พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ภิกขุสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37860
อ่าน  329

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 379

๓. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 379

๓. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓

[๖๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๖๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน และเมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่าเป็นผู้ควรติดตามไปเท่านั้น

ภิกษุนั้นทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๖๘๗] พ. ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน. เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร. คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และควานเห็นตรง. เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 380

จักตรง. เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน.

[๖๘๘] ดูก่อนภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่.. จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในภายนอกอยู่... จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่ ๑ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑.

[๖๘๙] ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ โดยส่วน ๓ อย่างนั้น. เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.

[๖๙๐] ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เธอเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 381

ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบภิกขุสูตรที่ ๓

อรรถกถาภิกขุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุสูตรที่ ๓.

บทว่า เอวเมว ปนิเธกจฺเจ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนั้น ให้บอกกัมมัฏฐานแล้ว ย่อมเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ไม่ตามประกอบกายวิเวก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงข่มภิกษุนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเธอย่อมขอเทศนาโดยสังเขป. บทว่า ทิฏฺิ ได้แก่ ความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓