พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. โกสลสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37861
อ่าน  340

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 382

๔. โกสลสูตร

ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 382

๔. โกสลสูตร

ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๖๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พราหมณคาม ชื่อโกศล ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๔. สติปัฎฐาน ๔ เป็นไฉน.

[๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... เพื่อรู้เวทนาตามความเป็นจริง. จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง.

[๖๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้กาย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... เพื่อกำหนดรู้เวทนา. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... เพื่อกำหนดรู้จิต. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 383

มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้ธรรม.

[๖๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากกายแล้ว. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... พรากจากเวทนาแล้ว. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... พรากจากจิตแล้ว. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว.

[๖๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๘ เหล่านี้.

จบโกสลสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 384

อรถกถาโกสลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโกสลสูตรที่ ๔.

บทว่า ธมฺมวินโย ความว่า บททั้ง ๒ ว่า ธรรมหรือวินัยนั้น เป็นชื่อของสัตถุศาสน์เท่านั้น. บทว่า สมาทเปตพฺพา ได้แก่ อันเธอทั้งหลายพึงให้ถือเอา. บทว่า เอโกทิภูตา ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิตสงบด้วยขณิกสมาธิ. บทว่า สมาหิตา เอกคฺคจิตฺตา ความว่า มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ และมีจิตมีอารมณ์เดียว ด้วยสามารถอุปจาระและอัปปนา. ในสูตรนี้ สติปัฏฐาน อันภิกษุใหม่ทั้งหลายและพระขีณาสพทั้งหลายเจริญแล้ว เป็นบุพภาค. พระเสขะ ๗ จำพวกเจริญแล้ว เป็นมิสสกะคลุกเคล้ากัน.

จบอรรถกถาโกสลสูตรที่ ๔