พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เอฬกสูตร ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนแมลงวัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36652
อ่าน  464

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 645

๕. เอฬกสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนแมลงวัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 645

๕. เอฬกสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนแมลงวัน

[๕๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แมลงวันกินขี้เต็มท้อง และข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่ มันพึงดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า เรากินขี้เต็มท้องแล้ว และเรายังมีกองขี้ใหญ่อยู่ข้างหน้าอีกฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็ฉันนั้น เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ฉันอยู่ ณ ที่นั้นพอแก่ความต้องการแล้ว และทายกนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้บิณฑบาตของเธอจะเต็มแล้ว เธอไปอาราม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 646

แล้ว อวดอ้างที่ท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ผมฉันพอแก่ความต้องการแล้ว ทายกยังนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น บิณฑบาตของผมก็เต็ม และยังจะได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุเหล่าอื่นนี้มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธออันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก ข้อนั้นของโมฆบุรุษนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบเอฬกสูตรที่ ๕

อรรถกถาเอฬกสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในเอฬกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กํสฬกา คือ สัตว์กินคูถ.

บทว่า คูถาทิ คือ มีคูถเป็นภักษา.

บทว่า คูถปูรา คือ ภายในเต็มด้วยคูถ.

บทว่า ปุณฺณา คูถสฺส นี้ แสดงเนื้อความบทแรกเท่านั้น.

บทว่า อติมญฺเยฺย ความว่า แมลงวันวางเท้าหลังไว้บนพื้น ยกเท้าหน้าวางไว้บนคูถ พึงพูดอย่างดูหมิ่นว่า เรามีคูถเป็นอาหาร ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ปิณฺฑปาโตปสฺส (๑) ปูโร ความว่า บิณฑบาตอันประณีตเต็มบาตร แม้อื่นอีกพึงมีแก่เขา.

จบอรรถกถาเอฬกสูตรที่ ๕


(๑) ม. ปิณฺฑปาโต จสฺส.