พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. วิภังคสูตร ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37898
อ่าน  327

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 483

๑๐. วิภังคสูตร

ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 483

๑๐. วิภังคสูตร

ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน

[๘๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐานและปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็สติปัฏฐานเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 484

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน.

[๘๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนา... พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิต... พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐาน.

[๘๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธินี้แลเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน.

จบวิภังคสูตรที่ ๑๐

จบอนนุสสุตวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. วิราคสูตร ๓. วิรัทธสูตร ๔. ภาวนาสูตร ๕. สติสูตร ๖. อัญญสูตร ๗. ฉันทสูตร ๘. ปริญญาสูตร ๙. ภาวนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร