พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อัมพปาลิสูตร ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37858
อ่าน  377

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 347

สติปัฏฐานสังยุต

อัมพปาลิวรรคที่ ๑

๑. อัมพปาลิสูตร

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 347

สติปัฏฐานสังยุต

อัมพปาลิวรรคที่ ๑

๑. อัมพปาลิสูตร

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

[๖๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้กรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

[๖๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง. หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน.

[๖๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 348

[๖๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฉะนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

จบอัมพปาลิสูตรที่ ๑

สติปัฏฐานสังยุตตวรรณนา

อรรถกถาอัพปาลิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัมพปาลิสูตรที่ ๑ แห่งสติปัฏฐานสังยุต.

บทว่า อมฺพปาลิวเน ได้แก่ ในสวนมะม่วง อันหญิงผู้เข้าไปอาศัยรูปเลี้ยงชีพ ชื่ออัมพปาลี ปลูกไว้. สวนมะม่วงนั้น จึงได้เป็นสวนของนางอัมพปาลี. นางอัมพปาลีนั้น ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส จึงสร้างวิหารไว้ ณ ที่นั้น มอบถวายแด่พระตถาคต. บทว่า อมฺพปาลิวเน นี้ ท่านกล่าวหมายถึง วิหารนั้น. บทว่า เอกายนฺวายํ ตัดบทเป็น เอกายโน อยํ แปลว่า นี้เป็นทางเดียว. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกายโน แปลว่า ทางเดียว.

ทาง มีชื่อมาก ว่า มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมะ อายนะ นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิสังกมะ ดังนี้. ในที่นี้ ท่านกล่าวถึง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 349

ทางนี้นั้น โดยชื่อ อยนะ. เพราะฉะนั้น ในบทว่า เอกายนฺวายํ ภิกฺขเว มคฺโค พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว ไม่เป็นทางสองแพร่ง. บทว่า มคฺโค ชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถอะไร. ด้วยอรรถเป็นเครื่องแสวงหานิพพาน และด้วยอรรถอันผู้มีความต้องการนิพพานพึงแสวงหา. บทว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ได้แก่ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ด้วยมลทินมีราคะเป็นต้นและด้วยอุปกิเลสมีอภิชฌาวิสมโลภะเป็นต้น. บทว่า โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ความว่า เพื่อก้าวล่วงคือเพื่อละความโศกและความพร่ำเพ้อ. บทว่า ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อความสิ้นไปคือเพื่อความดับแห่งทุกข์และโทมนัสทั้งสองเหล่านี้ คือ ทุกข์อันเป็นไปทางกาย และโทมนัสอันเป็นไปทางจิต. บทว่า ายสฺส อธิคมาย ความว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านเรียกว่า าย. ท่านอธิบายว่า เพื่อบรรลุ คือ เพื่อถึงอริยมรรคนั้น.

จริงอยู่ มรรคคือสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะ เป็นส่วนเบื้องต้นนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุถึงโลกุตรมรรคะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ายสฺส อธิคมาย ดังนี้. บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ท่านอธิบายว่า เพื่อทำให้แจ้ง คือ เพื่อให้ประจักษ์แก่ตน แห่งอมตธรรมอันได้ชื่อว่า นิพพาน เพราะเว้นจากเครื่องร้อยรัดคือตัณหา. จริงอยู่ มรรคนี้ยังสัจฉิกิริยาให้สำเร็จ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ดังนี้. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคุณของเอกายนมรรคด้วยบท ๗ บท. หากถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคุณของเอกายนมรรคนั้น. ตอบว่า เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายเกิดอุตสาหะ. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้นครั้นฟังการกล่าวถึงคุณแล้ว เกิดความอุตสาหะว่า นัยว่า มรรคนี้ ย่อมกำจัดอุปัทวะ ๔ คือ ความโศกอันเผาหัวใจ ๑

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 350

ปริเทวะอันเป็นความพร่ำเพ้อ ๑ ทุกข์อันเป็นความไม่สำราญทางกาย ๑ โทมนัสอันเป็นความไม่สำราญทางใจ ๑ ย่อมนำมาซึ่งคุณวิเศษ ๓ คือ ความบริสุทธิ์ ๑ อริยมรรค ๑ นิพพาน ๑ จักสำคัญเทศนานี้ ควรถือเอา ควรเรียน ควรทรงไว้ และมรรคนี้ ควรทำให้เกิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคุณเพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดอุตสาหะดุจพ่อค้าผ้ากัมพลเป็นต้น กล่าวถึงคุณของผ้ากัมพลเป็นต้น ฉะนั้น.

บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต. มีความเท่ากับ เย อิเม. บทว่า จตฺตาโร ได้แก่ กำหนดจำนวน. ด้วยการกำหนดจำนวนนั้น ท่านแสดงกำหนดสติปัฏฐานว่า ไม่ต่ำ ไม่สูงไปจากนี้. บทว่า สติปฏฺานา ได้แก่ สติเป็นที่ตั้ง ๓ คือ สติเป็นโคจรบ้าง ความที่ศาสดาล่วงปฏิฆะและตัณหา ในเมื่อสาวกทั้งหลายปฏิบัติสามอย่างบ้าง ตัวสติบ้าง. จริงอยู่ สติเป็นโคจร ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับของสติปัฏฐาน ๔ พวกเธอจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดของกาย เพราะอาหารเป็นเหตุเกิด กายจึงเกิดดังนี้. กายเป็นที่ตั้งอย่างนั้น ไม่ใช่สติ แม้ในบาลีมีอาทิว่า สติอุปฏฺานญฺเจว สติ จ ดังนี้. มีความว่า ชื่อว่า ปัฏฐานะ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้ง. ถามว่า อะไร ตั้ง. ตอบว่า สติ. ความตั้งแห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐานดุจที่ตั้งแห่งช้างและที่ตั้งแห่งม้าเป็นต้น. สติปัฏฐาน ๓ ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน เพราะความที่ศาสดาล่วงปฏิฆะและตัณหา ในเมื่อสาวกทั้งหลายปฏิบัติ ๓ ส่วน ในบทนี้ว่า พระอริยะย่อมเสพธรรมใด เมื่อเสพธรรมใด ศาสดาย่อมควรเพื่อสั่งสอนคณะ. มีความว่า ชื่อปัฏฐานะ เพราะควรให้ตั้งไว้. อธิบายว่า เพราะควรให้เป็นไป. ควรให้ตั้งไว้ด้วยอะไร. ด้วยสติ. การตั้งไว้ด้วยสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน. ก็สตินั้นแล ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานในบาลีอาทิว่า สติปัฏฐาน ๔ ที่บุคคล

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 351

เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์. มีความว่า ชื่อ ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ตั้งไว้ อธิบายว่า ย่อมเข้าไปตั้งไว้ คือ ยึดหน่วงเหนี่ยวไว้เป็นไป. สตินั่นแล ชื่อสติปัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องระลึกถึง ชื่อปัฏฐานะ เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งไว้ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะสติด้วย เป็นที่ตั้งด้วย. ท่านประสงค์สติปัฏฐานนี้ ในที่นี้. ผิอย่างนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงทำให้ เป็นพหูพจน์ว่า สติปัฏฐานา เพราะสติมีอยู่มาก. จริงอยู่ สติมีมาก โดยความต่างแห่งอารมณ์. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร บทว่า มคฺโค จึง เป็นเอกพจน์ เพราะมีอย่างเดียว โดยอรรถว่า มรรค. จริงอยู่ สติเหล่านั้นแม้มี ๔ อย่าง ก็ถึงความเป็นอันเดียวกัน โดยอรรถแห่งมรรค. ดังที่ท่านกล่าวว่า บทว่า มคฺโค ชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถอย่างไร ด้วยอรรถว่า แสวงหาพระนิพพาน และด้วยอรรถว่า อันผู้มีความต้องการพระนิพพานพึงแสวงหา. แม้สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ยังกิจให้สำเร็จในอารมณ์ทั้งหลายมีกายเป็นต้น ในเวลาต่อมา ย่อมบรรลุนิพพาน ผู้ต้องการนิพพานทั้งหลาย ย่อมแสวงหา จำเติมแต่ต้นด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานแม้ ๔ ท่านเรียกว่า ทางเอก. เทศนาพร้อมทั้งอนุสนธิ ย่อมมีโดยการสืบต่อถ้อยคำแห่งสติ ด้วยประการฉะนี้แล.

บทว่า กตเม จตฺตาโร คือ ถามประสงค์จะให้ตอบ. บทว่า กาเย คือ รูปกาย. บทว่า กายานุปสฺสี ความว่า ภิกษุผู้ปกติพิจารณาเห็นกาย หรือว่า พิจารณาเห็นกายอยู่. ก็ภิกษุนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น หาพิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยงไม่ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ หาพิจารณาเห็นโดยความเป็นสุขไม่ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความมิใช่ตน หา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 352

พิจารณาเห็นโดยความเป็นตนไม่ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมยินดีหามิได้ ย่อมคลายกำหนัด ย่อมกำหนัดหามิได้ ย่อมดับ ย่อมเกิดขึ้นหามิได้ ย่อมสละคืน ย่อมยึดถือหามิได้. พึงทราบว่า ภิกษุนั้น เมื่อพิจารณาเห็นกายนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาเสียได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา เมื่อพิจารณาเห็นโดยความมิใช่ตน ย่อมละอัตตสัญญา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดี เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะ เมื่อดับ ย่อมละเหตุเกิดทุกข์ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดมั่นเสียได้ดังนี้.

บทว่า วิหรติ คือเคลื่อนไหวอยู่. บทว่า อาตาปี ชื่อว่า อาตาปะ เพราะอรรถว่า ย่อมเผากิเลสทั้งหลายในภพสาม. บทนี้เป็นชื่อของความเพียร ชื่อว่า อาตาปี เพราะอรรถว่า มีความเพียร. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยญาณกล่าวคือสัมปชัญญะ. บทว่า สติมา ความว่า ผู้ประกอบด้วยสติกำหนดที่กาย. ก็เพราะภิกษุนี้ กำหนดอารมณ์ด้วยสติแล้ว จึงพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. แต่ธรรมดาว่า การพิจารณาเห็น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เว้นสติ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลเรากล่าวสติว่า จำปรารถนาในที่ทั้งปวง. ฉะนั้น กายานุปัสสนา สติปัฎฐาน ย่อมเป็นอันตรัสแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ในที่นี้ว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ เป็นอาทิ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะความสังเขปเกินไป ย่อมทำอันตรายแก่ภิกษุผู้ไม่มีความเพียร คือผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมลุ่มหลงในการกำหนดเอาสิ่งที่เป็นอุบาย และในการหลีกเว้นสิ่งที่มิใช่อุบาย ผู้ลืมสติย่อมไม่สามารถในการสละสิ่งที่มิใช่อุบาย และในการกำหนดเอาสิ่งที่เป็นอุบายได้. ด้วยเหตุนั้น กัมมัฎฐานนั้น จึงไม่ถึงพร้อมแก่ภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น กัมมัฏฐานนั้น ย่อมถึงพร้อมด้วยอานุภาพแห่งธรรมเหล่าใด พึงทราบว่า ข้อนี้ท่านกล่าวว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ดังนี้ เพื่อแสดงธรรมเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 353

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และองค์แห่งความเพียรแก่ภิกษุนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงองค์แห่งการละ. จึงตรัสว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเนยฺย ความว่า กำจัดแล้วด้วยการกำจัดชั่วคราว หรือด้วยการกำจัดในการข่มไว้. บทว่า โลเก คือในกายนั้นเท่านั้น. ก็กายท่านประสงค์เอาว่า โลก ด้วยอรรถว่าแตกสลายในที่นี้. ก็เพราะภิกษุนั้น มิใช่ละอภิชฌาและโทมนัสได้ในเพราะพิจารณาเพียงกายอย่างเดียว แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็เป็นโลก. อนึ่ง ข้อนั้น ท่านกล่าวโดยนัยขยายเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะความที่กายนั้นเนื่องอยู่ในโลก ก็ท่านกล่าวว่า ในข้อนั้น โลกเป็นไฉน โลกนั้น คือกาย. นี้เป็นความหมายในข้อนี้ ผู้ศึกษาพึงเห็นสัมพันธ์อย่างนี้ว่า ละอภิชฌาและโทมนัสในโลกนั้นเสียได้.

ในบทว่า เวทนาสุ นี้ มีเวทนาสาม. เวทนาเหล่านั้นเป็นโลกิยะทั้งนั้น แม้จิตก็เป็นโลกิยะ ธรรมทั้งหลายก็อย่างนั้น เหมือนบุคคลพึงพิจารณาเห็นเวทนาโดยประการใด ภิกษุนี้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยประการนั้น พึงทราบว่า เวทนานุปัสสี. ในจิตและธรรมทั้งหลายก็มีนัยนี้. ถามว่า เวทนา บุคคลพึงพิจารณาเห็นอย่างไร. ตอบว่า พึงพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ก่อน ทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร อทุกขมสุขโดยความไม่เที่ยง. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ภิกษุใดเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ ได้เห็นทุกข์ โดยความเป็นของเสียดแทง ความไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอยู่ ได้เห็นสิ่งนั้น โดยความไม่เที่ยง ภิกษุนั้นแล ชื่อว่า เห็นชอบ เป็นผู้สงบ จักเที่ยวไป.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 354

ควรพิจารณาเห็นเวทนาเหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นทุกข์บ้าง ดังที่ท่านกล่าวว่า เราเห็นว่า สิ่งที่เสวยแล้วทั้งหมดนั้นอยู่ในทุกข์ และควรพิจารณาเห็นโดยความเป็นสุขและทุกข์บ้าง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ สุขเวทนาแลเป็นสุขเพราะความตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน. ทั้งหมดควรให้พิสดาร. ก็และควรพิจารณา แม้ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. ควรพิจารณาตามซึ่งจิต แม้ในธรรมว่า ด้วยจิต ด้วยสามารถแห่งประเภทอันเป็นความต่างกัน มีอารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย ภูมิ กรรม วิบากและกิริยาจิตเป็นต้น และประเภทแห่งจิต มีราคะเป็นต้น อันเป็นอนุปัสสนา มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นก่อน.

ควรพิจารณาเห็นธรรม ด้วยสามารถแห่งสามัญญลักษณะ พร้อมด้วยลักษณะ แห่งสุญญตธรรม แห่งอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น และแห่งประเภทมีอาทิว่า กามฉันทะ มีอยู่ในภายใน ดังนี้. ที่เหลือมีนัยกล่าวไว้แล้ว. นี้เป็นความสังเขปในที่นี้. แต่พึงทราบความพิสดารโดยนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาสติปัฏฐานทีฆนิกายมัชฌิมปัณณาสก์.

จบอรรถกถาอัมพปาลิสูตรที่ ๑