๑๐. อุตติยสูตร เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 57
๑๐. อุตติยสูตร
เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 57
๑๐. อุตติยสูตร
เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
[๘๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 58
[๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้เรากล่าวไว้แล้ว กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ดูก่อนอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.
[๘๘] ดูก่อนอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งมั่นชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญเพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล.
จบอุตติยสูตรที่ ๑๐
จบมิจฉัตตวรรคที่ ๓
มิจฉัตตวรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกถามิจฉัตตสูตรเป็นต้น
พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตสูตรที่ ๑ แห่งมิจฉัตตวรรคที่ ๓.
บทว่า มิจฺฉตฺตํ แปลว่า มีความผิดสภาวะ. บทว่า สมฺมตฺตํ แปลว่า มีความถูกเป็นสภาวะ. บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตฺาธิกรณเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด. อธิบายว่า เพราะเหตุทำการปฏิบัติผิด. บทว่า นาราธโก ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม. บทว่า ายํ ธมฺมํ ได้แก่ อริยมรรคธรรม.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 59
บทว่า มิจฺฉาาณี ความว่า รู้ผิด คือพิจารณาผิด. บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ความว่า ไม่พ้นตามความจริง คือไม่ให้พ้นไปจากทุกข์. วัฏฏะและวิวัฏฏะในมรรค ๔ พระองค์ตรัสแล้ว ในพระสูตรที่ ๓ เป็นต้นเหล่านี้. ส่วนบุคคลที่ทรงถามธรรมที่ทรงจำแนก มีอยู่ในพระสูตรทั้ง ๒ สุดท้ายในที่นั้น. ทรงแสดงบุคคลโดยธรรมแล้วอย่างนี้. บทว่า สุปฺปวตฺติโย แปลว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปได้ง่าย. อธิบายว่า บุคคลย่อมยังจิตให้แล่นไปยังทิศอันปรารถนาและต้องการแล้วได้ ฉันใด บุคคลก็ย่อมสามารถให้หม้อกลิ้งไปได้ฉันนั้น. บทว่า สอุปนิสํ สปริกฺขารํ ได้แก่ พร้อมทั้งปัจจัย พร้อมทั้งบริวาร คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามิจฉัตตวรรคที่ ๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มิจฉัตตสูตร ๒. อกุศลธรรมสูตร ๓. ปฐมปฏิปทาสูตร ๔. ทุติยปฏิปทาสูตร ๑ ๘. ปฐมอสัปปุริสสูตร ๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร ๗. กุมภสูตร ๘. สมาธิสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. อุตติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา