พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. เอกธรรมสูตร โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งสังโยชน์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ต.ค. 2564
หมายเลข  37812
อ่าน  363

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 241

๙. เอกธรรมสูตร

โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งสังโยชน์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 241

๙. เอกธรรมสูตร

โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งสังโยชน์

[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้ข้อหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เหมือนโพชฌงค์ ๗ นี้เลย. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

[๔๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.

[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน. จักษุเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์ เหล่านั้นย่อมเกิดที่จักษุนี้ โสต ... ฆานะ.. ชิวหา ...(๑) ใจเป็นธรรมที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ใจนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.

จบเอกธรรมสูตรที่ ๙


(๑) บาลีเป็นอย่างนี้ กายหายไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 242

อรรถกถาเอกธรรมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเอกธรรมสูตรที่ ๙.

บทว่า สญฺโชนวินิพนฺธา ได้แก่ เครื่องผูกกล่าวคือสังโยชน์. บทว่า อชฺโฌสานา ได้แก่ ให้สำเร็จแล้วยึดถือ.

จบอรรถกถาเอกธรรมสูตรที่ ๙