พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สีลสูตร ว่าด้วยกุศลศีล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37878
อ่าน  419

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 460

สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓

๑. สีลสูตร

ว่าด้วยกุศลศีล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 460

สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓

๑. สีลสูตร

ว่าด้วยกุศลศีล

[๗๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้เมืองปาฏลีบุตร. ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้พูดกะท่านพระอานนท์ว่า

[๗๖๘] ดูก่อนท่านอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะๆ. ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร.

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๗๖๙] อา. ดูก่อนท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 461

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบสีลสูตรที่ ๑

สีลัฏฐิติวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาสีลสูตร

ในสีลสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ คำว่า ศีลทั้งหลาย ได้แก่ ปาริสุทธศีล ๔ ข้อ. คำว่า อุมฺมงฺโค ได้แก่ เสาะหาปัญหา คือ แสวงหาปัญหา.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๑