๙. ปฐมผัสสายตนสูตร ว่าด้วยผู้ไม่ทราบชัดความเกิดเป็นต้นเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัย
[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 80
๙. ปฐมผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ทราบชัดความเกิดเป็นต้นเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 80
๙. ปฐมผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ทราบชัดความเกิดเป็นต้นเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัย
[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูป ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอยังไม่อยู่จบแล้ว เธอชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายในศาสนานี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง.
พ. ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ.
ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุด้วยอาการอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 81
พ. เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ.
ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.
พ ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.
จบ ปฐมผัสสายตนสูตรที่ ๙
อรรถกถาปฐมผัสสายตนสูตรที่ ๙
ในปฐมผัสสายตนสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ผสฺสายตนํ ได้แก่ อาการถูกต้อง. บทว่า อวุสิตํ แปลว่า ไม่อยู่แล้ว. บทว่า อารกา แปลว่า ในที่ไกล. ด้วยบทว่า เอตฺถาหํ ภนฺเต อนสฺสาสํ นี้ ภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่า เป็นผู้ฉิบหายแล้วในพระศาสนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้กล่าวว่า เราชื่อว่า ฉิบหายแล้วในพระศาสนานี้ เธอยังมีความเพียรยิ่งอยู่ในธาตุกัมมัฏฐานและกสิณเป็นต้นอย่างอื่น หรือหนอ. เมื่อไม่เห็นความเพียรยิ่งนั้น จึงทรงพระดำริว่า กัมมัฏฐานอะไรหนอ จักเป็นสัปปายสบายแก่ภิกษุนี้. แต่นั้น ทรงเห็นว่า กัมมัฏฐาน คืออายตนะนั่นแล จักเป็นสัปปายะ เมื่อจะตรัสบอกกัมมัฏฐานนั้น จึงตรัสว่า ตํ กิํ มญฺสิ ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า สาธุ เป็นความร่าเริงในการพยากรณ์ของเธอ. บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า นี้นี่แลเป็นที่สุด คือความขาดไปแห่งวัฏฏทุกข์ คือนิพพาน.
จบ อรรถกถาปฐมผัสสายตนสูตรที่ ๙