พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ฉันทสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐาน ชื่อว่าทําให้แจ้งอมตะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37894
อ่าน  351

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 481

๗. ฉันทสูตร

ผู้เจริญสติปัฏฐาน ชื่อว่าทําให้แจ้งอมตะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 481

๗. ฉันทสูตร

ผู้เจริญสติปัฏฐาน ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ

[๘๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมละความพอใจในกายนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๐๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมละความพอใจในเวทนานั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๐๘] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมละความพอใจในจิตนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 482

[๘๐๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมละความพอใจในธรรมนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

จบฉันทสูตรที่ ๗