พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ตติยโอวาทสูตร ว่าด้วยการให้โอวาท

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36642
อ่าน  391

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 576

๘. ตติยโอวาทสูตร

ว่าด้วยการให้โอวาท


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 576

๘. ตติยโอวาทสูตร

ว่าด้วยการให้โอวาท

[๔๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 577

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอจงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย กัสสป เราหรือเธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย.

ท่านพระมหากัสสปได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ.

[๔๙๕] พ. ดูก่อนกัสสป ก็เป็นความจริงอย่างนั้น ครั้งก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 578

วัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง.

ดูก่อนกัสสป เมื่อภิกษุทั้งหลายกระทำสักการะอย่างนั้น ภิกษุใหม่ๆ พากันคิดเห็นว่า ทราบว่าภิกษุรูปที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร... เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร... เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย... เป็นผู้สันโดษ... เป็นผู้ชอบสงัดจากหมู่... เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิดท่าน นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ภิกษุใหม่ๆ เหล่านั้นก็ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น การปฏิบัติตามของพวกเธอนั้น เป็นการอำนวยประโยชน์สุขชั่วกาลนาน.

[๔๙๖] ดูก่อนกัสสป ก็บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 579

ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่เป็นผู้สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัดจากหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่เป็นผู้ปรารภความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง.

ดูก่อนกัสสป เมื่อภิกษุทั้งหลายกระทำสักการะอย่างนั้น ภิกษุใหม่ๆ พากันคิดว่า ทราบว่า ภิกษุที่มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระพากันนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ภิกษุใหม่ๆ เหล่านั้นก็ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น การปฏิบัติตามของพวกเธอนั้น ไม่อำนวยประโยชน์ มีแต่ทุกข์ชั่วกาลนาน.

ดูก่อนกัสสป

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 580

บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายแห่งพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาเกินประมาณสำหรับพรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว.

ดูก่อนกัสสป บัดนี้ บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายแห่งพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาเกินประมาณสำหรับพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว.

จบตติยโอวาทสูตรที่ ๘

อรรถกถาตติยโอวาทสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในตติยโอวาทสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ตถา หิ ปน เป็นนิบาต ลงในเหตุเป็นที่ตั้ง เพราะครั้งก่อนเป็นผู้ว่าง่าย และบัดนี้เป็นผู้ว่ายาก.

บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในพระนครเหล่านั้น.

บทว่า โก นามายํ ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุนี้ชื่ออะไร ชื่อติสสเถระ หรือนาคเถระ.

บทว่า ตตฺร เมื่อสักการะนั้น อันเขาทำอยู่อย่างนี้.

บทว่า ตถตฺตาย ความว่า เพื่อความเป็นอย่างนั้น คือ เพื่อความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นต้น.

บทว่า สพฺรหฺมจาริกาโม ความว่า ชื่อว่าผู้ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารี ในอรรถว่า ใคร่ ปรารถนา ต้องการอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ จงแวดล้อม เราเที่ยวไป ดังนี้.

บทว่า ตถตฺตาย ได้แก่ เพื่อเป็นเหตุให้ลาภสักการะเกิด.

บทว่า พฺรหฺมจารูปทฺทเวน ความว่า ผู้ใดมีฉันทราคะเกินประมาณในปัจจัย ๔ ของเพื่อนสพรหมจารี ท่านเรียกว่า เป็นอุปัทวะ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 581

พรหมจรรย์ถูกอุปัทวะนั้นเบียดเบียน.

บทว่า อภิวานา คือ ปรารถนาเกินประมาณ.

บทว่า พฺรหฺมจาราภิวาเนน ความว่า โดยความเป็นปัจจัย ๔ กล่าวคือ ความปรารถนาเกินประมาณของพวกผู้ประพฤติพรหมจรรย์.

จบอรรถกถาโอวาทสูตรที่ ๘