พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. นาคสูตร ว่าด้วยภิกษุใหม่เปรียบด้วยช้าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ก.ย. 2564
หมายเลข  36738
อ่าน  404

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 744

๙. นาคสูตร

ว่าด้วยภิกษุใหม่เปรียบด้วยช้าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 744

๙. นาคสูตร

ว่าด้วยภิกษุใหม่เปรียบด้วยช้าง

[๖๗๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่สกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าเข้าไปสู่สกุลเกินเวลาเลย เธอถูกพวกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุชั้นเถระเหล่านี้จักสำคัญสกุลทั้งหลายว่า ควรเข้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 745

ไปหา ส่วนเราไฉนจักเข้าไปไม่ได้ ครั้งนั้นแล พวกภิกษุมากรูปด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใหม่รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่สกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าเข้าไปสู่สกุลเกินเวลาเลย เธอเมื่อถูกภิกษุว่ากล่าวอยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุชั้นเถระเหล่านี้จักสำคัญสกุลทั้งหลายว่า ควรเข้าไปหา ส่วนเราไฉนจักเข้าไปไม่ได้.

[๖๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลายอาศัยสระเหล่านั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระน้ำแล้ว ถอนเหง้าและรากบัวขึ้นด้วยงวง ล้างให้ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีเปือกตม ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นย่อมไม่เข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ส่วนลูกช้างเล็กๆ สำเหนียกตามช้างใหญ่เหล่านั้นนั่นเทียว พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ถอนเหง้าและรากบัวขึ้นด้วยงวง ไม่ล้างให้ดีจึงเคี้ยวกินทั้งเปือกตม ข้อนั้นย่อมไม่เป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นย่อมเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ.

[๖๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้เถระในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เวลาเช้า นุ่งผ้าถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต พวกเธอย่อมกล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 746

ย่อมกระทำอาการเลื่อมใสแก่พวกเธอ พวกเธอไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภคลาภนั้น ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ภิกษุผู้เถระเหล่านั้น พวกเธอย่อมไม่เข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ส่วนพวกภิกษุใหม่ ผู้ตามสำเหนียกภิกษุผู้เถระเหล่านั้นนั่นเทียว เวลาเช้า นุ่งผ้า ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต พวกเธอย่อมกล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส ย่อมกระทำอาการเลื่อมใสแก่พวกเธอ พวกเธอกำหนัด หมกมุ่น พัวพ้น มักไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภคลาภนั้น ข้อนั้นย่อมไม่เป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังของพวกเธอ พวกเธอย่อมเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบนาคสูตรที่ ๙

อรรถกถานาคสูตรที่ ๙

ในนาคสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อติเวลํ ความว่า กาลที่ล่วงเวลาไป คือ กาลที่ล่วงประมาณไป.

บทว่า กิมงฺคํ ปนาหํ ถามว่า ก็เพราะเหตุไร เราจึงไม่เข้าไปหา.

บทว่า ภิสมูฬาลํ ได้แก่ เหง้า และรากน้อยใหญ่.

บทว่า อพฺภุคฺคเหตฺวา (๑) ได้แก่ ถอนขึ้น.

บทว่า ภิกจฺฉาปา ได้แก่ ลูกช้าง.

ได้ยินว่า ลูกช้างเหล่านั้น ร้องเหมือนเสียงช้างรุ่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าลูกช้าง.

บทว่า


(๑) ม. อพฺภุเหตฺวา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 747

ปสนฺนาการํ กโรนฺติ ความว่า กระทำอาการอันผู้เลื่อมใสจะพึงทำ คือ ถวายปัจจัย ๔.

บทว่า ธมฺมํ ภาสนฺติ ความว่า เรียน ๑ - ๒ ชาดก หรือพระสูตรแล้วแสดงธรรมด้วยเสียงอันไม่แตก.

บทว่า ปสนฺนาการํ กโรนฺติ ความว่า เลื่อมใสในเทศนาของภิกษุเหล่านั้นแล้วถวายปัจจัยของคฤหัสถ์.

บทว่า เนว วณฺณาย โหติ น พลาย ความว่า ไม่ใช่มีเพื่อสรรเสริญคุณ ไม่ใช่สรรเสริญญาณ และเมื่อคุณเสื่อมไป วรรณะแห่งสรีระก็ดี กำลังแห่งสรีระก็ดี ย่อมเสื่อมไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่เป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังของสรีระ.

จบอรรถกถานาคสูตรที่ ๙