พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. มาตุสูตร ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งมารดา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ก.ย. 2564
หมายเลข  36685
อ่าน  400

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 679

๗. มาตุสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งมารดา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 679

๗. มาตุสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งมารดา

[๕๙๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 680

ภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุแห่งมารดา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ก็จักครอบงำจิตของพวกเราตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบมาตุสูตรที่ ๗

อรรถกถามาตุสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในมาตุสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มาตุปิ เหตุ ความว่า เขาถูกพวกโจรถามในดงอย่างนี้ว่า ถ้าท่านพูดเท็จ เราจักปล่อยมารดาของท่าน ถ้าไม่พูดเท็จ เราจักไม่ปล่อย ดังนี้ ไม่พึงพูดเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพระเหตุแม้แห่งมารดา เพราะมารดานั้นอยู่ในเงื้อมมือของโจร.

แม้ในบทอื่นแต่นี้ ก็มีนัยเหมือนกันแล.

จบอรรถกถามาตุสูตรที่ ๗