พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สมุทยสูตร ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37900
อ่าน  385

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 485

๒. สมุทยสูตร

ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 485

๒. สมุทยสูตร

ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔

[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 486

อย่างไร ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่งมนสิการ.

จบสมุทยสูตรที่ ๒

อมตวรรควรรณนา

อรรถกถาสมุทยสูตร

อมตวรรคที่ ๕ สมุทยสูตรที่ ๒. คำว่า ความเกิดแห่งกาย เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร หมายความว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งกายย่อมมีได้ เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งอาหาร. ในคำที่เหลือ ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ. ส่วนในคำว่า เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งมนสิการ (ความใส่ใจ) หมายความว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมอันเป็นส่วนประกอบแห่งความตรัสรู้ ย่อมมีได้เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการเอาใจใส่อย่างมีเหตุผล และธรรมคือนิวรณ์ (เครื่องกีดกั้น) จะเกิดมีได้ก็เพราะการไม่เอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเกิดขึ้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสการตั้งสติไว้อย่างมั่นคงในอารมณ์ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสมุทยสูตรที่ ๒