พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. มาตุคามสูตร ว่าด้วยมาตุคามเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36669
อ่าน  473

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 661

ตติยวรรคที่ ๓

๑. มาตุคามสูตร

ว่าด้วยมาตุคามเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 661

ตติยวรรคที่ ๓

๑. มาตุคามสูตร

ว่าด้วยมาตุคามเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุตามคนเดียวย่อมไม่อาจย่ำยีจิตของภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ลาภสักการะและความสรรเสริญย่อมอาจย่ำยีจิตได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบมาตุคามสูตรที่ ๑

ตติยวรรคที่ ๓

อรรถกถามาตุคามสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในมาตุคามสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า น ตสฺส ภิกฺขเว มาตุคาโม ความว่า ลาภสักการะและ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 662

ความสรรเสริญย่ำยีจิตของภิกษุใดได้ มาตุคามแม้มีความต้องการด้วยธรรม ไม่สามารถจะย่ำยีจิตของภิกษุแต่ละรูปผู้นั่งอยู่ในที่ลับนั้นได้.

จบอรรถกถามาตุคามสูตรที่ ๑