พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. - ๑๐. จักขุสูตร ว่าด้วยจักขุเป็นต้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ก.ย. 2564
หมายเลข  36704
อ่าน  543

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 694

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. จักขุสูตร

ว่าด้วยจักขุเป็นต้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

๒. รูปสูตร

๓. วิญญาณสูตร

๔. สัมผัสสสูตร

๕. เวทนาสูตร

๖. สัญญาสูตร

๗. เจตนาสูตร

๘. ตัณหาสูตร

๙. ธาตุสูตร

๑๐. ขันธสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 694

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. จักขุสูตร

ว่าด้วยจักขุเป็นต้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๖๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๒๑] ครั้นท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.

รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. โสตะ... ฆานะ... ชิวหา... กาย... ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 695

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.

รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๖๒๒] ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.

จบจักขุสูตรที่ ๑

[พึงทำสูตรทั้ง ๑๐ โดยเปยยาลเช่นนี้]

อรรถกถาทุติยวรรค

ในทุติยวรรค สูตรที่ ๑ - ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑ - ๑๐