๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 81
๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 81
๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมแห่งความกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔
จบสุริยเปยยาลที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 82
อรรถกถาสุริยเปยยาล
พึงทราบวินิจฉัยใน สุริยเปยยาล.
พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงอย่างนี้ว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี ดุจการขึ้นไปแห่งอรุณ อริยมรรคพร้อมกับวิปัสสนาอันดำรงอยู่ เพราะความเป็นผู้มีมิตรดีแล้วทำให้เกิดขึ้น ดุจความปรากฏแห่งพระอาทิตย์. บทว่า สีลสมฺปทา ได้แก่ จตุปาริสุทธศีล. บทว่า ฉนฺทสมฺปทา ได้แก่ กัตตุกามยตาฉันทะ อันเป็นกุศล. บทว่า อตฺตสมฺปทา คือความเป็นผู้มีจิตสมบูรณ์แล้ว. บทว่า ทิฏฺิสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งญาณ. บทว่า อปฺปมาทสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทอันเป็นตัวการ. บทว่า โยนิโสมนสิการสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยอุบาย. ท่านกล่าวบทว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้นอีก เพื่อแสดงภาวะโดยอาการแม้อื่นแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. พระสูตรเหล่านี้ทั้งหมดท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของบุคคลโดยเฉพาะ.
จบอรรถกถาสุริยเปยยาลที่ ๖
รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้
๑. ปฐมกัลยาณมิตตสูตร ๒. ปฐมสีลสัมปทาสูตร ๓. ปฐมฉันทสัมปทาสูตร ๔. ปฐมอัตตสัมปทาสูตร ๕. ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร ๖. ปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตร ๗. ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. ทุติยกัลยาณมิตตสูตร ๙. ทุติยสีลสัมปทาสูตร ๑๐. ทุติยฉันทสัมปทาสูตร ๑๑. ทุติยอัตตสัมปทาสูตร ๑๒. ทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตร ๑๓. ทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตร. ๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา