พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยเสทกสูตร ว่าด้วยกายคตาสติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37877
อ่าน  347

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 456

๑๐. ทุติยเสทกสูตร

ว่าด้วยกายคตาสติ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 456

๑๐. ทุติยเสทกสูตร

ว่าด้วยกายคตาสติ

[๗๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะ ชื่อ เสทกะ ในสุมภชนบท. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

[๗๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบทๆ พึงประชุมกัน. ก็นางงามในชนบทนั้น แสดงได้ดีในการฟ้อนรำ แสดงได้ดียิ่งในการขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า นาง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 457

งามในชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ. ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย ปรารถนาความสุข เกลียดทุกข์ พึงมากล่าวกะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยมนี้ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท. และจักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไปข้างหลังๆ บอกว่า ท่านจักทำน้ำมันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมันโน้น แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๗๖๕] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่าภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของกายคตาสติ.

[๗๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นของอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบทุติยเสทกสูตรที่ ๑๐

จบนาฬันทวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 458

อรรถกถาทุติยเสทกสูตร

ในสูตรที่ ๑๐. คำว่า นางงามในชนบท หมายถึงนางที่งามที่สุดในชนบท ซึ่งเว้นจากโทษประจำตัว ๖ อย่าง แล้วประกอบด้วยความงาม ๕ อย่าง. ก็เพราะนางนั้นไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก ผิวพรรณแม้จะไม่ถึงทิพย์ แต่ก็เกินผิวพรรณมนุษย์ด้วยกัน ฉะนั้น จึงจัดว่าปราศจากโทษประจำตัว ๖ อย่าง. และเพราะประกอบด้วยความงามเหล่านี้ คือ ผิวงาม เนื้องาม เล็บงาม (๑) (นหารุกลฺยาณํ) กระดูกงาม วัยงาม จึงชื่อว่าประกอบด้วยความงาม ๕ อย่าง. นางไม่ต้องใช้แสงสว่างจรมาเลย ด้วยแสงสว่างประจำตัวของตนนั่นแหละ ก็ทำให้สว่างในที่มีระยะ ๑๒ ศอก เป็นผิวที่เหมือนกับดอกประยงค์ หรือเหมือนกับทองคำ นี้เป็นความงามแห่งผิวของนาง. ส่วนมือเท้าทั้ง ๔ และริมฝีปากของนางนั้นเล่า ก็คล้ายกับทาด้วยชาด เหมือนแก้วประพาฬแดงหรือผ้ากัมพลแดง นี้คือความงามแห่งเนื้อของนาง. ส่วนกลีบเล็บทั้ง ๒๐ นั้นเล่า ในที่ที่ไม่พ้นจากเนื้อ ก็คล้ายกับเอาชาดมาทาไว้ ที่พ้นจากเนื้อแล้ว ก็เหมือนกับธารน้ำนม นี้คือความงามแห่งเล็บ (๑) ของนาง. ที่ฟัน ๓๒ ซี่ ซึ่งงอกขึ้นมานั่นเล่า ก็ปรากฏคล้ายเอาเพชรที่เจียระไนแล้วมาเรียงเป็นแถวไว้ นี้คือความงามแห่งกระดูกของนาง. และต่อให้มีอายุถึง ๑๒๐ ปี ก็ยังสาวพริ้งเหมือนอายุแค่ ๑๖ ปี ผมไม่มีหงอกเลย นี้คือความงามแห่งวัยของนาง. สำหรับในคำว่า มีกระแสเสียงไพเราะอย่างยิ่ง นี้หมายความว่า กระแสเสียงไหลเอื่อยไป กระแสเสียงนั้นไพเราะอย่างยิ่ง ที่ชื่อว่า มีกระแส


(๑) คำว่า นหารุกลฺยาณํ นี้ อรรถกถาอธิบายเรื่องเล็บ ไม่ได้อธิบายเรื่องเอ็นเลย จึงแปลว่าเล็บงาม ไม่ใช่เอ็นงามตามศัพท์ อรรถกถาอุทาน นันทวรรค นันทสูตรที่ ๒ หน้า ๒๑๒ แก้ว่า ฉวิกลฺยาณํ มํสกลฺยาณํ นขกลฺยาณํ (เล็บงาม) อฏฺิกลฺยาณํ วยกลฺยาณํ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 459

เสียงไพเราะอย่างยิ่ง ก็เพราะนางมีกระแสเสียงที่ไพเราะอย่างยิ่งนั้น. มีคำที่ท่านขยายความว่า นางมีความประพฤติสูงสุด มีกิริยาประเสริฐ ในการรำและการร้อง ย่อมรำท่ารำที่สูงที่สุด หรือถ้าจะร้อง ก็ร้องแต่เพลงชั้นสูงที่สุดเท่านั้น. คำที่เหลือในทุกบท มีใจความตื้นทั้งนั้น. ก็และวิปัสสนาแรกเริ่ม เป็นอันตรัสไว้แล้วในสูตรทั้งสองนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุติยเสกทกสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถานาฬันทวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปุริสสูตร ๒. นาฬันทสูตร ๓. จุนทสูตร ๔. เจลสูตร ๕. พาหิยสูตร ๖. อุตติยสูตร ๗. อริยสูตร ๘. พรหมสูตร ๙. ปฐมเสทกสูตร ๑๐. ทุติยเสทกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.