พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. วิธาสูตร การถือตัว ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ต.ค. 2564
หมายเลข  37756
อ่าน  336

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 167

๙. วิธาสูตร

การถือตัว ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 167

๙. วิธาสูตร

การถือตัว ๓

[๓๑๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การถือตัวว่า เราประเสริฐกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้แล.

[๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการถือตัว ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกําหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการถือตัว ๓ อย่างนี้แล.

จบวิธาสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 168

อรรถกถาวิธาสูตร

บทว่า วิธา ได้แก่ ส่วนแห่งมานะ หรือการตั้งไว้ซึ่งมานะ. บทว่า เสยฺโยหมสฺมีติ วิธา ได้แก่ ส่วนแห่งมานะหรือการตั้งไว้ซึ่งมานะอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา.

จบอรรถกถาวิธาสูตรที่ ๙