พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อาวรณานีวรณสูตร ธรรมเป็นอุปกิเลสของจิต ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ต.ค. 2564
หมายเลข  37820
อ่าน  350

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 253

๗. อาวรณานีวรณสูตร

ธรรมเป็นอุปกิเลสของจิต ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 253

๗. อาวรณานีวรณสูตร

ธรรมเป็นอุปกิเลสของจิต ๕

[๔๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างนี้. ๕ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม. พยาบาท... ถีนมิทธะ... อุทธัจจกุกกุจจะ... วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม.

[๔๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมุตติ. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชา และวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้แล ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 254

[๔๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

จบอาวรณานีวรณสูตรที่ ๗

อรรถกถาอาวรณานีวรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาวรณานีวรณสูตรที่ ๗.

บทว่า ปญฺายทุพฺพลีกรณา ได้แก่ ทำให้อ่อนปัญญา. เพราะว่า เมื่อมีนิวรณธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเนืองๆ ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นในระหว่างๆ เป็น ปัญญาทราม อ่อน ไม่ฉลาด.

จบอรรถกถาอาวรณานีวรณสูตรที่ ๗