๑๐. อากาสสูตร ผู้เจริญอริยมรรคย่อมทําสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 151
๑๐. อากาสสูตร
ผู้เจริญอริยมรรคย่อมทําสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 151
๑๐. อากาสสูตร
ผู้เจริญอริยมรรคย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
[๒๘๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลมหลายชนิดพัดไปในอากาศคือ ลมตะวันออกบ้าง ลมตะวันตกบ้าง ลมเหนือบ้าง ลมใต้บ้าง ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้าง ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง ลมพัดเบาๆ บ้าง ลมพัดแรงบ้าง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง อิทธิบาท ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง อินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง พละ ๕ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า สติปัฏฐาน ๔ จึงถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ จึงถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง ดู
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 152
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง.
จบอากาสสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาอากาสสูตร
บทว่า ปุรตฺถิมา ได้แก่ ลมมาจากทิศตะวันออก. แม้ในทิศตะวันตกเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จตฺตาโรปิ สติปฏฺานา ความว่า เหมือนอย่างว่า การรวมประเภทของทิศมีทิศตะวันออกเป็นต้นเหล่านั้น สำเร็จลงได้ในอากาศ ฉันใด โพธิปักขิยธรรมที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา ดังนี้ แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น ย้อมสำเร็จลงได้ด้วยการเจริญอริยมรรค อันเป็นมหาวิปัสสนา. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้.
จบอรรถกถาอากาสสูตรที่ ๑๐