พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตที่ ๖ ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37909
อ่าน  350

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 497

คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตที่ ๖

ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 497

คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตที่ ๖

ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๘๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๘๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ

[๘๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้ สังโยชน์ ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล.

[๘๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 498

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล (สติปัฏฐานสังยุต พึงให้พิสดารเหมือนมรรคสังยุต).

๖ สูตรว่าด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรว่าด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร ทั้งสองอย่างๆ ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค.

จบสติปัฏฐานสังยุต

พึงทราบใจความตามนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง ในฉฬวรรค.

อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุต ในอรรถกถาสังยุตตนิกาย ชื่อ สารัตถปกาสินีจบแล้ว. (ต่อภาคที่ ๒)