๑๐. ภิกขุสูตร ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่พระอรหันตขีณาสพ
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 670
๑๐. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่พระอรหันตขีณาสพ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 670
๑๐. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่พระอรหันตขีณาสพ
[๕๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมมากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวถึงลาภสักการะและความสรรเสริญว่า เป็นอันตรายแม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 671
จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เพราะเหตุไรเล่าพระเจ้าข้า ลาภสักการะและความสรรเสริญจึงเป็นอันตรายแก่ภิกษุขีณาสพ.
[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวถึงลาภสักการะและความสรรเสริญ ว่าเป็นอันตรายแก่เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้นหามิได้ แต่เรากล่าวถึงลาภสักการะและความสรรเสริญว่าเป็นอันตรายแก่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันภิกษุขีณาสพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่นั้น บรรลุแล้วกะเธอทั้งหลาย ดูก่อนอานนท์ ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่านี้ เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบภิกขุสูตรที่ ๑๐
จบตติยวรรคที่ ๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มาตุคามสูตร
๒. ชนปทกัลยาณีสูตร
๓. ปุตตสูตร
๔. เอกธีตุสูตร
๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร
๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๗. ตติยสมณพราหมสูตร
๘. ฉวิสูตร
๙. รัชชุสูตร
๑๐. ภิกขุสูตร.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 672
อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารา คือ อยู่เป็นสุขด้วยผลสมาบัติ.
บทว่า เตสาหมสฺส ตัดบทว่า เตสํ อหํ อสฺส. ก็เพราะพระขีณาสพมีลาภถึงพร้อมด้วยบุญ รับข้าวยาคูและของขบเคี้ยวเป็นต้น เมื่อทำอนุโมทนาแสดงธรรมแก้ปัญหาแก่ชนผู้มาแล้วและมาแล้ว ย่อมไม่ได้โอกาสเพื่อจะนั่งแนบแน่นถึงผลสมาบัติ ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าว ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑๐
จบตติยวรรคที่ ๓