พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โอฆวรรควรรณนาที่ ๑๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ต.ค. 2564
หมายเลข  37780
อ่าน  327

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 183

โอฆวรรควรรณนาที่ ๑๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 183

โอฆวรรควรรณนาที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในโอฆวรรค.

บทว่า กาโมโฆ ได้แก่ ความกําหนัดด้วยความพอใจในกามคุณ ๕. บทว่า ภโวโฆ ได้แก่ ความกําหนัดด้วยความพอใจในรูปราคะและอรูปราคะ. บทว่า ทิฏฺโโฆ ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒. บทว่า อวิชฺโชโฆ ได้แก่ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔. แม้ในกามโยคะเป็นต้นก็มีนัยนี้แล.

บทว่า กามุปาทานํ ได้แก่ การยึดถือกาม. แม้ในบทมีบทว่า ทิฏฺฐุปาทา เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.

บทว่า คนฺถา ได้แก่ เครื่องร้อยรัด คือติดแน่น. บทว่า กายคนฺโถ ได้แก่ เครื่องร้อยรัดแห่งนามกาย คือกิเลสเครื่องร้อยรัดแน่น. บทว่า อิทํ สจฺจาภินิเวโส ได้แก่ ยึดมั่นอย่างนี้ว่า นี้แหละจริง เกิดขึ้นด้วยอำนาจอันตคาหิกทิฐิ. บทว่า กามราคานุสโย ความว่า ชื่อว่า กามราคานุสัย เพราะอรรถว่า ไปด้วยกําลัง แม้ในสูตรที่เหลือก็มีนัยนี้แล.

บทว่า โอรมฺภาคิยานิ คือสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า สญฺโชนานิ ได้แก่ เครื่องผูกมัด. บทว่า อุทฺธมฺภาคิยานิ ได้แก่ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง. สูตรที่เหลือในที่ทั้งปวงมีความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบโอฆวรรควรรณนาที่ ๑๓

จบอรรถกถามัคคสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. ปฐมอุทธัมภาคิยสูตร ๑๑. ทุติยอุทธัมภาคิยสูตร