แม้คำพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็ต้องกล่าวให้ถูกกาล
ตามปกติแล้วปุถุชนทั่วไป (รวมทั้งตัวเราด้วย) มักเกิดความไม่พอใจ (ไม่มากก็น้อย) เมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือน ทั้งนี้ก็เนื่องจากยังมีมานะและความเป็นตัวตนอยู่ ...
การตักเตือนด้วยเจตนาดีเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเขารับไม่ได้ ก็ไม่ควรพูดเรื่องนั้นๆ อีก แต่ยังคงรักษาเจตนาดีไว้ ทำตัวเป็นเพื่อนที่ดี ช่วยเหลือในกิจการต่างๆ ของเขาเท่าที่จะทำได้ด้วยความจริงใจ ด้วยความมั่นคงในความเห็นที่ตรงที่ถูกต้อง เมื่อใดที่เขาต้องการคำแนะนำจากเรา เราก็สามารถให้คำปรึกษาหรือตักเตือนได้ โดยยึดหลักของความเห็นที่ตรง
แม้คำพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็ต้องกล่าวให้ถูกกาล
ขออนุญาตยกคำตอบของมูลนิธิ ในหัวข้อ 02195 มาให้พิจารณากันครับ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
องค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ [วาจาสูตร]
อรรถกถาไม่มีขยายความเลย ขอขยายตามที่เข้าใจคือ ข้อแรก เป็นคำพูดถูกกาละเทสะ คือรู้เวลาที่เหมาะสม ข้อ ๒ เป็นคำพูดที่จริงไม่เท็จ ข้อ ๓ เป็นคำพูดที่ไม่หยาบคลาย น่าฟัง อ่อนโยน ข้อ ๔ เป็นคำพูดที่มีสาระ มีประโยชน์ ไม่เพ้อเจ้อ ข้อ ๕ เป็นคำพูดที่ออกจากจิตที่ประกอบด้วยเมตตาไม่พูดด้วยความโกรธ อนึ่ง ผู้ที่ไม่หลงลืมสติเห็นโทษของวาจาทุพภาษิต เห็นคุณของวาจาสุภาษิต ย่อมเป็นผู้ระมัดระวังในคำพูดที่จะไม่กล่าวคำพูดที่ไม่ดี ย่อมเป็นผู้มีวาจาสุภาษิตเสมอ
กาละ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะแม้จะเป็นคำพูดจริง คำพูดดี มีประโยชน์ ถ้าไม่ประกอบด้วยกาละที่สมควรแล้ว พระผู้มีพระภาค ก็ไม่ทรงตรัส
คำพูดหรือวาจา ทำให้มิตรแหนงหน่ายกันได้ เพราะว่าถ้าพูดไม่ดี ก็ทำให้แตกต่างมิตรค่ะ
สังคหวัตถุ เป็นเครื่องยึดเหนึ่ยวจิตใจ ๔ ประการ
๑. การให้ เช่น ให้วัตถุสิ่งของ ให้อภัย และให้ธรรมทาน
๒. การพูดวาจาอ่อนหวาน และจริงใจ ฯลฯ
๓. การให้ความช่วยเหลือ รับทำกิจธุระให้เพื่อน ฯลฯ
๔. การมีตนเสมอกัน ความเห็นเหมือนกัน มีศีลเสมอกัน ฯลฯ
เรื่องการกล่าววาจาต่อหน้าและลับหลังอย่างไรจึงจะถูกต้อง
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...
ขออนุโมทนาค่ะ ทำได้ยากมากนะคะ ต้องอาศัยขันติ ความเพียร และสติสัมปชัญญะอย่างแท้จริง
ผู้ที่เป็นวิทยากรที่ดี ควรมีวาจาสุภาษิต และยึดหลักสังคหวัตถุด้วยใช่มั้ยคะ