พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. เวรัมภสูตร ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนนกถูกลมบ้าหมู

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36656
อ่าน  391

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 650

๙. เวรัมภสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนนกถูกลมบ้าหมู


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 650

๙. เวรัมภสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนนกถูกลมบ้าหมู

[๕๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 651

[๕๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลมชื่อว่าเวรัมภาพัดอยู่ในอากาศเบื้องบน ซัดนกที่บินอยู่ในอากาศนั้น เมื่อมันถูกลมเวรัมภาซัด เท้าไปทางหนึ่ง ปีกไปทางหนึ่ง ศีรษะไปทางหนึ่ง ตัวไปทางหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย วาจา จิต ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคามที่นุ่งห่มผ้าลับๆ ล่อๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น ครั้นเห็นแล้ว ราคะย่อมครอบงำจิต เธอมีจิตอันราคะครอบงำแล้ว ย่อมลาสิกขาสึกออกมา ภิกษุพวกหนึ่งเอาจีวรของเธอไป พวกหนึ่งเอาบาตร พวกหนึ่งเอาผ้านิสีทนะ พวกหนึ่งเอากล่องเข็ม เปรียบดังนกถูกลมเวรัมภาซัดไปฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบเวรัมภสูตรที่ ๙

อรรถกถาเวรัมภสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในเวรัมภสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เวรมฺภวาตา ได้แก่ ลมใหญ่มีชื่ออย่างนี้.

ถามว่า ก็ลมเหล่านั้นพัดในที่เช่นไร.

ตอบว่า บุคคลยืนอยู่ในที่ใด เกาะทั้ง ๔ ปรากฏเป็นเพียงใบบัว.

บทว่า โย ปกฺขี คจฺฉติ ความว่า เมื่อฝนตกใหม่ นกแอ่นลมร้องไปในที่นั้น นั่นท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าว.

ในบทเป็นต้นว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน ความว่า แกว่งมือและเท้าเล่นหรือเอียงคอ ชื่อว่าไม่รักษากาย. พูดคำหยาบหลายๆ อย่าง ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 652

ไม่รักษาวาจา. ผู้ตรึกกามวิตกเป็นต้น ชื่อว่าไม่รักษาจิต.

บทว่า อนุปฏฺิตาย สติยา ได้แก่ ไม่ดำรงกายคตาสติไว้.

จบอรรถกถาเวรัมภสูตรที่ ๙