พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ต.ค. 2564
หมายเลข  37611
อ่าน  367

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 66

๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร

พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 66

๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร

พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์

[๑๑๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 67

[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์.

จบทุติยพรหมจริยสูตรที่ ๑๐

จบปฏิปัตติวรรคที่ ๔

ปฏิปัตติวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาปฏิปัตติสูตรเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิปัตติสูตรที่ ๑ แห่งปฏิปัตติวรรคที่ ๔.

บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตึ คือซึ่งไม่ปฏิบัติตามเป็นจริง. บทว่า มิจฺฉาปฏิปนฺนํ คือผู้ไม่ปฏิบัติตามเป็นจริง. สูตรหนึ่ง ท่านกล่าวด้วยสามารถธรรม สูตรหนึ่งด้วยสามารถบุคคล. บทว่า อปาราปารํ ได้แก่ ซึ่งนิพพานจากวัฏฏะ ชนเหล่าใดถึงซึ่งฝั่งแล้วก็ดี กำลังถึงก็ดี จักถึงก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ในบทว่า ปารคามิโน ดังนี้.

บทว่า ตีรเมวานุธาวติ ความว่า ย่อมวิ่งไปสู่วัฏฏะนั่นเอง คือ ย่อมเที่ยวไปในวัฏฏะ. บทว่า กณฺหํ คือ อกุศลธรรม. บทว่า โอกา อโนกํ ได้แก่ จากวัฏฏะอาศัยนิพพาน. บทว่า อาคมฺม ได้แก่ ปรารภ หมายถึง อาศัย.

บทว่า ปริโยทเปยฺย ได้แก่ พึงทำให้บริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตกฺเลเสหิ ได้แก่ ด้วยนิวรณ์อันทำจิตให้เศร้าหมอง. บทว่า สมฺโพธิยงฺเคสุ ได้แก่ ในโพชฌงค์ ๗.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 68

บทว่า สามญฺตฺถํ ได้แก่ นิพพาน. จริงอยู่ นิพพานนั้นท่านกล่าวว่า ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เพราะควรเข้าถึงโดยความเป็นสมณะ.

บทว่า พฺรหฺมญฺํ คือความเป็นผู้ประเสริฐสุด. บทว่า พฺรหฺมญฺตฺถํ ได้แก่ พระนิพพาน เพราะควรเข้าถึงโดยความเป็นผู้ประเสริฐสุด. เกจิอาจารย์กล่าวว่า นิพพานอันมาแล้วว่า เป็นที่สิ้นไปแห่งราคะในหนหลัง และใน ๓ สูตรนี้ในที่ใดๆ แม้อรหัตก็ควรในที่นั้นๆ เช่นกัน.

จบอรรถกถาปฏิปัตติสูตรเป็นต้น

จบปฏิปัตติวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิปัตติสูตร ๒. ปฏิปันนสูตร ๓. วิรัทธสูตร ๔. ปารสูตร ๕. ปฐมสามัญญสูตร ๖. ทุติยสามัญญสูตร ๗. ปฐมพรหมัญญสูตร ๘. ทุติยพรหมัญญสูตร ๙. ปฐมพรหมจริยสูตร ๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร