พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. วัตตสูตร การอยู่ด้วยโพชฌงค์ ๗

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ต.ค. 2564
หมายเลข  37784
อ่าน  378

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 202

๔. วัตตสูตร

การอยู่ด้วยโพชฌงค์ ๗


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 202

๔. วัตตสูตร

การอยู่ด้วยโพชฌงค์ ๗

[๓๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้. ๗ ประการเป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล.

[๓๘๔] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 203

นั้นๆ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ.

[๓๘๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่าสติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว สติสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ

[๓๘๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.

[๓๘๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย หีบผ้าของพระราชาหรือของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเช้า ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้นๆ ได้ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเที่ยง ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้นๆ ได้ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้นๆ ได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรดาโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ.

[๓๘๘] ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว สติสัมโพชฌงค์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 204

เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ

[๓๘๙] ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.

จบวัตตสูตรที่ ๔

อรรถกถาวัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวัตตสูตรที่ ๔.

บทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ความว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ย่อมมีแก่เราดังพรรณนามานี้. บทว่า อปฺปมาโณติ เม โหติ ความว่า เรารู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้อย่างนี้. บทว่า สุสมารทฺโธ ได้แก่ บริบูรณ์ดีแล้ว. ในบทว่า ติฏฺ นฺตํ นี้ สติสัมโพชฌงค์ย่อมตั้งอยู่โดยอาการแปด. คือ พระเถระย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะไม่ระลึกถึงความเกิด เพราะระลึกถึงความไม่เกิด คือ ความเป็นไป ความไม่เป็นไป นิมิต ไม่มีนิมิต สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะไม่ระลึกถึงสังขาร เพราะระลึกถึงอสังขาร ดังนั้น สติสัมโพชฌงค์ จึงตั้งอยู่ด้วยอาการแปดเหล่านี้แล. พระเถระย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ เมื่อประพฤติย่อมประพฤติด้วยอาการแปดตรงกันข้ามกันอาการที่กล่าวแล้ว นั่นแหละ. แม้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 205

ในโพชฌงค์ที่เหลือ ก็มีนัยนี้นี้แล. สูตรนี้ท่านกล่าวโพชฌงค์ที่มีกำลังของพระเถระ.

ก็เมื่อใดพระเถระทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นหลัก ย่อมเข้าผลสมาบัติ เมื่อนั้น โพชฌงค์ ๖ นอกนี้ ย่อมไปตามสติสัมโพชฌงค์นั้น. เมื่อใด พระเถระทำโพชฌงค์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นหลักในบรรดาโพชฌงค์ มีธรรมวิจยะเป็นต้น แม้เมื่อนั้น โพชฌงค์ที่เหลือ ย่อมไปตามโพชฌงค์นั้นแล. พระเถระเมื่อแสดงความชำนาญที่ประพฤติมาของตน ในผลสมาบัติอย่างนี้ จึงกล่าวสูตรนี้ ด้วยประการดังนี้.

จบอรรถกถาวัตตสูตรที่ ๔.