พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สติสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37892
อ่าน  354

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 479

๕. สติสูตร

ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 479

๕. สติสูตร (๑)

ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ

[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย. ก็อย่างไรเล่าภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา


(๑) สูตรที่ ๕ ถึง ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 480

และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.

[๘๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้. วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้ว ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้. ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ อย่างนี้แล. ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

จบสติสูตรที่ ๕