พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. กุมมสูตร ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนเต่าถูกเชือกมัด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36650
อ่าน  381

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 642

๓. กุมมสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนเต่าถูกเชือกมัด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 642

๓. กุมมสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนเต่าถูกเชือกมัด

[๕๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในห้วงน้ำแห่งหนึ่ง มีตระกูลเต่าใหญ่อยู่อาศัยมานาน ครั้งหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งเข้าไปหาเต่าอีกตัวหนึ่งพูดว่า พ่อเต่า เจ้าอย่าได้ไปยังท้องถิ่นนั้นนะ.

เต่าตัวนั้นได้ไปยังประเทศนั้นแล้ว ถูกนายพรานยิงด้วยลูกดอก ลำดับนั้น เต่าตัวที่ถูกยิงเข้าไปหาเต่าตัวนั้น เต่าตัวนั้นได้เห็นเต่าตัวที่ถูกยิงกำลังมาแต่ไกล จึงถามว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ไปยังท้องถิ่นนั้นหรือ.

เต่าตัวที่ถูกยิงตอบว่า พ่อเต่า ฉันได้ไปยังท้องถิ่นนั้นมาแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 643

เต่าตัวนั้นถามว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ถูกทุบตีดอกหรือ.

เต่าตัวที่ถูกยิงตอบว่า ฉันไม่ได้ถูกทุบตี แต่ฉันมีเชือกเส้นหนึ่งติดหลังมานี้.

เต่าตัวนั้นกล่าวว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ถูกทุบตีก็ดีละ พ่อเต่า บิดา มารดา ปู ย่า ตา ยาย ของเจ้าได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะเชือกเส้นนี้แหละ ไปเดี๋ยวนี้ เจ้าไม่ใช่พวกของเราแล้ว.

[๕๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พราน" นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป. คำว่า "ลูกดอก" เป็นชื่อของลาภสักการะและความสรรเสริญ. คำว่า "เชือก" นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภ สักการะ และความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะลาภ สักการะและความสรรเสริญ ดุจลูกดอก ถูกมารทำได้ตามความพอใจ ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบกุมมสูตรที่ ๓

อรรถกถากุมมสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในกุมมสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มหากุมฺมกุลํ ได้แก่ ตระกูลเต่ากระดองใหญ่.

บทว่า อคมาสิ ความว่า ได้ไปด้วยความสำคัญว่า ในที่นี้พึงมีของบางอย่างกินแน่ เมื่อเขาตระหนี่สิ่งนั้น ก็จะห้ามเรา ดังนี้.

บทว่า ปปตาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 644

หนามเหล็กมีสัณฐานคล้ายลูกดอกมีเงี่ยง ผูกด้วยเชือกยาว สอดไว้ในด้ามไม้ ถือไป พอพุ่งไปติดอยู่ที่กระดองเต่า ไม้ก็ดีดออกโดยเร็ว เชือกก็ไปมัดเป็นอันเดียวกัน ท่านเรียกว่าลูกดอก.

บทว่า โส กุมฺโม คือ เต่านั้นถูกยิง.

บทว่า เยน โส กุมฺโม ความว่า เต่าตัวที่ถูกยิง ผู้มีความต้องการนั้นจึงกลับเสีย ด้วยคิดว่า ความสงสัยจักมีได้เพราะฟังเสียงน้ำ ดังนี้. ชื่อว่ากุมมะ เต่า.

บทว่า นทานิ ตฺวํ อมฺหากํ ความว่า บัดนี้ ท่านไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูไม่ใช่พวกของเรา. อนึ่ง นายพรานอยู่ในเรือ คร่าเชือกมามัดเต่าผู้สนทนาอยู่อย่างนี้ กระทำได้ตามปรารถนา.

คำที่เหลือในสูตรนี้ และในสูตรต่อแต่นี้ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากุมมสูตรที่ ๓