พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. หิมวันตสูตร ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ต.ค. 2564
หมายเลข  37781
อ่าน  380

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 184

โพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรคที่ ๑

๑. หิมวันตสูตร

ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 184

โพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรคที่ ๑

๑. หิมวันตสูตร

ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย

[๓๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อหิมวันต์ มีกายเติบโต มีกําลัง ครั้นกายเติบโต มีกําลังที่ขุนเขานั้นแล้ว ย่อมลงสู่บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้ว ย่อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำน้อย ครั้นลงสู่แม่น้ำน้อยแล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำใหญ่ ครั้นลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้น ย่อมถึงความโตใหญ่ทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชณงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรม ทั้งหลาย.

จบหิมวันตสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 185

อรรถกถาโพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาหิมวันตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ ๑ แห่งโพชฌังคสังยุต.

บทว่า นาคา ความว่า นาคแม้เหล่านี้ อยู่ระหว่างคลื่น บนหลังมหาสมุทร หาอยู่ในวิมานไม่. นาคเหล่านั้นมีกายเติบโตเป็นต้น เพราะอาศัยภูเขาหิมวันต์ ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในหนหลัง. ในบทว่า โพชฺฌงฺเค นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไร ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่ออุปัทวะหลายอย่างมี ลีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ปติฏฐานะ ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยค ทำความเพียร ในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้ลำบาก อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง และอภินิเวส ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระดังนี้. บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อมลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำนิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 186

แห่งความตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้น. ส่วนพระอริยสาวก เรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่งเสนาและองค์แห่งรถเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้.

ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร.

ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่า ตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ดี. พึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์ แม้โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทาเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้แล

ส่วนในบทเป็นต้นว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ พึงทราบอรรถในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ อันประเสริฐและดี สัมโพชฌงค์คือสติ ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์. ซึ่งสติสัมโพชฌงค์นั้น. บทว่า ภาเวติ คือ ให้เจริญ อธิบายว่า ย่อมให้เกิดคือย่อมให้บังเกิดบ่อยๆ ในจิตสันดานของตน. บททั้งหลายมีอาทิว่า วิเวกนิสฺสิตํ พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในบทนี้ว่า ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอาศัยวิเวกดังนี้ ในโกสลสังยุต.

ส่วนความต่างกันดังนี้ ในโกสลสังยุตนั้น ท่านกล่าววิเวกไว้ ๓ อย่าง คือ อาศัยตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก นิลสรณวิเวก. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวถึงผู้เจริญโพชฌงค์อาศัยวิเวก ๕ อย่างก็มี. ก็อาจารย์เหล่านั้นย่อมยกโพชฌงค์ขึ้นแสดงอย่างนี้ ในขณะแห่งพลววิปัสสนา มรรคและผลอย่างเดียวก็หามิได้ ย่อมยกขึ้นแสดงแม้ในกสิณฌาน อานาปานัสสติ อสุภกัมมัฏฐาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 187

และพรหมวิหารฌาน อันเป็นบาทของวิปัสสนา. อาจารย์บางพวกเหล่านั้น จึงไม่สำเร็จตามพระอรรถกถาจารย์ เพราะฉะนั้น ตามมติของท่านเหล่านั้น ในขณะแห่งความเป็นไปแห่งฌานเหล่านั้น ว่าโดยกิจ ฌานก็ยังอาศัยวิกขัมภนวิเวก. ในขณะแห่งวิปัสสนา ท่านกล่าวว่า โดยอัธยาศัย ภิกษุย่อมเจริญวิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวก ฉันใด. ก็ควรจะกล่าวว่า ภิกษุย่อมเจริญโพชฌงค์ อาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวกฉันนั้น. คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยตามที่กล่าวแล้วในหนหลังแล.

จบอรรถกถาหิมวันตสูตรที่ ๑