้น เธอก็ไปโดยเร็ว เหมือนติดตามเนื้อเพื่อให้ทันกัน ชื่อว่า รีบไป.

ในระหว่างทาง ครั้นพบเห็นใครๆ เข้า ก็ถามว่า อุบาสกคนโน้น หรืออุบาสิกาคนโน้นอยู่ที่บ้านหรือไม่ หรือว่า ไม่อยู่ที่บ้าน ครั้นทราบว่า อุบาสก หรืออุบาสิกาไม่อยู่ที่บ้าน ก็วิ่งพล่าน เหมือนกับถูกไฟไหม้ ด้วยคิดว่า บัดนี้ เราจะได้ภัตแต่เรือนไหน.

เธอเอง เป็นผู้ใคร่เพื่อจะไปสู่ทิศปัจฉิม กลับได้สลากในทิศปาจีน จึงเข้าไปหาภิกษุอื่น ผู้ได้สลากในทิศปัจฉิม แล้วกล่าวชวนแลกเปลี่ยนสลากกันว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า จักไปยังทิศปัจฉิม ขอท่านจงรับสลากของข้าพเจ้าไว้ โดยให้สลากของท่านแก่ข้าพเจ้า. ก็หรือว่า เมื่อเธอนำสลากภัตที่หนึ่งมาปริโภคอยู่ ครั้นพวกมนุษย์ กล่าวว่า ขอท่านจงให้บาตร เพื่อสลากภัตแม้อื่นอีก จึงให้ภิกษุอื่นมอบบาตรให้ ด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงให้บาตรของท่าน ข้าพเจ้าจักใส่ภัตของข้าพเจ้าในบาตรแล้วคืนบาตรให้แก่ท่าน ดังนี้ ครั้นให้บาตรแก่ภิกษุอื่นแล้ว เมื่อภัตอันบุคคลนำมาแล้ว จึงใส่ในบาตรของตน เมื่อมอบบาตรคืน ชื่อว่า เปลี่ยนบาตรกัน.

พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ถวายมหาทานแก่พระภิกษุในวิหาร. และพระมหาทานนี้ ภิกษุได้สลากเป็นอันมากในบ้านไกลยิ่ง. เมื่อภิกษุไม่ไปที่วิหารนั้น ก็จะไม่ได้สลากอีกตลอด ๗ วัน ฉะนั้น จึงไปเพราะเกรงจะไม่ได้สลาก. เมื่อเธอไปอย่างนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความห่วงใย จึงไป.

ก็เธอไป เพื่อประโยชน์แก่สลากภัตเป็นต้น ของผู้ใด แต่กลับ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 568

มีความสงสัยเป็นอันมากในผู้นั้น อย่างนี้ว่า คนทั้งหลาย จะถวายสลากภัตนั้น แก่เราหรือหนอแล หรือว่า จะไม่ถวาย. จะถวายภัตที่ประณีตหรือหนอแล หรือว่า จะถวายภัตที่เลว. จะถวายภัตเล็กน้อยหรือหนอแล หรือว่าจะถวายมาก. จะถวายภัตเย็นชืดหรือหนอแล หรือว่าจะถวายภัตที่ยังร้อนอยู่. ดังนี้.

ส่วนภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตร ลุกขึ้นตามเวลา ทำวัตรปฏิบัติชำระสรีระเข้าไปที่อยู่ ทำในใจถึงกัมมัฏฐาน กำหนดเวลา ย่อมไปในเวลาที่มหาชนถวายภิกษากระบวยหนึ่งเป็นต้นเพียงพอ ดังนั้น จึงไม่ชื่อว่าก็เที่ยวไปในเวลามิใช่กาล.

เธอแบ่งย่างเท้าแต่ละย่างเท้าแยกเป็น ๖ ส่วนเดินพิจารณาไป ดังนั้น จึงไม่ชื่อว่ารีบไป.

ไม่ถามว่า คนชื่อโน้นอยู่ในเรือนหรือไม่อยู่ในเรือน เพราะความให้แน่นอนของตน.

ย่อมไม่ได้รับสลากภัตเป็นต้น. เมื่อไม่ได้รับจักสับเปลี่ยนอะไร. ไม่มีความห่วงใยในอำนาจของผู้อื่น.

เมื่อทำในใจถึงกัมมัฏฐาน ย่อมไม่ได้ตามชอบใจ ความสงสัยมากไม่มี เหมือนภิกษุนอกนี้. ไม่ติดใจในบ้านหรือในถนนหนึ่ง เที่ยวไปในที่อื่นได้. เมื่อไม่ติดใจในบ้านเป็นต้น เที่ยวไปในที่อื่นสำรวมฉันเหมือนน้ำอมฤตแล้วไป.

สำหรับภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเท่านั้นได้ ผู้ไม่ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรหาได้ไม่ ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เที่ยวแสวงหาผ้าจำนำพรรษา ไม่แสวงหาเสนาสนะสัปปายะ. ส่วนภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่เที่ยวแสวงหาผ้าจำนำพรรษา. แสวงหาแต่เสนาสนะสัปปายะเท่านั้น.

ภิกษุผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรย่อมได้ นอกนี้หาได้ไม่. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่ทรงไตรจีวรเป็นวัตร มีสิ่งของมาก มีบริขารมาก เพราะเหตุนั้น เธอจึงไม่มีผาสุวิหารธรรม. ผาสุวิหารธรรมย่อมได้แก่พวก

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 569

ภิกษุผู้มักน้อยเป็นต้นเท่านั้น พวกนอกนี้หาได้ไม่. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งความเป็นสุขในทิฏฐธรรมของตน ดังนี้.

จบอรรถกถาชิณณสูตรที่ ๕