พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. กุณฑลิยสูตร ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ต.ค. 2564
หมายเลข  37786
อ่าน  370

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 207

๖. กุณฑลิยสูตร

ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 207

๖. กุณฑลิยสูตร

ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์

[๓๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมฤคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต. ครั้งนั้นแล กุณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชอบเที่ยวไปในอารามและชอบเข้าไปในที่ชุมนุมชน นี้เป็นเหตุการณ์ของข้าพระองค์ ผู้บริโภคอาหารเช้าแล้ว ในเวลาหลังอาหาร ข้าพระองค์เดินไปเนืองๆ เที่ยวไปเนืองๆ สู่อารามจากอาราม สู่อุทยานจากอุทยาน ณ ที่นั้น ข้าพระองค์เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กําลังกล่าวถ้อยคำมีวาทะและการเปลื้องวาทะว่าดังนี้เป็นอานิสงส์ และมีความขุ่นเคืองเป็นอานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็นอานิสงส์อยู่เล่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกุณฑลิยะ ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์อยู่.

[๓๙๕] ก. ข้าแต่ท่านพระโคคมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคคมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 208

พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๖] พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ดูก่อนกุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกําหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกําหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอรู้ธรรมารมณ์ ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 209

ดูก่อนกุณฑลิยะ เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้คงที่ ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท เพราะรูปทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะ ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้คงที่ ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท เพราะธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรียสังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต ณ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๗] ดูก่อนกุณฑลิยะ ก็สุจริตเหล่านั้นอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริต เจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต เจริญมโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๘] ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังโพชฌงค์ ๔ ให้บริบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 210

[๓๙๙] ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้สมบูรณ์.

[๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กุณฑลิยปริพาชกได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคคมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้น ไป.

จบกุณฑลิยสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 211

อรรถกถากุณฑลิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุณฑลิยสูตรที่ ๖.

บทว่า อารามนิยาทิ ได้แก่ ชื่อว่า เที่ยวไปในอาราม เพราะอาศัยอารามเป็นที่ไป. บทว่า ปริสาวจโร ได้แก่ เที่ยวไปในบริษัท. คนพาลบ้าง บัณฑิตบ้าง มารวมกันอยู่ ชื่อว่า บริษัท. ส่วนผู้ใด ย่อมสามารถเพื่อย่ำยีวาทะของคนอื่นแล้ว จึงแสดงวาทะของตนได้ ผู้นี้ชื่อว่า เที่ยวไปในบริษัท. บทว่า อาราเมน อารามํ ความว่า ข้าพเจ้าเดินไปเนืองๆ สู่อารามจากอาราม อธิบายว่า มิได้เดินไปภายนอก. แม้ในอุทยานก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า เข้าไปสู่อารามหนึ่ง จากอารามหนึ่ง เข้าไปสู่อุทยานหนึ่ง จากอุทยานหนึ่ง. บทว่า อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสํ ความว่า วาทะดังนี้ การเปลื้องวาทะดังนี้ โดยนัยนี้ว่า การถามมีอย่างนี้ การตอบมีอย่างนี้ การถือเอาความอย่างนี้ ไขความอย่างนี้ ดังนี้ นั่นเป็นอานิสงส์. บทว่า อุปารมฺภานิสํสํ ได้แก่ มีโทษในวาทะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้ว่า นี้เป็นโทษในการถาม นี้เป็นโทษในการตอบ ดังนี้. บทว่า กถํ ภาวิโต กณฺฑลิย อินฺทฺริยสํวโร ความว่า พระศาสดาทรงรู้ว่า ก็ปริพาชกถาม ฐานะมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เขาไม่อาจเพื่อจะถามอีก เมื่อทรงถาม จึงทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยพระองค์โดยทรงดำริว่า คราวแรก เทศนานี้ไม่เป็นไปต่อเนื่องกัน บัดนี้ เราจักให้เทศนานี้ถึงการต่อเนื่องกัน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มนาปํ นาภิชฺฌายติ ได้แก่ ย่อมไม่เพ่งอารมณ์ที่น่าปรารถนา. บทว่า นาวิหึสติ ได้แก่ ย่อมไม่ขึ้งเคียดด้วยความยินดี อันมีอามิส. บทว่า ตสฺส ิโต จ กาโย โหติ ิตํ จิตฺตํ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 212

อชฺฌตฺตํ ความว่า นามกายและจิตของเธอคงที่อยู่ภายในอารมณ์. บทว่า สุสณฺิตํ ได้แก่ มั่นคงด้วยดีด้วยอำนาจกัมมัฏฐาน. บทว่า สุวิมุตฺตํ ได้แก่ หลุดพ้นดีแล้วด้วยกัมมัฏฐาน. บทว่า อมนาปํ ได้แก่ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา. บทว่า น มงฺกุ โหติ ได้แก่ ย่อมไม่เก้อในรูปนั้น. บทว่า อปฺปติฏฺิตจิตฺโต ได้แก่ มีจิตไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส. บทว่า อาทินฺนมานโส ได้แก่ มีจิตอันกิเลสยึดถือด้วยอำนาจโทมนัสไม่ได้. บทว่า อพฺยาปนฺนเจตโส ได้แก่ มีจิตไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจโทสะ.

ในบทว่า เอวมฺภาวิโต โข กุณฺฑลิย อินฺทฺริยสํวโร เอวํ พหุลีกโต ตีณิ สุจริตานิ ปริปูเรติ นี้ พึงทราบการยังสุจริตให้บริบูรณ์อย่างนี้. ทุจริตทั้งหลายมี ๑๘ ในทวาร ๖ เหล่านี้ก่อน. ถามว่า มีได้อย่างไร. ตอบว่า เมื่อไม่ให้ส่วนกายและวาจาหวั่นไหว เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนามาสู่คลองในจักขุทวารครั้งแรก แต่ยังความโลภให้เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น จัดเป็นมโนทุจริต. เมื่อพูดด้วยจิตประกอบด้วยความโลภว่า โอหนอ สิ่งนี้น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจดังนี้ จัดเป็นวจีทุจริต เมื่อเอามือจับต้องสิ่งนั้นเท่านั้น จัดเป็นกายทุจริต. แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนความต่างกันดังนี้ ด้วยว่า เมื่อจับต้องเครื่องดนตรีมีสังข์และบัณเฑาะว์เป็นต้น อันเป็นอนามาส ซึ่งเป็นที่ตั้งของสัททารมณ์ในโสตทวาร จับต้องของหอมและดอกไม้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของคันธารมณ์ในฆานทวาร. จับต้องปลาและเนื้อเป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของรสารมณ์ในชิวหาทวาร. จับต้องจีวรเป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของโผฏฐัพพารมณ์ ในกายทวาร เมื่อจับต้องเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมารมณ์ด้วยอำนาจแห่งบัญญัติ ในมโนทวาร พึงทราบว่า กายทุจริต แต่เมื่อว่าโดยย่อ ในข้อนี้มีทุจริตสาม

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 213

เท่านั้น คือ การละเมิดทางกายในทวาร ๖ จัดเป็นกายทุจริต การละเมิดทางวาจา จัดเป็นวจีทุจริต การละเมิดทางใจ จัดเป็นมโนทุจริต.

ส่วนภิกษุนี้ มั่นคงอยู่ในการพิจารณาภาวนาของตนย่อมประพฤติสุจริตเหล่านี้ให้เป็นสุจริตธรรม. ถามว่า ประพฤติอย่างไร. ตอบว่า เมื่อไม่ยังส่วนกายและวาจาให้เคลื่อนไหว เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนามาสู่คลองในจักขุทวารครั้งแรก ปรารถนาอยู่ซึ่งวิปัสสนาอันมีรูปเป็นอารมณ์ จัดเป็นมโนสุจริต เมื่อพูดด้วยจิตอันประกอบด้วยวิปัสสนาว่า มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จัดเป็นวจีสุจริต. เมื่อไม่จับต้องด้วยคิดว่า สิ่งนี้เป็นอนามาส จัดเป็นกายสุจริต. แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ว่าโดยพิสดาร สุจริตมี ๑๘ ด้วยทวารที่เหลือด้วยประการฉะนี้ แต่โดยสังเขปในข้อนี้ มีสุจริตสามเท่านั้น คือ การสำรวมทางกายในทวาร ๖ จัดเป็นกายสุจริต. การสำรวมทางวาจาจัดเป็นวจีสุจริต. การสำรวมทางใจจัดเป็นมโนสุจริต. ความสำรวมอินทรีย์อย่างนี้ พึงทราบว่า ย่อมยังสุจริตสามให้บริบูรณ์. ท่านกล่าวถึงอินทรียสังวรศีล อันศีลตามรักษาแล้ว ด้วยเหตุประมาณเท่านี้.

ในบทเป็นต้นว่า กายทุจฺจริตํ ปหาย ได้แก่ กายทุจริต ๓ อย่าง วจีทุจริต ๔ อย่างมโนทุจริต ๓ อย่าง. พึงทราบกายสุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจตรงกันข้ามกับกายทุจริตเป็นต้นนั้น ด้วยคำประมาณเท่านี้ย่อมเป็นอันท่านกล่าวถึงปาฏิโมกขศีลด้วยการสำรวมทางกายและทางวาจา. ศีลสามด้วยการสำรวมทางใจ ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วถึงจตุปาริสุทธศีล ส่วนในสูตรนี้ทั้งสิ้น พึงทราบว่าท่านกล่าวสติปัฏฐานมีสุจริตเป็นมูลว่า คลุกเคล้าด้วยโลกุตตระ. สติปัฏฐานเป็นมูลแห่งโพชฌงค์ ๗ ว่าเป็นบุพภาค. โพชฌงค์มี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 214

สติปัฏฐานเป็นมูล แม้เหล่านั้นว่าเป็นบุพภาค. ส่วนโพชฌงค์ซึ่งเป็นมูลแห่งวิชชาและวิมุตติ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า เป็นโลกุตระแท้.

จบอรรถกถากุณฑลิยสูตรที่ ๖