พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุปปัญญสูตร เหตุที่เรียกว่าคนโง่คนใบ้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ต.ค. 2564
หมายเลข  37829
อ่าน  401

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 268

๔. ทุปปัญญสูตร

เหตุที่เรียกว่าคนโง่คนใบ้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 268

๔. ทุปปัญญสูตร

เหตุที่เรียกว่าคนโง่คนใบ้

[๕๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ คนโง่ คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนโง่ คนใบ้.

[๕๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว.

จบทุปปัญญสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุปปัญญสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุปปัญญสูตรที่ ๔.

บทว่า เอฬมูโค ความว่า คนเมื่อไม่สามารถเพื่อจะเปล่งวาจาทางปากได้ เป็นคนใบ้พูดไม่ได้ เพราะโทษทั้งหลาย. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุปปัญญสูตรที่ ๔