พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ราหุลสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการรู้การเห็นที่ทําให้ปราศจากอหังการมมังการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36856
อ่าน  399

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 307

๑๐. ราหุลสูตรที่ ๒

ว่าด้วยการรู้การเห็นที่ทําให้ปราศจากอหังการมมังการและมานานุสัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 307

๑๐. ราหุลสูตรที่ ๒

ว่าด้วยการรู้การเห็นที่ทำให้ปราศจากอหังการมมังการ และมานานุสัย

[๒๓๖] กรุงสาวัตถี. ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 308

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอ ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และ มานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอก เป็นของก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา แล้วย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา แล้วย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอก เป็นของก้าวล่วงด้วยดีในส่วนแห่งมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว.

จบ ราหุลสูตรที่ ๒

จบ เถรวรรคที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 309

อรรถกถาสูตรที่ ๙ - ๑๐

ราหุลสูตรที่ ๑ และ ราหุลสูตรที่ ๒ มีเนื้อความดังกล่าวแล้วในราหุลสังยุต. ก็สูตรทั้ง ๒ นี้ ล้วนมาในที่นี้ก็เพราะเหตุผลที่ว่าวรรคนี้เป็นเถรวรรค นั่นแล.

จบ อรรถกถาเถรวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อานนทสูตร ๒. ติสสสูตร ๓. ยมกสูตร ๔. อนุราธสูตร ๕. วักกลิสูตร ๖. อัสสชิสูตร ๗. เขมกสูตร ๘. ฉันนสูตร ๙. ราหุลสูตร ที่ ๑ ๑๐. ราหุลสูตรที่ ๒