พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สุชาตสูตร ว่าด้วยเรื่องพระสุชาต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ก.ย. 2564
หมายเลข  36746
อ่าน  396

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 764

๕. สุชาตสูตร

ว่าด้วยเรื่องพระสุชาต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 764

๕. สุชาตสูตร

ว่าด้วยเรื่องพระสุชาต

[๗๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสุชาตไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

[๗๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นพระสุชาตมา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 765

แต่ไกลเทียว แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า กุลบุตรนี้ย่อมงามด้วยสมบัติ ๒ อย่าง คือมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่งนัก และกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๗๐๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ภิกษุนี้ย่อมงามด้วยใจอันซื่อตรงหนอ เป็นผู้หลุดพ้น เป็นผู้พราก เป็นผู้ดับ เพราะไม่ถือมั่น ชำนะมาร พร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งอัตภาพมีในที่สุด ดังนี้.

จบสุชาตสูตรที่ ๕

อรรถกถาสุชาตสูตรที่ ๕

ในสุชาตสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิรูโป ได้แก่ มีรูปงามล้ำรูปอื่นๆ.

บทว่า ทสฺสนีโย ได้แก่ ควรทัศนา.

บทว่า ปาสาทิโก ได้แก่ สามารถที่จะให้ใจแจ่มใสในการดู.

บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ได้แก่ ด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม.

จบอรรถกถาสุชาตสูตรที่ ๕