พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร ว่าด้วยพรหมจรรย์ พรหมจารี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ต.ค. 2564
หมายเลข  37591
อ่าน  364

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 49

๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร

ว่าด้วยพรหมจรรย์ พรหมจารี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 49

๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร

ว่าด้วยพรหมจรรย์ พรหมจารี

[๕๘] ปาฏลิปุตตนิทาน. พระภัททะถามว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ พรหมจารีเป็นไฉน ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน.

พระอานนทเถระตอบว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างแสวงหาปัญหา ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ พรหมจารีเป็นไฉน ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 50

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แล เป็นพรหมจรรย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าเป็นพรหมจารี ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์.

จบตติยกุกกุฏารามสูตรที่ ๑๐

อรรถกถา

สูตรที่ ๙ - ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบวิหารวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวิหารสูตร ๒. ทุติยวิหารสูตร ๓. เสขสูตร ๔. ปฐมอุปปาทสูตร ๕. ทุติยอุปปาทสูตร ๖. ปฐมปริสุทธสูตร ๗. ทุติยปริสุทธสูตร ๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร ๙. ทุติยกุกกุฏารามสูตร ๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร