พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สติสูตร ว่าด้วยสติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37859
อ่าน  774

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 354

๒. สติสูตร

ว่าด้วยสติ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 354

๒. สติสูตร

ว่าด้วยสติ

[๖๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้กรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 355

[๖๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล.

[๖๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ กระทำความรู้สึกตัวในการแล การเหลียว กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าและเหยียดออก กระทำการรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร กระทำการรู้สึกตัวในการกิน การดื่ม การลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.

จบสติสูตรที่ ๒

อรรถกถาสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสติสูตรที่ ๒.

บทว่า สโต ได้แก่ ถึงพร้อมแล้วด้วยสติตามเห็นกายเป็นต้น. บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ สัมปชัญญะ ๔. ในบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้ การเดินไป ท่านกล่าวว่า ก้าวไปข้างหน้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 356

การกลับท่านกล่าวว่า ถอยกลับ. แม้ทั้งสองอย่างนั้น ย่อมได้ในอิริยาบถ ๔. ในการเดินไป เมื่อนำกายไปข้างหน้าก่อน ชื่อว่า ย่อมก้าวไปข้างหน้า. เมื่อกลับ ชื่อว่า ย่อมถอยกลับ. แม้ในการยืน ผู้ยืนน้อมกายไปข้างหน้า ก็ชื่อว่า ย่อมก้าวไปข้างหน้า. เมื่อน้อมกายไปข้างหลัง ย่อมชื่อว่า ถอยกลับ. แม้ในการนั่ง ผู้นั่งหันอวัยวะอันมีในเบื้องหน้าของอาสนะ โน้มไปอยู่ ชื่อว่า ย่อมก้าวไปข้างหน้า. การยึดอวัยวะอันมีในเบื้องหลัง เอนไปในเบื้องหลัง ชื่อว่า ย่อมถอยกลับ. แม้ในการนอนก็มีนัยนี้แล.

บทว่า สมฺปชานการี โหติ ได้แก่ กระทำกิจทั้งหมดด้วยความรู้ตัว หรือทำความรู้ตัวเท่านั้น. จริงอยู่ เขาย่อมทำความรู้ตัว ในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น. ในที่ไหนๆ ไม่เว้นการรู้ตัว.

ในบทว่า สมฺปชานการี นั้น สัมปชัญญะ มี ๔ อย่าง คือ สาตถกสัมปชัญญะ ๑ สัปปายสัมปชัญญะ ๑ โคจรสัมปชัญญะ ๑ อสัมโมหสัมปชัญญะ ๑.

ในสัมปชัญญะ ๔ นั้น เมื่อจิตคิดจะก้าวไปข้างหน้า เกิดขึ้น การไม่ไปตามอำนาจจิต กำหนดถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ว่า การที่เราจะไปในที่นี้จะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์อย่างไรหนอ แล้วยึดถือแต่ประโยชน์ ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ. อนึ่ง ความเจริญโดยธรรม ด้วยสามารถ การเห็นพระเจดีย์ การเห็นที่ตรัสรู้ การเห็นพระสงฆ์ การเห็นพระเถระ และการเห็นอสุภะเป็นต้น ท่านกล่าวว่า ประโยชน์ในข้อนั้น. บุคคลแม้เห็นพระเจดีย์ ก็ให้เกิดปีติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ มีพระสงฆ์เป็นอารมณ์ ด้วยการเห็นพระสงฆ์ พิจารณาถึงสิ่งนั้นนั่นแล โดยความสิ้นไป ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ภิกษุสามหมื่นรูปยืนอยู่ที่ประตูด้านทักษิณ ในมหาวิหาร แลดูมหาเจดีย์ได้บรรลุพระอรหัต. ที่ประตูด้านปัจฉิม ด้านอุดร ด้านปราจีน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 357

ก็เหมือนกัน. ในบาลี ท่านอภยวาสีได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่ตั้งประรำเพื่อถามปัญหา. ท่านอนุราชวาสีได้บรรลุพระอรหัต ณ ประตูด้านทักษิณ แห่งนครใกล้ประตูถูปาราม.

ก็พระเถระผู้กล่าวมหาอริยวงศ์กล่าวว่า พวกท่านพูดอะไร ควรจะพูดว่า ในที่ที่ปรากฎ ตั้งแต่ส่วนล่างของที่บูชาโดยรอบมหาเจดีย์ เท้าทั้งสองสามารถจะให้ประดิษฐานเสมอกันได้ในที่ใดๆ ภิกษุทุกๆ สามหมื่นรูป ได้บรรลุพระอรหัตในการยกเท้าข้างหนึ่งขึ้น ในที่นั้นๆ.

แต่พระมหาเถระอีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายมากกว่าทรายที่กระจัดกระจายอยู่ ณ พื้นมหาเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัต. บุคคลเห็นพระเถระแล้วตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน เห็นอสุภะยังปฐมฌานให้เกิดในอสุภะนั้น พิจารณาอสุภะนั้นนั่นแล โดยความสิ้นไปย่อมบรรลุพระอรหัต. เพราะฉะนั้นการเห็นสิ่งเหล่านี้ จึงมีประโยชน์.

ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเจริญ แม้โดยอามิส ก็เป็นประโยชน์เหมือนกัน เพราะอาศัยอามิสนั้น ปฏิบัติเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์.

ก็ในการเดินนั้น การกำหนดสิ่งที่สบายและไม่สบายแล้วถือเอาสิ่งที่สบาย เป็นสัปปายสัมปชัญญะ เช่นการเห็นพระเจดีย์ มีประโยชน์ถึงเพียงนั้น. หากว่า ชุมชนประชุมกันในระหว่าง ๑๒๐ โยชน์ เพื่อมหาบูชาพระเจดีย์. สตรีบ้าง บุรุษบ้าง ตกแต่งประดับตามสมควรแก่สมบัติของตน พากันเที่ยวไปเหมือนรูปจิตรกรรม.

ก็ในเรื่องนั้น ความโลภในอารมณ์ที่น่าใคร่ ความแค้นในอารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ ความหลงด้วยการไม่สมหวัง ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติอันเป็นกายสังสัคคะ และเป็นอันตรายต่อชีวิตพรหมจรรย์. ฐานะนั้น ย่อมเป็นรานะอันไม่สบาย ด้วยประการฉะนี้. ฐานะเป็นที่สบายใน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 358

เพราะความไม่มีอันตรายมีประการดังกล่าวแล้ว. แม้การเห็นพระสงฆ์ ก็มีประโยชน์. ก็หากว่า เมื่อมนุษย์สร้างมหามณฑลภายในบ้านแล้วฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่ง การชุมนุมชนและอันตราย ย่อมมีโดยประการดังกล่าวแล้วนั่นแล. ที่นั้นเป็นที่ไม่สบายด้วยประการฉะนี้. เป็นที่สบายในเพราะความไม่มีอันตราย แม้ในการเห็นพระเถระซึ่งมีบริษัทมากเป็นบริวาร ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แม้การเห็นอสุภะก็มีประโยชน์. ก็เรื่องนี้ เพื่อแสดงประโยชน์ของการเห็นอสุภะนั้น.

มีเรื่องเล่าว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง พาสามเณรไปเพื่อต้องการไม้สีฟัน. สามเณรหลีกจากทางเดินไปข้างหน้า เห็นอสุภะ จึงยังปฐมฌานให้เกิด กระทำปฐมฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขาร กระทำให้แจ้งซึ่งผลสาม ได้ยืนกำหนดพระกัมมัฏฐานเพื่อต้องการมรรคเบื้องบน. ภิกษุหนุ่ม เมื่อไม่เห็นสามเณรนั้น จึงเรียกว่า สามเณร. สามเณรคิดว่า ตั้งแต่วันที่เราบวช ไม่เคยพูดกับภิกษุถึงสองคำเลย เราจักยังคุณวิเศษเบื้องบนให้เกิดในวันแม้อื่น จึงขานรับว่า อะไรขอรับ ท่านผู้เจริญ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า เธอจงกลับมา. สามเณรจึงกลับด้วยคำพูดคำเดียวแล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านจงไปตามทางนี้ก่อน ในขณะที่ผมยืนอยู่ จงมองหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสักครู่หนึ่ง. ภิกษุกระทำอย่างนั้น ได้บรรลุคุณวิเศษอันถึงแล้วด้วยอสุภะนั้น. อสุภะหนึ่งเกิดเพื่อประโยชน์ของชนทั้งสองด้วยประการฉะนี้. ก็อสุภะนี้แม้มีประโยชน์อย่างนี้. อสุภะของมาตุคามไม่เป็นที่สบายของบุรุษ. อสุภะของบุรุษมีส่วนเป็นที่สบายของมาตุคาม เพราะฉะนั้น การกำหนดสิ่งที่เป็นที่สบายอย่างนี้ ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ.

ก็การเรียนธรรมเป็นโคจรกล่าวคือกรรมฐานในความชอบใจของจิตของตนในกรรมฐาน ๓๘ แห่งสิ่งเป็นที่สบายอันมีประโยชน์ที่คนกำหนดแล้ว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 359

อย่างนี้ แล้วถือเอาโคจรนั้นในภิกขาจารโคจรไป ชื่อว่า โคจรสัมปชัญญะ. เพื่อให้เรื่องนั้นแจ่มแจ้ง พึงทราบภิกษุ ๔ ประเภทนี้. ภิกษุบางพวกในธรรมวินัยนี้ นำไป ไม่นำกลับ บางพวกนำกลับ ไม่นำไป แต่บางพวกทั้งไม่นำไป ทั้งไม่นำกลับ บางพวกทั้งนำไปทั้งนำกลับ.

ในภิกษุ ๔ จำพวกนั้น ภิกษุใดชำระจิตให้หมดจดจากธรรมเครื่องกังวล ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ตลอดปฐมยามแห่งราตรีก็อย่างนั้น สำเร็จการนอนในมัชฌิมยาม แม้ในปัจฉิมยามก็ให้ผ่านไปด้วยการนั่งและจงกรม ตอนเช้าตรู่ กวาดลานเจดีย์และลานโพธิ์ รดน้ำที่ต้นโพธิ์ ตั้งของดื่มของบริโภคปฏิบัติอาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรเป็นต้น. ภิกษุนั้นชำระร่างกายแล้ว เข้าไปสู่เสนาสนะนั่งขัดสมาธิ ๒ - ๓ ครั้ง ให้ถือเอาซึ่งไออุ่นประกอบกรรมฐาน ลุกขึ้นในเวลาภิกขาจาร ถือบาตรและจีวรโดยหัวข้อแห่งกรรมฐาน ออกจากเสนาสนะมนสิการกรรมฐาน ไปลานเจดีย์. หากพุทธานุสสติกรรมฐานมี ไม่สละกรรมฐานนั้น เช้าไปสู่ลานเจดีย์ หากกรรมฐานอื่นมี เว้นกรรมฐานนั้น ดุจยืนอยู่ที่เชิงบันได วางภัณฑะที่ถือไว้ ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขึ้นสู่ลานเจดีย์ หากเจดีย์ใหญ่พึงกระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง แล้วพึงไหว้ในที่ ๔ แห่ง หากเจดีย์เล็ก พึงกระทำประทักษิณอย่างนั้น แล้วไหว้ในที่ ๘ แห่ง. ครั้นไหว้เจดีย์แล้ว แม้ไปถึงลานโพธิ์ ควรแสดงความเคารพไหว้โพธิ์ ดุจอยู่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุนั้น ครั้นไหว้เจดีย์ และโพธิ์อย่างนี้แล้ว ยึดกรรมฐานที่เก็บไว้ ดุจคนไปยังที่ที่เก็บของไว้ ถือเอาภัณฑะที่วางไว้ ห่มจีวร โดยหัวข้อแห่งกรรมฐาน ในที่ใกล้บ้าน เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน.

ครั้งนั้น พวกมนุษย์เห็นภิกษุนั้น จึงพากันต้อนรับว่า พระคุณเจ้าของพวกเรามาแล้ว จึงรับบาตนิมนต์ให้นั่งบนอาสนศาลา (หอฉัน) หรือ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 360

บนเรือน ถวายข้าวยาคู ล้างเท้า ทาเท้า นั่งข้างหน้า จะถามปัญหา หรือประสงค์จะฟังธรรม ตลอดเวลาที่ภัตรยังไม่เสร็จ. พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า แม้หากว่า พวกมนุษย์ไม่ถาม ภิกษุก็ควรแสดงธรรมเพื่อสงเคราะห์ชน จริงอยู่ ธรรมกถาชื่อว่าจะพ้นจากกรรมฐาน ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นกล่าวธรรมโดยหัวข้อแห่งกรรมฐาน ฉันอาหารโดยหัวข้อแห่งกรรมฐาน กระทำอนุโมทนา แม้พวกมนุษย์พากันกลับ ก็ตามไปส่ง ครั้นออกจากบ้านแล้ว ให้พวกมนุษย์กลับในที่นั้น เดินไปสู่ทาง.

ครั้งนั้น สามเณรและภิกษุหนุ่ม ฉันเสร็จแล้ว ภายนอกบ้านออกไปก่อนเห็นภิกษุนั้น จึงพากันต้อนรับ รับบาตรและจีวรของท่าน.

นัยว่า พวกภิกษุเก่าๆ มองดูหน้าด้วยคิดว่า ภิกษุนี้ไม่ใช่อุปัชฌาย์ อาจารย์ของเราแล้ว กระทำการปรนนิบัติ กระทำโดยกำหนดประจวบเข้าเท่านั้น. พวกภิกษุถามภิกษุนั้นว่า ท่านขอรับ พวกมนุษย์เหล่านี้เป็นอะไรกับท่าน มีความสัมพันธ์กันทางฝ่ายมารดาหรือฝ่ายบิดา. ภิกษุนั้นถามว่า พวกท่านเห็นอะไร จึงพากันถาม. พวกภิกษุกล่าวว่า พวกมนุษย์เหล่านั้นเป็นอันมาก รักนับถือท่าน. ภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกมนุษย์เหล่านี้ กระทำกรรมที่แม้มารดาบิดาก็กระทำได้ยากแก่เรา แม้บาตรและจีวรของเราก็เป็นของพวกเขา เราไม่รู้ภัยในภัย ไม่รู้ความหิวในความหิว ด้วยอำนาจของพวกเขา พวกมนุษย์เช่นนี้ มิได้มีอุปการะแก่เราเลย. ภิกษุนั้น เมื่อกล่าวถึงคุณของพวกมนุษย์เหล่านั้นจึงไป นี้ท่านกล่าวว่า นำไป ไม่นำกลับ.

เมื่อภิกษุใด กระทำประการดังที่กล่าวแล้วในก่อน ไฟเกิดแต่กรรมลุกโพลง ปล่อยสังขารไม่มีใจครอง ถือเอาสังขารที่มีใจครอง เหงื่อไหลจากสรีระ. ไม่ขึ้นสู่ทางแห่งกรรมฐาน. ภิกษุนั้นถือบาตรจีวรแต่เช้าตรู่ รีบไปไหว้พระเจดีย์ ในเวลาออกไปหาอาหาร เข้าไปบ้านเพื่อหาข้าวยาคู ได้ข้าวยาคูแล้วไปอาสนศาลาแล้วดื่ม.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 361

ลำดับนั้น โดยเพียงกลืนเข้าไป ๒ - ๓ ครั้ง ไฟเกิดแต่กรรมของภิกษุนั้น ปล่อยสังขารมีใจครอง ถือเอาสังขารไม่มีใจครอง. ภิกษุนั้น ถึงการดับความเร่าร้อนแห่งธาตุไฟ ดุจอาบน้ำด้วยหม้อน้ำร้อยหม้อ ฉันข้าวยาคูโดยยึดหลักกรรมฐาน ล้างบาตรและปาก มนสิการกรรมฐานในระหว่างภัตร เที่ยวไปบิณฑบาตในที่ที่เหลือ ฉันอาหารโดยยึดหลักกรรมฐาน ตั้งแต่นั้นจึงถือเอากรรมฐานปรากฏเหมือนลูกศรแล่นไปไม่ขาดสาย แล้วมา. นี้ท่านกล่าวว่า นำมา ไม่นำไป. อนึ่ง ภิกษุเช่นนี้ ดื่มข้าวยาคูแล้วปรารภวิปัสสนา ชื่อว่า บรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนา เหลือที่จะนับได้ ภิกษุทั้งหลายดื่มข้าวยาคูแล้วไม่บรรลุพระอรหัต ไม่มีในอาสนะใด อาสนะนั้นไม่มีในอาสนศาลาในหมู่บ้านนั้นๆ ในเกาะสีหล.

ก็ภิกษุใดอยู่ด้วยความประมาท ทอดธุระ ทำลายวัตรทั้งหมด มีจิตผูกไว้ด้วยเครื่องมัดจิต ๕ อย่างอยู่ ไม่ทำสัญญาว่า ชื่อว่า กรรมฐานมีอยู่ดังนี้ เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เกี่ยวเกาะด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ทั้งเที่ยวด้วยกัน กินด้วยกัน เป็นผู้ออกไปว่างเปล่า นี้ท่านกล่าวว่าไม่นำไป ไม่นำกลับ.

ก็ภิกษุใด ท่านกล่าวว่า ผู้นี้ทั้งนำออก ทั้งนำกลับนั้น พึงทราบด้วยอำนาจวัตรอันเป็นไปแล้ว ด้วยการไปและการกลับ.

จริงอยู่ กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ บวชในศาสนาอยู่ร่วมกัน ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง กระทำข้อตกลงกันอยู่ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านบวชเพราะเป็นหนี้ ก็หามิได้ เพราะกลัวก็หามิได้ เพราะเลี้ยงชีพก็หามิได้ ใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงบวชในธรรมวินัยนี้. เพราะฉะนั้น ในการเดินไป จงข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในขณะเดิน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 362

ในการยืน ในการนั่ง ในการนอน จงข่มกิเลสที่เกิดขึ้น ในการยืน ฯลฯ ในการนอน.

ภิกษุเหล่านั้น กระทำข้อตกลงกันอย่างนี้แล้ว จึงไปหาอาหาร ในระหว่างกึ่งอุสภะ อุสภะหนึ่ง กึ่งคาวุต คาวุตหนึ่ง มีแผ่นหินอยู่ มนสิการกรรมฐานด้วยสัญญานั้นไป หากกิเลสเกิดขึ้นในการไปของใครๆ ย่อมข่มกิเลสนั้น ในที่นั้น เมื่อไม่สามารถยืนอยู่อย่างนั้น ถัดมา แม้มาหลังภิกษุนั้น ก็ยืนอยู่. ภิกษุนี้นั้น รู้วิตกอันเกิดแก่ท่าน เตือนตนว่า นี้ไม่สมควรแก่ท่าน แล้วเจริญวิปัสสนา ก้าวลงสู่อริยภูมิ ณ ที่นั้นเทียว. ข้อว่า เมื่อไม่สามารถนั่งอยู่อย่างนั้น มีนัยนี้เหมือนกัน แม้เมื่อไม่สามารถก้าวลงสู่อริยภูมิได้ ก็ข่มกิเลสนั้น มนสิการกรรมฐานไป. ภิกษุมีจิตปราศจากกรรมฐาน ย่อมยกเท้าขึ้นไม่ได้ หากยกขึ้นได้กลับไปกลับมาแล้วก็มาสู่ประเทศเดิม เหมือนท่าน มหาปุสสเทวเถระผู้อยู่ในอาลินทกะ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระเถระนั้น บำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและการกลับอยู่ตลอด ๑๙ ปี. แม้พวกมนุษย์ก็ได้เห็นพระเถระนั้นในระหว่างทางนั่นเอง พวกเขาทั้งสงัดอยู่ ทั้งเหยียบย่ำอยู่ กระทำการงาน เห็นพระเถระไปมาอยู่อย่างนั้น จึงสนทนากันว่า พระเถระนี้ กลับไปมาบ่อยๆ ท่านหลงไปมากหรือหนอ หรือว่า ลืมอะไรๆ ไว้. พระเถระไม่สนใจเรื่องนั้น กระทำสมณธรรมด้วยจิตประกอบด้วยกรรมฐาน บรรลุพระอรหัตในภายใน ๒๐ ปี ก็ในวันที่ท่านบรรลุพระอรหัต เหล่าเทพซึ่งสิงอยู่ท้ายจงกรมของท่านได้ยังประทีปให้รุ่งเรืองด้วยองคุลียืนอยู่. ท้าวมหาราชแม้ทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหม ก็พากันไปอุปัฏฐาก. ท่านมหาติสสเถระผู้อยู่ในป่าเห็นแสงสว่างนั้น จึงถามพระเถระในวันที่สองว่า ในตอนกลางคืน ได้มีแสงสว่างในสำนักของท่าน แสงสว่างนั้นเป็นอะไร. พระเถระเมื่อจะทำให้สับสน จึง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 363

กล่าวคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดาแสงสว่าง มีแสงสว่างแห่งประทีปบ้าง แสงสว่างแห่งแก้วมณีบ้างดังนี้. แต่นั้น พระมหาติสสเถระถูกพระเถระกำชับว่า ขอท่านจงปกปิดไว้ รับแล้ว บอกว่า ขอรับ. เหมือนพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาลวัลลีมณฑป.

มีเรื่องเล่าว่า แม้พระเถระนั้น ก็บำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและการกลับ ได้อธิษฐานการจงกรมด้วยการยืนตลอด ๗ ปีว่า เราจักบูชาความเพียรใหญ่ครั้งแรกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน. พระเถระบำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและการกลับตลอด ๑๖ ปี ต่อไปได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. พระเถระมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานยกเท้าขึ้น เมื่อจิตปราศจากกรรมฐานไม่ยกขึ้น จะกลับไปอีก ได้ไปใกล้บ้าน ยืนอยู่ในประเทศที่น่าสงสัยว่า เป็นแม่โค หรือบรรพชิตหนอดังนี้ จึงห่มจีวร ล้างบาตรด้วยน้ำจากแอ่งน้ำ แล้วอมน้ำเต็มปาก. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อมนุษย์มาเพื่อให้ภิกษาแก่เราหรือเพื่อไหว้เรา ความฟุ้งซ่านของกรรมฐาน อย่ามีด้วยเหตุคำพูดว่า ขอท่านทั้งหลายจงมีอายุยืนดังนี้. พระเถระเมื่อถูกถามถึงวันว่า ท่านขอรับ วันนี้ วันที่ท่าไร หรือจำนวนภิกษุ หรือปัญหา กลืนน้ำก่อนแล้วจึงบอก. หากไม่มีผู้ถามถึงวันเป็นต้น ในเวลาออกไป ไม่ลุกไปที่ประตูบ้าน. เหมือนภิกษุ ๕๐ รูป เข้าจำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร.

มีเรื่องเล่าว่า ภิกษุเหล่านั้น ในวันเพ็ญเตือน ๘ ได้ทำข้อตกลงกันว่า เรายังไม่บรรลุอรหัต จักไม่พูดกัน เมื่อเข้าไปบ้าน เพื่อบิณฑบาต อมน้ำฟายมือหนึ่งแล้วจึงเข้าไป เมื่อถูกเขาถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พวกมนุษย์ในบ้านนั้นเห็นรอยเท้าหายไปรู้ว่า วันนี้มารูปเดียว วันนี้มา ๒ รูป. ก็พวกมนุษย์พากันคิดอย่างนั้นว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่สนทนากับเราเท่านั้นหรือ หรือแม้กะกันและกันด้วย ผิว่าไม่สนทนากะกัน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 364

และกัน จักเกิดทะเลาะกันเป็นแน่ พวกท่านจงมา เราจักให้ภิกษุเหล่านั้นขอขมากันและกัน. ทั้งหมดพากันไปวิหาร บรรดาภิกษุ ๔๐ รูป ไม่ได้เห็นแม้สองรูปอยู่ในโอกาสเดียวกัน. แต่นั้นบรรดามนุษย์เหล่านั้น ชายที่มีตาดีกล่าวว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โอกาสของผู้ทำการทะเลาะกันไม่เป็นเช่นนี้ ท่านกวาดลานเจดีย์ ลานโพธิ์สะอาด เก็บไม้กวาดไว้เป็นระเบียบ ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้เรียบร้อย. จากนั้นพวกมนุษย์ก็พากันกลับ. แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็บรรลุพระอรหัต ภายใน ๓ เดือนนั่นเอง ในวันมหาปวารณาต่างปวารณาวิสุทธิปวารณา.

ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานดุจพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ในกาลวัลลีมณฑป และดุจภิกษุเข้าจำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร ยกเท้าขึ้น ถึงที่ใกล้บ้าน อมน้ำเต็มปาก กำหนดถนน เดินไปสู่ถนนที่ไม่มีคนทะเลาะกัน มีนักเลงสุรา และนักเลงการพนันเป็นต้น หรือช้างดุ ม้าดุ เป็นต้น. เที่ยวไปบิณฑบาตในที่นั้น ไม่รีบไปเหมือนรีบด่วน เพราะว่า ธรรมดาธุดงค์อันเป็นไปเพื่อบิณฑบาตเร่งรีบอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่มี. เป็นผู้ไม่หวั่นไหวไป ดุจเกวียนบรรทุกน้ำที่ถึงพื้นที่ไม่เรียบฉะนั้น. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่เรือนตามลำดับ รอเวลาอันสมควรนั้น เพื่อสังเกตผู้ประสงค์จะให้ หรือประสงค์จะไม่ให้ รับภิกษาแล้ว มาสู่วิหาร ในภายในบ้านหรือในภายนอกบ้าน นั่งในโอกาสอันสมควรตามสบาย มนสิการกรรมฐาน ตั้งปฏิกูลสัญญาในอาหาร พิจารณาโดยอุปมาเหมือนน้ำมันหยอดเพลา ยาทาแผล และเนื้อบุตร ให้นำมาซึ่งอาหารประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง ฯลฯ ฉันน้ำแล้ว ระงับความกระวนกระวายเพราะอาหารสักครู่ แล้วมนสิการกรรมฐานตลอดยามต้น และยามหลัง ภายหลังอาหาร เหมือนก่อนอาหาร ฉะนั้น. นี้ท่านกล่าวว่า ทั้งนำไป ทั้งนำกลับ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 365

ก็ภิกษุบำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและการกลับกล่าวคือ การนำไปและการนำกลับนี้ ผิว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ย่อมบรรลุพระอรหัตในปฐมวัยนั่นเอง หากยังไม่บรรลุในปฐมวัย ย่อมบรรลุในมัชฌิมวัยต่อไป หากไม่บรรลุในมัชฌิมวัย ย่อมบรรลุในมรณสมัยต่อไป หากไม่บรรลุในมรณสมัย เป็นเทพบุตร ย่อมบรรลุต่อไป หากเป็นเทพบุตรยังไม่บรรลุ เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ เกิดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิ หากยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิได้ ต่อไปก็จะเป็นผู้ตรัสรู้เร็ว เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนพระพาหิยทารุจิริยะ. หรือเป็นผู้มีปัญญามากเหมือนพระสารีบุตรเถระ หรือเป็นผู้มีฤทธิ์มากเหมือนพระโมคคัลลานเถระ. หรือเป็นผู้กล่าวกำจัดกิเลสเหมือนพระมหากัสสปเถระ. หรือเป็นผู้มีจักษุทิพย์เหมือนพระอนุรุทธเถระ. หรือเป็นผู้ทรงวินัยเหมือนพระอุบาลีเถระ. หรือเป็นธรรมกถึกเหมือนพระปุณณมันตานีบุตรเถระ. หรือเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเหมือนพระเรวตเถระ. หรือเป็นผู้พหูสูตเหมือนพระอานนทเถระ. หรือเป็นผู้ใคร่การศึกษาเหมือนพระราหุลเถระพุทธโอรส. โคจรสัมปชัญญะ ของภิกษุชื่อว่า ทั้งนำไป ทั้งนำกลับใน ๔ หมวดนี้ เป็นอันสำเร็จการศึกษาแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ก็การไม่หลงลืม ในอิริยาบถมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ. อสัมโมหสัมปชัญญะนั้นพึงทราบดังต่อไปนี้.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยกลับ เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราไม่หลงอยู่ก้าวไปข้างหน้า วาโยธาตุ อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน กับด้วยจิตนั้น ให้เกิดความไหวเกิดขึ้น โครงกระดูกอันสมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไปข้างหน้า ด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิต ด้วยประการฉะนี้ เหมือนพวกคนเขลาย่อมหลงไปว่า ในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ตนก้าวไป

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 366

การก้าวไปอันตนทำให้เกิด หรือเราก้าวไป การก้าวไป อันเราทำให้เกิดฉะนั้น. เมื่อภิกษุนั้นก้าวไปข้างหน้าอย่างนี้ ในขณะยกเท้าขึ้นข้างหนึ่งๆ ธาตุทั้งสอง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ มีเล็กน้อย ธาตุทั้งสองนอกนี้ มีประมาณยิ่ง มีกำลัง. ในการนำเท้าไปยิ่งและการนำเท้าไปล่วงวิเศษ ก็อย่างนั้น. ในการลดเท้าลง เตโชธาตุ วาโยธาตุมีเล็กน้อย ธาตุทั้งสองนอกนี้มีประมาณยิ่ง มีกำลัง. ในการวางเท้าและการกดเท้าก็อย่างนั้น.

รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันเป็นไปแล้วในการยกขึ้นนั้น ย่อมไม่ถึงการนำเท้าไปยิ่ง รูปธรรม อรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในการนำเท้าไปยิ่งก็อย่างนั้น ย่อมไม่ถึงการนำเท้าไปล่วงวิเศษ รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในการนำเท้าไปล่วงวิเศษ ย่อมไม่ถึงการลดเท้า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในการลดเท้าย่อมไม่ถึงการวาง รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในการวางย่อมไม่ถึงการกดเท้า. รูปธรรมและอรูปธรรมเป็นข้อๆ ข้อต่อๆ และส่วนๆ ในที่นั้นๆ มีเสียงดัง ตฏะ ตฏะ แตกทำลายไปเหมือนงาที่เขาใส่ลงไปในกระเบื้องร้อน ในข้อนั้น ใครคนหนึ่งก้าวไปข้างหน้า หรือการก้าวไปข้างหน้าของใครคนหนึ่งมีหรือ.

จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ ธาตุนั่นแหละยืน ธาตุนั่นแหละนั่ง ธาตุนั่นแหละนอน. ด้วยว่า

จิตอื่นเกิดขึ้น จิตอื่นดับพร้อมกับรูปในส่วนนั้นๆ ย่อมเป็นไปดุจกระแสน้ำ ติดตามคลื่นไหลไปด้วยประการฉะนี้.

การไม่หลงในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นอย่างนี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ. จบความแห่งบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ เพียงเท่านี้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 367

ก็ในบทว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ การเพ่งไปข้างหน้าชื่อว่า โอโลกิตะ (การแล) การเพ่งไปตามทิศ ชื่อว่า วิโลกิตะ (การเหลียว) แม้การเพ่งอย่างอื่น ชื่อว่า มองลง มองขึ้น เหลียวมอง ด้วยการเพ่งตามข้างล่าง ข้างบน ข้างหลัง. ในที่นี้ไม่ถือเอาการเพ่งอย่างอื่นนั้น. แต่โดยความเหมาะสม ถือเอาการเพ่งสองอย่างเหล่านี้. หรือท่านถือเอาการเพ่งแม้ทั้งหมดเหล่านั้นด้วยมุขนี้. ในสัมปชัญญะเหล่านั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักแลดู การไม่แลดูด้วยอำนาจจิตเท่านั้น แล้วกำหนดเอาประโยชน์ ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ. สาตถกสัมปชัญญะนี้ พึงทำท่านนันทะให้เป็นกายสักขีแล้วทราบเถิด. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากนันทะแลดูทิศเบื้องหน้า นันทะประมวลสิ่งทั้งหมดด้วยจิตแล้วแลดูทิศเบื้องหน้าว่า เมื่อเราแลดูทิศเบื้องหน้าอย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌา และโทมนัส จักไม่ครอบงำเรา ดังนี้ ชื่อว่า เป็นผู้มีสัมปชัญญะในสิ่งนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากนันทะจะพึงเป็นผู้แลดูทิศเบื้องหลัง ทิศเหนือ ทิศใต้ ตามทิศเบื้องบน เบื้องล่าง. นันทะประมวลสิ่งทั้งปวงด้วยจิต แลดูตามลำดับทิศว่า เมื่อเราแลดูตามลำดับทิศอย่างนี้ ฯลฯ ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ดังนี้.

ก็แล แม้ในที่นี้ พึงทราบความมีประโยชน์และความสบายด้วยการเห็นเจดีย์ดังที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล.

ก็การไม่ละกรรมฐานชื่อว่า โคจรสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญกรรมฐานมีขันธ์ธาตุอายตนะเป็นอารมณ์ก็ดี ผู้บำเพ็ญกรรมฐานมีกสิณเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็ดี ด้วยอำนาจกรรมฐานของตนพึงทำการแลดู การเหลียวดูด้วยหัวข้อกรรมฐานทีเดียว. ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีการแลหรือการเหลียว ก็เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักแลดู ดังนี้ วาโยธาตุ มีจิตเป็นสมุฏฐานกับจิตนั้นแล เกิดความไหว ย่อมเกิดขึ้น กลีบตาล่างจมเบื้องล่าง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 368

กลีบตาบนหนีไปในเบื้องบนด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิต ไม่มีใครๆ ชื่อว่า เปิดได้โดยสะดวก. จากนั้นจักขุวิญญาณ ให้สำเร็จกิจคือความเห็นได้เกิดขึ้น ก็ความรู้อย่างนี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ในที่นี้. ก็แลพึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถความเป็นมูลปริญญา อาคันตุกะ และตาวกาลิก. พึงทราบด้วยสามารถมูลปริญญา (ความรู้พื้นฐาน) ก่อน.

ภวังคะ อาวัชชนะ ทัสสนะ สัมปฏิจฉนะ สันติรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ เป็นที่ ๗.

ในดวงจิตเหล่านั้น ภวังคะ ยังกิจอันเป็นองค์แห่งอุบัติภพให้สำเร็จเป็นไป. กิริยามโนธาตุ คำนึงถึงภวังคะนั้น ยังอาวัชชนะกิจให้สำเร็จ. เพราะอาวัชชนกิจนั้นดับ จักขุวิญญาณยังทัสสนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะดับทัสสนกิจนั้น วิปากมโนธาตุ ยังสัมปฏิจฉนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะดับสัมปฏิจฉนกิจนั้น วิปากมโนวิญญาณธาตุ ยังสันติรณกิจให้สำเร็จ. เพราะดับสันติรณกิจนั้น กิริยามโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพนกิจให้สำเร็จ. เพราะดับโวฏฐัพพนกิจนั้น ชวนะแล่นไป ๗ ครั้ง. ในชวนะเหล่านั้น แม้ในปฐมชวนะก็ไม่มีการแลและการเหลียวด้วยอำนาจความกำหนัด ความโกรธ และความหลงว่า นี้หญิง นี้ชาย ดังนี้. แม้ในทุติยชวนะ แม้ในสัตตมชวนะก็ไม่มี. เมื่อชวนะเหล่านั้นถูกทำลายตกไป ด้วยอำนาจกิเลสอันมีในเบื้องล่าง เบื้องบน ดุจทหารถูกทำลายพ่ายไปในสนามรบ การแลและการเหลียว ย่อมมีด้วยสามารถความกำหนัดเป็นต้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ดังนี้. พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถมูลปริญญาในที่นี้ก่อนด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 369

ก็เมื่อรูปในจักขุทวารไปสู่คลอง เมื่ออาวัชชนะเป็นต้นเกิดแล้วดับไป ด้วยสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จเบื้องบนจากภวังคจลนะในที่สุด ชวนะย่อมเกิดขึ้น. ชวนะนั้นย่อมเป็นเหมือนอาคันตุกบุรุษในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน. เมื่ออาคันตุกบุรุษนั้นเข้าไปในเรือนของคนอื่นเพื่อขออะไรๆ แม้เมื่อเจ้าของบ้านนั่งนิ่งก็ไม่ควรบังคับ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนะเป็นต้นในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนะเป็นต้น ไม่กำหนัด ไม่โกรธ และไม่หลง ก็ไม่ควรกำหนัด โกรธ และหลงฉันนั้น. พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นอาคันตุกะ (ผู้จรมา) อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็จิตเหล่านี้ใด อันมีโวฏฐัพพนะเป็นที่สุด เกิดขึ้นในจักขุทวาร จิตเหล่านั้น ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้นๆ นั่นเอง พร้อมกับสัมปยุตตธรรม ย่อมไม่เห็นกันและกัน จิตนอกนี้ย่อมเป็นไปชั่วคราว. ในข้อนั้น อุปมาเหมือนในเรือนหลังหนึ่ง เมื่อคนตายกันหมด คนหนึ่งที่เหลือไม่ควรยินดีในการฟ้อนการขับเป็นต้นของผู้มีมรณธรรมในขณะนั้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนะเป็นต้นสัมปยุตในทวารหนึ่ง ตายไปในที่นั้นๆ แม้ชวนะแห่งมรณธรรมในขณะนั้น ที่เหลือก็ไม่ควรยินดีด้วยสามารถ ความกำหนัด ความโกรธ และความหลง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นตาวกาลิก (เป็นไปชั่วคราว) อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถการพิจารณาขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจัย. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ จักษุและรูปเป็นรูปขันธ์ เวทนาสัมปยุตด้วยรูปขันธ์นั้น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาสัมปยุตด้วยเวทนานั้น เป็นสัญญาขันธ์ สังขารมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแลและการเหลียวย่อมปรากฏในการพร้อมเพรียงแห่งขันธ์ทั้งหลาย ๕ เหล่านี้ ด้วย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 370

ประการฉะนี้. ในข้อนั้น ใครหนึ่งย่อมแล ใครคนหนึ่งย่อมเหลียวมีหรือ. อนึ่งจักษุเป็นจักขวายตนะ รูปเป็นรูปายตนะ. การเห็นเป็นมนายตนะ. สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น เป็นธัมมายตนะ. การแล และการเหลียว ย่อมปรากฏในความพร้อมเพรียงแห่งอายตนะ ๔ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนั้น ใครคนหนึ่งย่อมแล ใครย่อมเหลียวหรือ อนึ่ง จักษุเป็นจักขุธาตุ รูปเป็นรูปธาตุ ความเห็นเป็นจักขุวิญญาณธาตุ ธรรมมีเวทนาเป็นต้น สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นธรรมธาตุ. การแล และการเหลียว ย่อมปรากฏในความพร้อมเพรียงของธาตุ ๔ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนั้น ใครคนหนึ่งย่อมแล ใครย่อมเหลียวหรือ. อนึ่ง จักษุเป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย อาวัชชนะเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อันตรูปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อาโลกะ (แสงสว่าง) เป็นอุปนิสสยปัจจัย เวทนาเป็นต้น เป็นสหชาตาทิปัจจัย. การแล และการเหลียว ย่อมปรากฏในความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนั้น ใครคนหนึ่งย่อมแล ใครย่อมเหลียว พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ แม้ด้วยสามารถการพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย ในข้อนี้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปริสาริเต ได้แก่ ในการงอและเหยียดของข้อทั้งหลาย. ในบทนั้น มีอธิบายว่า การไม่ทำการงอและเหยียดด้วยอำนาจจิต แล้วกำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เพราะปัจจัยคือการงอ และการเหยียดมือและเท้า แล้วกำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ. ในบทนั้น เมื่อผู้ที่งอหรือเหยียดมือและเท้านานเกินไป เวทนาย่อมเกิดขึ้นได้. จิตย่อมไม่ได้อารมณ์เดียว กรรมฐานย่อมตกไป ย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษ ดังนี้. ก็เมื่องอในเวลาและเหยียดในเวลาอันควร เวทนาเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 371

ย่อมไม่เกิด. จิตย่อมเป็นอารมณ์เดียว กรรมฐานย่อมถึงการทรงไว้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ พึงทราบ การกำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็แม้เมื่อมีประโยชน์ การกำหนดสิ่งอันเป็นสัปปายะและอสัปปายะ แล้วกำหนดเอาสิ่งอันเป็นสัปปายะ ชื่อ สัปปายสัมปชัญญะ ในข้อนั้น มีนัยดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ที่ลานมหาเจดีย์ พวกภิกษุหนุ่มท่องมนต์อยู่. พวกภิกษุณีสาวฟังธรรมอยู่ข้างหลังภิกษุหนุ่มเหล่านั้น. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเหยียดมือไปต้องกายสังสัคคะ. จึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยเหตุนั่นเอง. ภิกษุอีกรูปหนึ่งเมื่อเหยียดเท้า ได้เหยียดไปที่ไฟ ไฟไหม้จดถึงกระดูก. อีกรูปหนึ่งเหยียดไปที่ไม้ปักกรด ถูกอสรพิษขบ. อีกรูปหนึ่งเหยียดไปที่ไม้ปักกรด งูปี่แก้วขบภิกษุนั้น. เพราะฉะนั้น ไม่ควรเหยียดไปในที่เป็นอสัปปายะเห็นปานนี้ ควรเหยียดไปในที่เป็นสัปปายะ. นี้ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ ในที่นี้.

ก็พึงแสดงโคจรสัมปชัญญะด้วยเรื่องพระมหาเถระ. ได้ยินว่า พระมหาเถระนั่งในที่พักกลางวัน เมื่อพูดกับอันเตวาสิกทั้งหลาย งอมือทันทีแล้ววางไว้ในที่เดิมอีก ค่อยๆ งอ. พวกอันเตวาสิกถามท่านว่า ท่านขอรับ เพราะเหตุไร ท่านจึงงอมือทันที แล้ววางไว้ในที่เดิม แล้วค่อยๆ งอเล่า. พระมหาเถระกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เพราะเราเริ่มมนสิการกรรมฐาน เราไม่เคยปล่อยกรรมฐานแล้วงอมือเลย ก็บัดนี้ เราพูดกับพวกท่าน จึงปล่อยกรรมฐานงอมือ ฉะนั้น เราจึงวางไว้ในที่เดิมอีก แล้วงอมือ. พวกอันเตวาสิกกล่าวว่า ท่านขอรับ ดีแล้ว ธรรมดาภิกษุควรเป็นเห็นปานนั้น. การไม่ละกรรมฐานแม้ในบทนี้ พึงทราบว่า เป็นโคจรสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 372

ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีใครงอหรือเหยียด. ก็การงอและเหยียดย่อมมีได้ด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิตดังกล่าวแล้ว ดุจการชักมือและเท้าของช่างหูกด้วยสามารถการชักด้าย เพราะฉะนั้น การกำหนดรู้ พึงทราบว่าเป็น อสัมโมหสัมปชัญญะ ในที่นี้.

ในบทว่า สํฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ มีอธิบายว่า การใช้สอย ชื่อว่า ทรงไว้ ด้วยสามารถการนุ่งและการห่มสังฆาฏิและจีวร ด้วยสามารถการรับภิกษาเป็นต้น แห่งบาตร. ในการทรงสังฆาฏิและจีวรนั้น ประโยชน์มีประการดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ผู้ได้อามิส นุ่งห่มก่อนแล้วจึงเทียวไปเพื่อบิณฑบาต เพื่อกำจัดความหนาว. ดังนี้ชื่อว่า ประโยชน์ พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถประโยชน์นั้น. ก็จีวรเนื้อละเอียด เป็นที่สบายของผู้มีความร้อนเป็นปกติ และผู้ทุพลภาพ จีวรเนื้อหนาสองชั้นเป็นที่สบายของผู้มีความหนาวเป็นปกติ ผิดไปจากนั้น ไม่เป็นที่สบายเลย จีวรชำรุดไม่เป็นที่สบายแก่ใครๆ เลย. ด้วยว่า จีวรชำรุดนั้น ทำความกังวลให้แก่เขาด้วยการให้ผ้าปะเป็นต้น. จีวรที่ควรได้มีประเภทเป็นผ้าขนแกะสองชั้นเป็นต้นก็อย่างนั้น. ด้วยว่าจีวรเช่นนั้นย่อมเป็นการทำอันตรายแก่การนุ่งและทำอันตรายแก่ชีวิตของภิกษุรูปหนึ่งในป่าได้. ก็โดยไม่อ้อมค้อมจีวรได้เกิดด้วยอำนาจมิจฉาชีพ มีนิมิตตกรรมเป็นต้น (เป็นหมอดู) และอกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้เสพ กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรนั้นไม่เป็นที่สบาย ผิดไปจากนั้นเป็นที่สบาย. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะในข้อนี้ด้วยสามารถสัปปายะนั้น และโคจรสัมปชัญญะด้วย สามารถการไม่ละกรรมฐาน. ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีใครๆ ห่มจีวร. แต่การห่มจีวรย่อมมีได้ด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิตดังที่กล่าวแล้ว ในการห่มจีวรนั้น แม้จีวรก็ไม่มีเจตนา แม้กายก็ไม่มีเจตนา จีวรย่อมไม่รู้ว่า เราห่มกาย แม้กายก็ไม่รู้ว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 373

เราห่มจีวร ธาตุเท่านั้นปกปิดหมู่ธาตุ ดุจในการปกปิดผ้าป่านด้วยผ้าขี้ริ้ว เพราะฉะนั้น ได้จีวรดี ก็ไม่ควรดีใจ ได้จีวรไม่ดี ก็ไม่ควรเสียใจ. จริงอยู่ คนบางพวก กระทำสักการะด้วยดอกไม้ของหอม ธูปและผ้าเป็นต้น ในไม้ กะทิง จอมปลวก เจดีย์และต้นไม้เป็นต้น บางพวกกระทำอสักการะด้วย คูถ มูตร เปือกตม และเครื่องประหารคือ ท่อนไม้และศัสตราเป็นต้น จอมปลวกและต้นไม้เป็นต้น ไม่ทำความดีใจด้วยเหตุนั้น อย่างนั้นแหละได้จีวรดีแล้ว ก็ไม่ควรดีใจ ได้จีวรไม่ดีก็ไม่ควรเสียใจ. พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ในที่นี้ ด้วยสามารถการพิจารณาอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

แม้ในการทรงบาตร ก็พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถประโยชน์ที่พึงได้ เพราะการถือบาตรเป็นปัจจัยอย่างนี้ว่า เราจักไม่ถือบาตรทันที ถือบาตรนี้แล้ว เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต จักได้ภิกษา. ก็บาตรหนัก ไม่เป็นที่สบายแก่ร่างกายอันผอมและทุพลภาพ. บาตรที่ล้างไม่ดีจะกระทบตุ่มสี่ห้าตุ่ม ไม่เป็นที่สบายแก่ใครๆ บาตรที่ล้างไม่ดี ไม่ควร ความกังวลย่อมมีแก่ผู้ล้างบาตรนั้น. แต่บาตรสีแก้วมณี ที่ควรได้ไม่เป็นที่สบาย โดยนัยที่กล่าวแล้วในจีวรนั้นแล. ก็บาตรใดที่ได้แล้วด้วยสามารถนิมิตตกรรมเป็นต้น อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้เสพนั้น กุศลธรรมย่อมเสื่อม บาตรนี้ไม่เป็นที่สบายโดยส่วนเดียว ผิดไปจากนี้เป็นที่สบาย. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะในข้อนี้ด้วยอำนาจสัปปายะนั้น และโคจรสัมปชัญญะด้วยอำนาจ การไม่ละกรรมฐาน. ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีใครถือบาตร. ชื่อว่า การถือบาตรย่อมมีด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นกิริยาของจิตดังกล่าวแล้ว. ในการถือบาตรนั้น แม้บาตรก็ไม่มีเจตนา แม้มือก็ไม่มีเจตนา บาตรย่อมไม่รู้ว่า เราถูกมือจับ แม้มือก็ไม่รู้ว่า เราจับบาตร ธาตุเท่านั้น ถือเอาหมู่ธาตุ ดุจ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 374

ในการถือบาตร อันมีสีดุจไฟ ด้วยคีม. พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ในที่นี้ด้วยสามารถการพิจารณาอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเอ็นดูเห็นมนุษย์อนาถาที่อนาถศาลามีมือและเท้าด้วน มีหนองเลือดและเหล่าหนอนไหลออกจากปากแผล มีแมลงหัวเขียวตอม นำผ้าพันแผลและยาด้วยกระเบื้องเป็นต้นให้แก่พวกเขา. ในข้อนั้น ผ้า เนื้อละเอียดถึงแก่บางคน เนื้อหยาบถึงแก่บางคน ก็กระเบื้องใส่ยา มีสัณฐานดี ถึงแก่บางคน มีสัณฐานไม่ดี ถึงแก่บางคน พวกมนุษย์อนาถาเหล่านั้น ไม่ดีใจหรือไม่เสียใจในข้อนั้นเลย. ด้วยว่าความต้องการของพวกเขา ด้วยผ้าเพียงพันแผลเท่านั้น และด้วยกระเบื้องเพียงใส่ยาเท่านั้น ฉันใด ภิกษุสำคัญจีวรดุจผ้าพันแผล บาตรดุจกระเบื้องใส่ยา ภิกษาที่ได้ในบาตรดุจยาในกระเบื้อง ฉันนั้น พึงทราบว่า ภิกษุนี้เป็นผู้กระทำสัมปชัญญะอันสูงสุด ด้วย อสัมโมหสัมปชัญญะ ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร.

พึงทราบในบทว่า อสิต เป็นต้น บทว่า อสิเต ได้แก่ ในการฉันอาหาร. บทว่า ปิเต ได้แก่ ในการดื่มมีข้าวยาคูเป็นต้น. บทว่า ขายิเต ได้แก่ ในการเคี้ยวมีแป้งและของเคี้ยวเป็นต้น. บทว่า สายิเต ได้แก่ ในการลิ้มมีน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น. ในบทเหล่านั้น ประโยชน์แม้ ๘ อย่าง ท่านกล่าวไว้โดยเป็นต้นว่า เนว ทวาย ดังนี้ ชื่อว่า ประโยชน์. พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะด้วยสามารถประโยชน์นั้น. ความไม่สำราญมีแก่ผู้ใด ด้วยโภชนะอันใด ในบรรดาโภชนะที่เศร้าหมองประณีต ขมและหวานเป็นต้น โภชนะอันนั้นไม่เป็นที่สบายแก่ผู้นั้น. แต่โภชนะอันใดอันได้มาด้วยนิมิตตกรรมเป็นต้นและอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมแก่เขาผู้บริโภคโภชนะชนิดใด โภชนะนั้นไม่เป็นที่สบายโดยส่วนเดียว

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 375

ผิดไปจากนั้นเป็นที่สบาย พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะในที่นี้ด้วยสามารถสัปปายะนั้น และโคจรสัมปชัญญะด้วยสามารถการไม่ละกรรมฐานนั้นแล.

ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีใครเป็นผู้บริโภค. ก็ธรรมดาการรับบาตรย่อมมีด้วยสามารถการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิตมีประการดังกล่าวแล้ว ธรรมดาการหยั่งมือลงในบาตรย่อมมีด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นกิริยาของจิต. การปั้นก้อนข้าว การยกก้อนข้าว และการอ้าปากย่อมมีด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิต. ใครๆ ย่อมไม่เปิดประตูกว้างด้วยกุญแจ ไม่ง้างด้วยเครื่องยนต์ได้. การวางคำข้าวไว้ในปาก ฟันข้างบนทำหน้าที่เป็นสาก ฟันข้างล่างทำหน้าที่เป็นครก และลิ้นทำหน้าที่เป็นมือ ย่อมมีได้ด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นกิริยาของจิต. น้ำลายน้อยย่อมเปื้อนโภชนะนั้นที่ปลายลิ้นนั้น น้ำลายมากย่อมเปื้อนที่โคนลิ้น.

โภชนะนั้นกลิ้งกลอกไปมาด้วยมือคือลิ้น ในครกคือฟัน คือฟันเบื้องล่าง ชุ่มด้วยน้ำคือน้ำลาย บดด้วยสากคือฟันเบื้องบน ไม่มีใครๆ เอากระจ่าหรือทัพพีสอดเข้าไปในภายในได้ ย่อมเข้าไปด้วยวาโยธาตุเทียว เข้าไปแล้วๆ ก็ไม่มีใครปูฟางรองรับไว้ได้ ตั้งอยู่ด้วยวาโยธาตุเทียว ตั้งอยู่แล้วๆ ก็ไม่มีใครตั้งเตาหุงต้มได้ หุงต้มด้วยธาตุไฟเทียว หุงต้มแล้วๆ ก็ไม่มีใครนำออกข้างนอกได้ ด้วยกระบองหรือไม้เท้าได้ ออกด้วยวาโยธาตุเทียว.

ด้วยประการฉะนี้ วาโยธาตุ ย่อมนำไปยิ่ง นำไปล่วงวิเศษทรงไว้ เปลี่ยนแปลง บดแห้ง และนำออก ปฐวีธาตุ ทรงไว้ เปลี่ยนแปลง บดและแห้ง. อาโปธาตุ ย่อมชุ่มฉ่ำ รักษาความสด. เตโชธาตุเผาสิ่งที่เข้าไปในภายใน อากาศธาตุ เป็นทางไป วิญญาณธาตุ อาศัยการประกอบชอบ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 376

ในธาตุนั้น ย่อมผูกใจไว้ พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ในที่นี้ด้วยสามารถการพิจารณาอันเป็นไปแล้ว อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในที่นี้ เพราะการพิจารณาความเป็นของปฏิกูล ๑๐ อย่างนี้คือ เพราะการไป เพราะการแสวงหา เพราะการบริโภค เพราะที่อาศัย เพราะการฝัง เพราะไม่ย่อย เพราะย่อยแล้ว เพราะผล เพราะความไหลออก เพราะความเปื้อน.

บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ได้แก่ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. เหงื่อย่อมไหลจากทั่วตัวของผู้ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะเมื่อถึงเวลา ตาทั้งสองย่อมหมุน จิตไม่แน่วแน่ โรคอื่นย่อมเกิด แต่ทั้งหมดนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ถ่าย นี้เป็นอธิบาย ในบทนี้. พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งความนั้น. ก็เมื่อภิกษุถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่เป็นที่ย่อมเป็นอาบัติ เสื่อมยศ แม้อันตรายถึงชีวิตย่อมมี เมื่อถ่ายในที่สมควรทั้งหมดนั้นย่อมไม่มี นี้เป็นที่สบายในข้อนี้ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งสัปปายะนั้น และโคจรสัมปชัญญะด้วยสามารถการไม่ละกรรมฐานนั้นแล. ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. ก็การถ่ายอุจจาระปัสสาวะย่อมมีด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นกิริยาของจิตเท่านั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อฝีหัวแก่ เพราะหัวฝีแตกหนองและเลือดย่อมไหลออกโดยไม่ต้องการ ฉันใด และเหมือนอย่างว่า น้ำไหลออกจากภาชนะน้ำเต็มเปี่ยม โดยไม่ต้องการ ฉันใด อุจจาระปัสสาวะที่สั่งสมไว้ในกะเพาะอาหารและกะเพาะปัสสาวะถูกแรงลมบีบคั้นย่อมไหลทั้งๆ ที่ไม่ปรารถนา.

ส่วนอุจจาระปัสสาวะนี้นั้น เมื่อออกไปอย่างนี้ มิได้เป็นของตน มิได้เป็นของชนเหล่าอื่น ของภิกษุนั้น เป็นแต่เพียงการไหลออกจากสรีระอย่างเดียว. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนเมื่อคนทิ้งน้ำเก่าจาก

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 377

หม้อน้ำ น้ำนั้นมิได้เป็นของตน มิได้เป็นของชนเหล่าอื่น เป็นแต่เพียงสำหรับใช้สอยอย่างเดียวเท่านั้น อสัมโมหสัมปชัญญะ ในข้อนี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งการพิจารณาอันเป็นไปแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบอธิบายในบทว่า คต ศัพท์เป็นต้น บทว่า คเต คือ ในการเดิน. บทว่า ิเต คือในการยืน. บทว่า นิสินฺเน คือในการนั่ง. บทว่า สุตฺเต คือในการนอน. บทว่า ชาคริเต คือในการตื่น. บทว่า ภาสิเต คือในการพูด. บทว่า ตุณฺหีภาเว คือในการไม่พูด.

ก็ในอิริยาบถนี้ ภิกษุรูปใด เดินหรือจงกรมนานแล้ว ในกาลต่อมายืนพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรม อันเป็นไปแล้วในเวลาจงกรม ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการเดิน.

ภิกษุรูปใด เมื่อทำการสาธยาย ตอบปัญหา หรือมนสิการถึงกัมมัฏฐานยืนนานแล้ว ในกาลต่อมานั่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรม อันเป็นไปแล้ว ในเวลายืน ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่า ทำความรู้สึกตัวในการยืน.

ภิกษุรูปใด นั่งนานด้วยสามารถแห่งการทำสาธยายเป็นต้น ในกาลต่อมา นั่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรม อันเป็นไปแล้วในเวลานั่ง ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่า ทำความรู้สึกตัวในการนั่ง.

ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อนอนทำการสาธยาย หรือมนสิการถึงกัมมัฏฐานหลับไป ในกาลต่อมา ลุกขึ้นพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในเวลานอน ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการหลับและการตื่น. ด้วยว่า ความไม่เป็นไปแห่งจิตที่สำเร็จด้วยกิริยา ชื่อว่า หลับ ที่เป็นไปชื่อว่า ตื่น ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 378

ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อพูด ย่อมพูดมีสติสัมปชัญญะว่า ชื่อว่า เสียงนี้ย่อมเกิดเพราะอาศัยริมฝีปาก เพราะอาศัยฟัน ลิ้นและเพดาน และเพราะอาศัยความประกอบแห่งจิต อันสมควรแก่เสียงนั้น ก็หรือทำการสาธยายหรือกล่าวธรรม ให้เปลี่ยนกัมมัฏฐาน หรือตอบปัญหาตลอดกาลนานแล้ว ในกาลต่อมา ก็นิ่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเกิดขึ้นแล้วในเวลาพูด ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่า ทำความรู้สึกตัวในการพูด.

ภิกษุรูปใดนิ่ง ทำในใจถึงธรรม หรือกัมมัฏฐานแล้วตลอดกาลนาน ในกาลย่อมา ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนั้นว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในเวลานิ่ง ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. เมื่อความเป็นไปแห่งอุปาทารูปมีอยู่ ชื่อว่า พูด. เมื่อไม่มีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้นิ่ง ดังนี้. นี้ชื่อว่า ทำความรู้สึกตัวในความนิ่งด้วยประการฉะนี้. ในข้อนี้เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว พึงทราบด้วยสามารถแห่งอสัมโมหสัมปชัญญะนั้นแล. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัมปชัญญะคลุกเคล้าด้วยสติปัฏฐานว่า เป็นบุพภาค ดังนี้.

จบอรรถกถาสติสูตรที่ ๒.