พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยวิหารสูตร เวทนามีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ต.ค. 2564
หมายเลข  37583
อ่าน  395

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 42

๒. ทุติยวิหารสูตร

เวทนามีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 42

๒. ทุติยวิหารสูตร

เวทนามีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย.

[๔๙] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับพระดำรัสของพระผู้มีภาคเจ้าแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.

[๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 43

หลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ เพราะความตั้งมั่นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งมั่นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งมั่นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งมั่นชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.

จบทุติยวิหารสูตรที่ ๒

อรรถกถาวิหารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยวิหารสูตรที่ ๒.

เหตุแห่งการหลีกเร้น พึงทราบโดยนัยอันท่านกล่าวแล้วนั่นแล. บท ว่า มิจฺฉาทิฏฺิวูปสมปจฺจยา ได้แก่ ความเห็นชอบ ชื่อว่า เข้าไปสงบซึ่งความเห็นผิด. เพราะฉะนั้น เวทนาใดท่านกล่าวแล้ว เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย. เวทนานั้นแล ท่านพึงทราบ เพราะสงบความเห็นผิดเป็นปัจจัย. ส่วนในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า ผู้สำคัญซึ่งเวทนาอันเป็นวิบาก ย่อมไม่ถือเอาในที่ไกลเกินไป. ในบททุกบท พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้. ก็เวทนาท่าน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 44

เรียกว่า เพราะเข้าไปสงบธรรมใดๆ เป็นปัจจัย. เวทนานั้นๆ ท่านประสงค์แล้ว เพราะเป็นธรรมอันตรงกันข้ามกับธรรมนั้นๆ เป็นปัจจัย. ส่วนในบทเป็นอาทิว่า ฉนฺทวูปสมปจฺจยา พึงทราบเวทนาในปฐมฌานก่อน เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัย. เวทนาในทุติยฌาน เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัย เวทนาในสัญญาสมาบัติ ๖ เพราะสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัย. บทเป็นอาทิว่า ฉนฺโท จ วูปสนฺโต มีเนื้อความอันกล่าวแล้วแล.

จบอรรถกถาวิหารสูตรที่ ๒