พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อวิชชาสูตร ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล (เริ่มเล่ม 30)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ต.ค. 2564
หมายเลข  37571
อ่าน  385

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 1

๑. อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 1

๑. อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 2

มีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งมั่นชอบย่อมบังเกิดมีแก่ผู้มีระลึกชอบ.

จบอวิชชาสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 3

อรรถกถามัคคสังยุต ในมหาวารวรรค

อวิชชาวรรคที่ ๑

อรรถกถาอวิชชาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอวิชชาสูตรที่ ๑ แห่งมหาวรรค. (๑)

บทว่า ปุพฺพงฺคมา ได้แก่ เป็นหัวหน้าด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย ๑ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ๑. บทว่า สมาปตฺติยา ความว่า เพื่อการเข้าถึง เพื่อการได้สภาพ เพื่อความเกิดขึ้น. บทว่า อนฺวเทว อหิริกํ อโนตฺตปฺปํ ความว่า ก็อหิริกะ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความไม่ละอาย และอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความไม่กลัวนั่นใด อวิชชานี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นร่วมกับอหิริกะและอโนตตัปปะนั้น เว้นอหิริกะและอโนตตัปปะนั้นเสียหาเกิดขึ้นได้ไม่. บทว่า อวิชฺชาคตสฺส ความว่า มิจฉาทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ผู้เข้าถึง คือประกอบด้วยอวิชชา. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ความไม่เห็นตามเป็นจริง คือความไม่เห็นธรรมเครื่องนำสัตว์ให้พ้นทุกข์. บทว่า ปโหติ คือย่อมมี ได้แก่ย่อมเกิดขึ้น. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น พึงทราบความเป็นมิจฉาด้วยสามารถความไม่จริง และไม่นำสัตว์ให้พ้นทุกข์นั่นแล. ชื่อว่า องค์แห่งความเป็นมิจฉาเหล่านี้ ย่อมมี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ๘ ด้วยประการฉะนี้. ส่วนองค์แห่งมิจฉัตตะทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไม่เกิดในขณะเดียวกัน ย่อมเกิดในขณะต่างๆ กัน. ถามว่าอย่างไร. ตอบว่า เมื่อใดจิตประกอบด้วยทิฏฐิ เมื่อยังกายวิญญัติให้ตั้งขึ้นย่อมเกิดเมื่อนั้น ก็ย่อมมีองค์ ๖ คือ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) มิจฉาสังกัปปะ


(๑) บาลีเป็น มหาวารวรรค

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 4

(ความดำริผิด) มิจฉาวายามะ (ความพยายามผิด) มิจฉาสติ (ความระลึกผิด) มิจฉาสมาธิ (ความตั้งมั่นผิด) มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด). เมื่อใด จิตไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เมื่อนั้นมีองค์ ๕ เว้นมิจฉาทิฏฐิ. เมื่อใดสององค์เหล่านั้นแล ย่อมยังวจีวิญญัติให้ตั้งขึ้น เมื่อนั้นย่อมมีองค์ ๖ หรือองค์ ๕ ตั้งอยู่ในมิจฉาวาจา ในฐานะมิจฉากัมมันตะ ชื่อว่า อาชีวะนี้ เมื่อกำเริบ ย่อมกำเริบในกายทวารและวจีทวารในทวารใดทวารหนึ่งเท่านั้น หากำเริบในมโนทวารไม่. เพราะฉะนั้น องค์ ๖ หรือองค์ ๕ เหล่านั้นแล ย่อมมีด้วยอำนาจมิจฉาชีวะว่า เมื่อใด จิตเหล่านั้นแล ย่อมยังกายวิญญัติและวจีวิญญัติให้ตั้งขึ้น โดยมุ่งถึงอาชีวะ เมื่อนั้นกายกรรม จึงชื่อว่า มิจฉาชีวะ วจีกรรม ก็อย่างนั้น. ก็เมื่อใดจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะไม่ยังวิญญติให้ตั้งขึ้น เมื่อนั้นย่อมมีองค์ ๕ ด้วยสามารถแห่งมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ และมิจฉาสมาธิ หรือองค์ ๔ ด้วยสามารถแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ดังนั้น องค์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดในขณะเดียวกันทั้งหมด ย่อมเกิดในขณะต่างๆ กันอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

ในสุกกปักข์ บทว่า วิชฺชา ได้แก่ รู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน. แม้ในวิชชานี้ พึงทราบความที่วิชชาเป็นหัวหน้า โดยอาการ ๒ คือ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย ๑ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ๑. บทว่า หิโรตฺตปฺปํ ได้แก่ ความละอายบาป และความกลัวบาป. ในธรรม ๒ อย่างนั้น หิริ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความละอาย โอตตัปปะ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความกลัว. นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้. ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวในวิสุทธิมรรคแล้วแล. บทว่า วิชฺชาคตสฺส ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ย่อมเกิดมีแก่ผู้เข้าถึงคือ,,,,ประกอบด้วยวิชชา. บทว่า วิทฺทสุโน ได้แก่ ผู้รู้แจ้งคือบัณฑิต. บทว่า สมฺมาทิฏิ ได้แก่ความเห็นตามเป็นจริง คือความเห็นนำสัตว์ให้พ้นทุกข์.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 5

แม้ในสัมมากัมมันตะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. องค์ ๘ เหล่านี้ย่อมมีเพื่อความเกิดแห่งกุศลธรรมด้วยประการฉะนี้. องค์แม้ ๘ เหล่านั้น ย่อมไม่เกิดพร้อมกันในขณะแห่งโลกิยมรรค แต่ย่อมเกิดพร้อมกันในขณะแห่งโลกุตรมรรค. ก็แลองค์ ๘ เหล่านั้น ย่อมมีในมรรคอันประกอบด้วยปฐมฌาน ส่วนในมรรคอันประกอบด้วยทุติยฌานเป็นต้น ย่อมมีองค์ ๗ เท่านั้น เว้นสัมมาสังกัปปะ.

ในองค์ ๗ เหล่านั้น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เพราะในมหาสฬายตนสูตร ในมัชฌิมนิกาย ท่านกล่าวว่า ความเห็นของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิของผู้นั้น ความดำริของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะของผู้นั้น ความพยายามของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาวายามะของผู้นั้น ความระลึกของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสติของผู้นั้น. ความตั้งใจมั่นของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิของผู้นั้น. ก็แล ในเบื้องต้นกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของผู้นั้น ก็ย่อมบริสุทธิ์ด้วยดี ดังนี้. ฉะนั้น โลกุตรมรรค ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ ๕ เท่านั้นดังนี้. ผู้นั้นพึงถูกเขาต่อว่า ในสูตรนั้นแลว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่เห็นคำนี้ว่า อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ ดังนี้. ส่วนข้อที่ท่านกล่าวว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส นั้น ท่านกล่าวแล้วเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ จำเดิมแต่วันที่บวชแล้ว ในข้อนี้ท่านแสดงความหมายไว้ดังนี้ว่า ก็จำเดิมแต่วันที่บวชแล้ว กายกรรมเป็นต้นอันบริสุทธิ์ ย่อมบริสุทธิ์ยิ่งนัก ในขณะแห่งโลกุตรมรรคดังนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 6

แม้คำใด อันท่านกล่าวในอภิธรรมว่า ก็ในสมัยนั้นแล มรรคย่อมประกอบด้วยองค์ ๕ คำนั้นท่านกล่าวเพื่อแสดงในระหว่างกิจอย่างหนึ่ง. ก็ในกาลใด บุคคลละการงานผิดแล้ว ย่อมยังการงานที่ชอบให้บริบูรณ์ในกาลนั้น.

มิจฉาวาจา หรือมิจฉาชีวะ ย่อมไม่มี สัมมากัมมันตะ ย่อมให้บริบูรณ์ในองค์ที่เป็นตัวการทั้งหลาย ๕ เหล่านี้คือ ทิฏฐิ ๑ สังกัปปะ ๑ วายามะ ๑ สติ ๑ สมาธิ ๑. ก็สัมมากัมมันตะ ชื่อว่า ย่อมให้บริบูรณ์ได้ด้วยสามารถแห่งวิรัติ แม้ในสัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะ ก็มีนัยนี้แล. คำอันท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ เพื่อแสดงในระหว่างกิจนี้. ส่วนในขณะแห่งโลกิยมรรค ย่อมมีองค์ ๕ แน่. แต่วิรัติไม่แน่ เพราะฉะนั้น ท่านไม่กล่าวว่าองค์ ๖ แต่กล่าวว่า มีองค์ ๕ เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. ก็บัณฑิตพึงทราบว่า โลกุตรมรรคย่อมมีองค์ ๘ เพราะความสำเร็จแห่งสัมมากัมมันตะเป็นต้น เป็นองค์แห่งโลกุตรมรรค ในสูตรหลายสูตรมีมหาจัตตทาฬีสกสูตรเป็นต้น อย่างนี้ว่า ก็ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีจิตเป็นอริยะ หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ การงด การเว้น การเว้นขาด จากกายทุจริต ๓ คือเจตนาเครื่องงดเว้นไม่กระทำ การไม่ทำอันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะนี้ ย่อมเป็นโลกุตรมรรค เป็นอริยะหาอาสวะมิได้ ดังนี้. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมรรคมีองค์ ๘ นี้ เจือด้วยโลกิยและโลกุตระ.

จบอรรคกถาอวิชชาสูตรที่ ๑