๗. ทุติยภิกขุสูตร ความกําจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ
[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 22
๗. ทุติยภิกขุสูตร
ความกําจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 22
๗. ทุติยภิกขุสูตร
ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ
[๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 23
ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.
ความสิ้นราคะ ชื่อว่าอมตะ
[๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อมตะๆ ดังนี้ อมตะเป็นไฉน ทางที่จะให้ถึงอมตะเป็นไฉน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึงอมตะ.
จบทุติยภิกขุสูตรที่ ๗
อรรถกถาทุติยภิกขุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยภิกขุสูตรที่ ๗.
บทว่า นิพฺพานธาตุยา โข เอตํ ภิกฺเข อธิวจนํ ความว่า นั่นเป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เป็นอมตะ. บทว่า อาสวานํ ขโย เตน วุจฺจติ ท่านแสดงว่า อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ เพราะความกำจัดราคะเป็นต้นนั้นเสียได้. พระอรหัต ชื่อว่า ความสิ้นอาสวะ. บทว่า ราควินโย เป็นอาทินั่น เป็นชื่อแม้ของพระอรหัตเท่านั้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 24
เอตทโวจ ความว่า เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ เมื่อทูลถามจึงได้กราบทูลอย่างนี้ว่า พระศาสดาเมื่อตรัสว่า ธาตุ ก็ตรัสนิพพานแก่เราแล้ว. ส่วนทางแห่งนิพพานนั้นพระองค์ยังไม่ตรัส เราจักทูลให้พระองค์ตรัสทางแห่งนิพพานนั้น จึงทูลถามดังนี้.
จบอรรถกถาทุติยภิกขุสูตรที่ ๗