พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ภิกขุสูตร เรื่องว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ต.ค. 2564
หมายเลข  37785
อ่าน  356

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 205

๕. ภิกขุสูตร

เรื่องว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 205

๕. ภิกขุสูตร

เรื่องว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้

[๓๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า โพชฌงค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้.

[๓๙๑] ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

[๓๙๒] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 206

[๓๙๓] เมื่อภิกษุนั้นเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย้อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ฉะนี้แล.

จบภิกขุสูตรที่ ๕

อรรถกถาภิกขุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุสูตรที่ ๕.

บทว่า โพธาย สํวตฺตนฺติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อตรัสรู้. ถามว่า เพื่อตรัสรู้อะไร ตอบว่า ตรัสรู้นิพพาน อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ด้วยมรรค ตรัสรู้กิจอันตนทำแล้วด้วยปัจจเวกขณญาณ. มีอธิบายว่า อีกอย่างหนึ่ง โพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อตรัสรู้ เพราะการตัดกิเลสได้ขาดด้วยมรรคเพื่อความเป็นพุทธะ ด้วยผลดังนี้ก็มี. ด้วยเหตุนั้นแล ในที่นี้ ท่านจึงแสดงไว้ทั้งหมดว่าการกระทำนิพพานให้แจ้ง การพิจารณาซึ่งการละกิเลส.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๕