บทสวด บังสุกุล กล่าวถึงเรื่องใด
เรียนท่านอาจารย์ที่เครารพ บทสวดบังสุกุล กล่าวถึงเรื่องใด มีความเป็นมาอย่างไร มีที่มากจากพระไตรปิฏกหน้าใด ครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ
บทสวดบังสุกุล ที่นิยมสวดเวลามีคนตายมีที่มาดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 323 [๑๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว พร้อมกับปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสพระคาถาว่า อะนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโม อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข ฯ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมเกิดขึ้นและดับไป ความเข้าไปสงบสังขารเหล่านั้นได้เป็นสุข.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑
เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระเถระชื่อว่า ปูติคัตตติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อจิรํ วตยํ กาโย"เป็นต้น. ฯลฯ อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงคฺรํ."
"ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน. กายนี้ มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว, ราวกับ ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น."
บังสุกุล คือ การเอาผ้าจีวร หรือ ผ้าสบง ไปไว้ที่หน้าศพ พระก็ไปชักจากศพ หรือทอดบนด้ายสายสิญจน์ที่โยงต่อจากศพ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับคนตายค่ะ
เรื่อง พระมหากัสสปะ เปลี่ยน ผ้าบังสุกุลจีวรที่ใส่และสังฆาฏิกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลองอ่านดูนะครับ ซาบซึ้งมากจริงๆ
เรื่อง ท่านพระมหากัสสปะ ผู้มีคุณควรแก่จีวรของพระศาสดา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย