พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. กัปปินสูตร ว่าด้วยเรื่องท่านพระมหากัปปินะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ก.ย. 2564
หมายเลข  36752
อ่าน  396

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 782

๑๑. กัปปินสูตร

ว่าด้วยเรื่องท่านพระมหากัปปินะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 782

๑๑. กัปปินสูตร

ว่าด้วยเรื่องท่านพระมหากัปปินะ

[๗๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 783

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

[๗๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัปปินะผู้มาแต่ไกล แล้วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นภิกษุที่กำลังมานั่นหรือไม่ เป็นผู้ขาวโปร่ง จมูกโด่ง.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แต่เธอไม่ได้สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

[๗๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ในชุมนุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในเทวดาและมนุษย์ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด พระอาทิตย์ย่อมแผดแสงในกลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน กษัตริย์ผู้ผูกสอดเครื่องรบย่อมมีสง่า พราหมณ์ผู้เพ่งฌาน ย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ด้วยเดชานุภาพตลอดวันและคืนทั้งหมด ดังนี้.

จบกัปปินสูตรที่ ๑๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 784

อรรถกถากัปปินสูตรที่ ๑๑

ให้กัปปินสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่ พระมหาเถระผู้อยู่ในจำนวนพระมหาสาวก ๘๐ องค์ ผู้บรรลุกำลังแห่งอภิญญามีชื่ออย่างนี้.

ได้ยินว่า พระมหาเถระนั้น ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ได้ครองราชสมบัติมีอาณาเขตประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ในกุกกุฏวดีนคร แต่เพราะในภพสุดท้ายได้เที่ยวเงี่ยโสตสดับคำสั่งสอนเห็นปานนั้น. ต่อมาวันหนึ่ง ทรงแวดล้อมไปด้วยอำมาตย์ ๑,๐๐๐ คน ได้ไปทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน. ก็ในคราวนั้น พ่อค้าเดินทางจากมัชฌิมประเทศไปนครนั้น เก็บสินค้าแล้วคิดจักเฝ้าพระราชา ต่างถือเครื่องบรรณาการไปพระราชทวาร สดับว่าพระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน จึงไปยังพระราชอุทยานยืนอยู่ที่ประตู ได้แจ้งแก่คนเฝ้าประตู ครั้นกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระราชารับสั่งให้เรียกมา ตรัสถามพวกเขาผู้มอบเครื่องบรรณาการถวายบังคมยืนอยู่ว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านมาแต่ไหน. พ่อค้าเหล่านั้นกราบทูลว่า มาแต่กรุงสาวัตถี พระเจ้าข้า.

ร. แว่นแคว้นของพวกท่านมีภิกษาหาได้ง่ายไหม. พระเจ้าแผ่นดินทรงธรรมไหม.

พ. ขอเดชะ. พระเจ้าข้า.

ร. ก็ในประเทศของพวกท่านมีศาสนาอะไร.

พ. มีพระเจ้าข้า แต่ผู้มีปากมีเศษอาหารไม่สามารถจะพูดได้.

พระราชา ได้พระราชทานน้ำด้วยพระเต้าทอง. พ่อค้าเหล่านั้นบ้วนปากแล้ว ผินหน้าต่อพระทศพลประคองอัญชลีแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ ชื่อว่าพระพุทธรัตนะได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศของข้าพระองค์.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 785

พอพระราชาทรงสดับว่า พุทโธ ปีติเกิดแผ่ไปทั่วพระวรกายของพระราชา. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า พ่อทั้งหลาย ท่านจงกล่าวว่า พุทโธ เถิด. พระราชารับสั่งให้พวกพ่อค้ากล่าวขึ้น ๓ ครั้ง อย่างนี้ว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวว่า พุทโธ ดังนี้ จึงตรัสว่า บทว่า พุทโธ มีคุณหาประมาณมิได้ ใครๆ ไม่อาจทำปริมาณแห่งบทว่า พุทโธ นั้นได้ จึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล แล้วได้ประทานทรัพย์แสนหนึ่งแล้วตรัสถามอีกว่า ศาสนาอื่นมีไหม.

พ. มี พระเจ้าข้า คือชื่อธรรมรัตนะเกิดขึ้นแล้ว.

พระราชาทรงสดับแม้ดังนั้นแล้ว จึงทรงรับปฏิญญาถึง ๓ ครั้ง เหมือนอย่างนั้น แล้วพระราชทานทรัพย์แสนหนึ่งอีก ตรัสถามอีกว่า ศาสนาอะไรอื่นมีไหม.

พ. มีพระเจ้าข้า คือพระสังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้ว.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงรับปฏิญญา ๓ ครั้งเหมือนอย่างนั้น พระราชทานทรัพย์แสนหนึ่งอีก ทรงลิขิตความที่พระราชทานทรัพย์ไว้ในพระราชสาสน์แล้วส่งไปด้วยพระดำรัสสั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงไปสำนักของพระเทวี. เมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นไปแล้ว ท้าวเธอได้ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พ่อทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว พวกท่านจักกระทำอะไร. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พระองค์ประสงค์จะทำอะไร.

ร. เราจักบวช.

อ. แม้พวกข้าพระองค์ก็จักบวช. เขาเหล่านั้นทั้งหมดไม่เยื่อใยเรือนหรือขุมทรัพย์ จึงพากันออกบวชพร้อมด้วยเหล่าม้าที่มีคนขี่ขับไป.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 786

พวกพ่อค้าไปสำนักพระอโนชาเทวีแสดงพระราชสาสน์ พระเทวีทรงอ่านแล้วตรัสสอบถามว่า พระราชาพระราชทานกหาปณะแก่พวกท่านเป็นอันมาก พวกท่านกระทำอะไรให้เล่า พ่อ.

พ. พวกข้าพระองค์นำพระราชสาสน์ที่น่ารักมา พระเจ้าข้า.

เท. พวกท่านพอจะเล่าให้พวกเราฟังบ้างได้ไหม.

พ. ได้ พระเจ้าข้า แต่ผู้มีปากมีเศษอาหารไม่อาจจะกล่าวได้.

พระนางได้ให้ประทานนำด้วยพระเต้าทอง พวกพ่อค้าเหล่านั้นบ้วนปากแล้ว กราบทูลโดยนัยที่ได้กราบทูลแด่พระราชา. แม้พระนางได้สดับแล้ว ทรงเกิดความปราโมทย์ ทรงรับปฏิญญา ๓ ครั้ง ในบทหนึ่งๆ โดยนัยนั้นแล ได้พระราชทานทรัพย์เก้าแสนแบ่งเป็น ๓ ส่วน ตามจำนวนปฏิญญา. พวกพ่อค้าได้ทรัพย์ทั้งหมดหนึ่งล้านสองแสน.

ลำดับนั้น พระเทวีตรัสถามพวกพ่อค้าว่า พระราชาประทับอยู่ที่ไหน พ่อ. พวกพ่อค้าทูลว่า พระราชาเสด็จออกผนวชแล้ว พระเจ้าข้า. พระเทวีทรงส่งพวกพ่อค้าเหล่านั้นไปด้วยพระดำรัสว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงไปเถิดพ่อ แล้วมีรับสั่งให้เรียกหาภริยาของพวกอำมาตย์ที่ตามเสด็จ ตรัสถามว่า พวกเธอรู้สถานที่ที่สามีของตนไปหรือแม่. ภริยาเหล่านั้นทูลว่าทราบ พระแม่เจ้า พวกเขาตามเสด็จประพาสพระราชอุทยาน. พระเทวีมีพระดำรัสว่า พวกเขาไปดีแล้ว แม่ทั้งหลาย เมื่อพวกเขาไปในสวนนั้น ได้ฟังว่า พระพุทธเจ้าเกิดแล้ว พระธรรมเกิดแล้ว พระสงฆ์เกิดแล้ว จึงพากันไปบวชในสำนักพระทศพล พวกเธอจักทำอย่างไร. ภริยาเหล่านั้นทูลว่า ก็พระแม่เจ้าเล่า ประสงค์จะทำอย่างไร. พระนางตรัสว่า เราจักบวช เราจักไม่วางอาเจียนที่เขาเหล่านั้นคายแล้วไว้ที่ปลายลิ้น. ภริยา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 787

เหล่านั้นทูลว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น แม้พวกหม่อมฉันก็จักบวช. ภริยาทั้งหมดพากันเทียมรถออกไป.

ฝ่ายพระราชาพร้อมด้วยอำมาตย์พันหนึ่งเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ในเวลานั้น แม่น้ำคงคาเต็มเปี่ยม. ลำดับนั้น พวกเขาเห็นดังนั้นจึงคิดว่า แม่น้ำคงคานี้เต็มเปี่ยม คลาคล่ำไปด้วยปลาร้าย และพวกทาสหรือมนุษย์ที่มากับพวกเรา ที่จะทำเรือหรือแพให้พวกเราก็ไม่มี ก็ขึ้นชื่อว่าคุณของพระศาสดานี้ แผ่ไปเบื้องล่างถึงอเวจี เบื้องบนถึงภวัคคพรหม ถ้าพระศาสดานี้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ขอให้หลังกีบม้าเหล่านี้จงอย่าเปียก ดังนี้แล้ว จึงให้ม้าวิ่งไปบนผิวน้ำ. แม้เพียงหลังกีบม้าตัวหนึ่งก็ไม่เปียก. พวกเขาเหมือนไปตามทางที่เสด็จถึงฝั่งข้างโน้น แล้วถึงแม่น้ำใหญ่สายอื่นข้างหน้า. ในที่นั้นไม่มีสัจกิริยาอย่างอื่น พวกเขาข้ามแม่น้ำกว้างกึ่งโยชน์ แม้นั้นด้วยสัจกิริยานั้นเอง. ลำดับนั้น พวกเขาถึงแม่น้ำใหญ่สายที่ ๓ ชื่อจันทภาคา ได้ข้ามแม่น้ำนั้นด้วยสัจกิริยานั้นนั่นเอง.

วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นว่า วันนี้พระเจ้ามหากัปปินะทรงละราชอาณาจักรสามร้อยโยชน์ แวดล้อมไปด้วยอำมาตย์พันหนึ่งมาเพื่อบวชในสำนักของเรา มีพระดำริว่า เราควรต้อนรับพวกเขา ทรงชำระพระวรกายแต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จบิณฑบาต ณ กรุงสาวัตถี หลังจากเสวยพระกระยาหารแล้วเสด็จกลับจากบิณฑบาต พระองค์เองทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเหาะไปประทับนั่งขัดสมาธิดำรงพระสติมั่นเปล่งพระพุทธฉัพพรรณรังสี ณ ที่ต้นไทรใหญ่ซึ่งมีอยู่ในที่ตรงท่าข้ามของพวกเขาเหล่านั้น ริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคา. ตรงท่านั้น พวกเขาแลดูพระพุทธ-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 788

ฉัพพรรณรังสีซึ่งเปล่งปลั่งวูบวาบแวววาว เห็นพระพักตร์ของพระทศพลมีสิริดังจันทร์เพ็ญ จึงตกลงใจด้วยการเห็นนั่นแหละว่า พระศาสดาที่พวกเราบวชอุทิศนั้นเป็นองค์นี้แน่ จึงน้อมกายลงถวายบังคมตั้งแต่ที่เห็น พากันมาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว. พระราชาทรงจับข้อพระพุทธบาททั้งสองถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่งพร้อมด้วยอำมาตย์พันหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้น. เวลาจบเทศนา พวกเขาทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัต ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. พระศาสดาทรงทราบว่า พวกนี้ถือจีวรของตนมาทีเดียว เพราะเคยถวายจีวรทาน จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ซึ่งมีวรรณะดั่งทอง ตรัสว่า จงเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้สิ้นสุดกองทุกข์โดยชอบเถิด. เป็นอันท่านผู้มีอายุเหล่านั้นได้บรรพชาและอุปสมบทแล้ว. ท่านเหล่านั้นเป็นเหมือนพระเถระมีพรรษา ๖๐ แวดล้อมพระศาสดา.

ฝ่ายพระอโนชาเทวีมีรถพันหนึ่งเป็นบริวารเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา มิได้เห็นเรือหรือแพที่มาเป็นประโยชน์แก่พระราชา โดยที่พระนางเป็นหญิงฉลาด จึงมีพระดำริว่า พระราชาจักทรงทำสัจกิริยาเสด็จไป ก็พระศาสดานั้นมิได้ทรงบังเกิดเพื่อประโยชน์แก่พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้นพวกเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ถ้าพระศาสดานั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ขอให้รถทั้งหลายของพวกเราอย่าได้จมน้ำ ดังนี้แล้วให้รถแล่นไปบนผิวน้ำ. แม้เพียงกงรถก็ไม่เปียก. แม้แม่น้ำสายที่ ๒ และที่ ๓ พระนางก็ข้ามได้ด้วยสัจกิริยานั้นนั่นเอง เมื่อกำลังข้ามแม่น้ำอยู่นั่นแล พระนางได้ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาที่โคนต้นไทร. พระศาสดามี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 789

พระดำริว่า เมื่อหญิงเหล่านี้เห็นสามีของตน ฉันทราคะจะเกิดขึ้นทำอันตรายต่อมรรคผล แต่ฉันทราคะนั้นจักไม่อาจทำอันตรายอย่างนี้ได้ ได้ทรงกระทำโดยวิธีพวกเขาจะเห็นกันและกันไม่ได้. หญิงเหล่านั้นทั้งหมดขึ้นจากท่า นั่งถวายบังคมพระทศพล. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น. เวลาจบเทศนา หญิงทั้งหมดดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วจึงได้เห็นกันและกัน. พระศาสดาทรงพระดำริว่า ขออุบลวรรณาจงมา. พระอุบลวรรณาเถรีมาแล้ว ให้หญิงทั้งหมดบรรพชาแล้วพาไปสำนักนางภิกษุณี. พระศาสดาพาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเหาะไปพระเชตวัน. ท่านหมายเอาพระมหากัปปินะนี้ จึงได้กล่าวคำนี้ว่า มหากปฺปิโนติ เอวํนามโก อภิญฺาพลปฺปตฺโต อสีติมหาสาวกานํ อพฺภนฺตโร มหาเถโร ดังนี้.

บทว่า ชเนตสฺมิํ แปลว่า ในชุมชนผู้ให้กำเนิด อธิบายว่า ในหมู่สัตว์.

บทว่า เย โคตฺตปฏิสาริโน ความว่า บรรดาผู้ที่ยึดถือคือปฏิบัติญาณโคตรว่า พวกเราเป็นวาเสฏฐโคตร ดังนี้เป็นต้น กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด.

บทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยวิชชา ๘ ประการ และจรณธรรม ๑๕ ประเภท.

บทว่า ตปติ แปลว่า ย่อมไพโรจน์.

บทว่า ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ ความว่า พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพเพ่งฌานสองอย่างย่อมไพโรจน์ยิ่ง ก็ขณะนั้น พระกาฬุทายีเถระนั่งเพ่งฌานสองอย่างอยู่ในที่ไม่ไกล.

บทว่า พุทฺโธ ตปติ ความว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าย่อมไพโรจน์.

ได้ยินว่า นี้เป็นมงคลคาถาทั้งหมด.

เล่ากันว่า พระเจ้าภาติกราชให้ทำการบูชาอย่างหนึ่งแล้ว ตรัสกะผู้เป็นอาจารย์ว่า ขอท่านจงบอกชัยมงคลอย่างหนึ่งที่ไม่พ้นจากพระรัตนตรัย. ผู้เป็นอาจารย์พิจารณาถึงพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก เมื่อจะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 790

กล่าวมงคลคาถานี้ กล่าวว่า ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ พระอาทิตย์สว่างในกลางวัน ดังนี้แล้ว ประคองอัญชลีแก่พระอาทิตย์ที่ตกไปอยู่ กล่าวว่า รตฺติมาภาติ จนฺทิมา พระจันทร์ที่สว่างในกลางคืน ดังนี้แล้วประคองอัญชลีแก่พระจันทร์ที่กำลังขึ้น กล่าวว่า สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ กษัตริย์ทรงสวมเกราะย่อมงามสง่า ดังนี้แล้วประคองอัญชลีแก่พระราชา กล่าวว่า ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ดังนี้แล้วประคองอัญชลีแก่ภิกษุสงฆ์ กล่าวว่า พุทฺโธ ตปติ เตชสา พระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช ดังนี้แล้วประคองอัญชลีแก่มหาเจดีย์. ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะท่านผู้เป็นอาจารย์ว่า ท่านอย่าลดมือลง แล้วทรงมอบทรัพย์พันหนึ่งไว้ในมือที่ยกขึ้นนั่นแล.

จบอรรถกถากัปปินสูตรที่ ๑๑