พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นีวรณปหานวรรคที่ ๒ ว่าด้วยเหตุเกิดและไม่เกิดนิวรณ์ ๕

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 46

นีวรณปหานวรรคที่ ๒

ว่าด้วยเหตุเกิดนิวรณ์ ๕

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุ เป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้น แห่งกามฉันทะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังสุภนิมิต (นิมิตงาน คืออารมณ์ชวนกำหนัด) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ บุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย ซึ่งสุภนิมิต เข้ากามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นด้วย กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุ เป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้น แห่งพยาบาทที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังปฏิฆนิมิต (นิมิตกระทบใจ คืออารมณ์ชวนขัดเคือง) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคายซึ่งปฏิฆนิมิต พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะ ที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุ เป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้น แห่งถีนมิทธะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังความไม่ยินดี (ในอธิกุศล) ความคร้าน ความบิดกาย (ด้วยความเกียจคร้าน) ความเมาอาหาร และความหดหู่แห่งจิตนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 47

บุคคลมีจิตหดหู่แล้ว ถีนมิทธะยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุ เป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังเจตโสอวูปสมะ (ความไม่เข้าไปสงบแห่งจิต ด้วยสมถะและวิปัสสนา) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตไม่เข้าไปสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุ เป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้น แห่งวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังอโยนิโสมนสิการ (ความทำในใจโดยไม่แยบคาย คือคิดไม่ถูกทาง) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.

ว่าด้วยเหตุไม่ให้นิวรณ์ ๕ เกิดขึ้น

[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย ไปแห่งกามฉันทะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังอสุภนิมิต (นิมิตไม่งาม คือ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 48

อสุภ ๑๐) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย ซึ่งอสุภนิมิต กามฉันทะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมหายไปด้วย.

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย ไปแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังเมตตาเจโตวิมุตตินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติอยู่ พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้น แล้วย่อมเสื่อมหายไปด้วย.

[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหายไปแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังอารัมภธาตุ (ธาตุ คือความเพียรริเริ่ม) นิกกมธาตุ (ธาตุ คือความเพียรพยายาม) ปรักกมธาตุ (ธาตุ คือความเพียรบากบั่น) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความเพียรอันเริ่มแล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมหายไปด้วย.

[๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้น แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหายไป แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังเจตโสวูปสมะ (ความเข้าไปสงบแห่งจิต ด้วยสมถะและวิปัสสนา) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตเข้าไปสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 49

ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมหายไปด้วย.

[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหายไปแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังความทำในใจโดยแยบคายนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคายอยู่ วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมหาย ไปด้วย.

จบ นีวรณปหานวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 50

อรรถกถามีวรณปหานวรรคที่ ๒ (๑)

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า เอกธมฺมํปิ นี้ พึงทราบธรรมด้วยอรรถว่า มิใช่สัตว์ เหมือนในคำมีอาทิว่า ก็ในสมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลายย่อมมี. เพราะฉะนั้น ในบทว่า เอกธมฺมํปิ นี้ มีใจความดังนี้ว่า แม้สภาวะอันหนึ่ง มิใช่สัตว์. ก็ วา ศัพท์ ในบทว่า อนุปฺปนฺโน วา นี้ มีสมุจจัยเป็นอรรถ ไม่ใช่มีวิกัปเป็นอรรถ เหมือน วา ศัพท์ในประโยคอย่างนี้ว่า ภูตานํ สตฺตานํ ิติยา สมฺภเวสีนํ วา อนุคฺคหาย ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้วด้วย เพื่ออนุเคราะห์พวกสัตว์สัมภเวสีด้วย. ภิกษุทั้งหลาย เหล่าสัตว์ไม่มีเท้า และสัตว์ ๒ เท้า มีประมาณเพียงใด ดังนี้. ก็ในข้อนี้มีใจความดังนี้ว่า กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไพบูลย์ เจริญเต็มที่ด้วยธรรมใด เรามองไม่เห็นธรรมนั้นอย่างอื่น เหมือนศุภนิมิตเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุปฺปนฺโน ความว่าไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่ปรากฏ ไม่เป็นไป. บทว่า กามฉนฺโท ได้แก่ กามฉันทนิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความอยากในกาม อันใด


(๑) วรรคที่ ๒ นี้ บาลีมิได้แบ่งออกเป็นสูตรๆ แต่อรรถกถาแบ่งไว้ ๑๐ สูตร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 51

บทว่า อุปฺปชฺชติ ได้แก่ บังเกิด ปรากฏ. ก็กามฉันทะนี้นั้น พึงทราบว่า ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความฟุ้งขึ้น หรือด้วยอารมณ์ที่ยังไม่ได้เสวย. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยประการอื่น กามฉันทะ ชื่อว่าไม่เกิดขึ้นในสงสาร อันไม่ปรากฏเบื้องต้นและเบื้องปลาย ย่อมไม่มี. ในข้อนั้น กิเลสย่อมไม่ฟุ้งขึ้น แก่ภิกษุบางรูป ด้วยอำนาจวัตร ย่อมไม่ฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุบางรูป ด้วยอำนาจคันถะ, ธุดงค์, สมาธิ, วิปัสสนา, และงานนวกรรมที่เธอทำแล้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง จริงอยู่ ภิกษุบางรูป เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร เมื่อภิกษุนั้นกระทำ ขุททกวัตร ข้อวัตรเล็ก ๘๒ มหาวัตร ข้อวัตรใหญ่ ๑๔ เจติยังคณวัตร โพธิยังคณวัตร ปานียมาฬกวัตร อุโปสถาคารวัตร อาคันตุกวัตร และคมิกวัตร กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ครั้นต่อมา เมื่อเธอสละวัตร มีวัตรแตกแล้วเที่ยวไป อาศัยการใส่ใจโดยไม่แยบคาย และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น กิเลสยังไม่เกิดขึ้นเพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น. บางรูปเป็นผู้ประกอบด้วยคันถะ เรียน ๑ นิกายบ้าง ๒ นิกายบ้าง ๓ นิกายบ้าง ๔ นิกายบ้าง ๕ นิกายบ้าง เมื่อเธอเรียน ท่องบ่น บอก แสดง ประกาศพุทธพจน์ คือปิฎก ๓ ด้วยอำนาจอรรถ ด้วยอำนาจบาลี ด้วยอำนาจอนุสนธิ ด้วยอำนาจอักษรเบื้องต้น เบื้องปลาย กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส. ต่อมาเมื่อละการเล่าเรียน เกียจคร้าน เที่ยวไปอยู่ อาศัยอโยนิโสมนสิการ สละการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 52

แต่บางรูปเป็นผู้ทรงธุดงค์ สมาทานธุดงคคุณ ๑๓ ประพฤติอยู่ ก็เมื่อเธอปริหาร คือรักษาธุดงคคุณอยู่ กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ต่อมาเมื่อเธอสละธุดงค์เวียนมา เพื่อความมักมากประพฤติอยู่ อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้นเพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น. บางรูปมีความชำนาญที่สั่งสมไว้ในสมาบัติ ๘. เมื่อเธอประกอบเนืองๆ ในปฐมฌานเป็นต้นอยู่ ด้วยอำนาจวสีมีอาวัชชวสี ชำนาญเข้าสมาบัติ เป็นต้น กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส แต่ต่อมาเมื่อเธอเสื่อมฌาน หรือสลัดฌานเสียแล้ว ประกอบเนืองๆ ในกิจมีชอบคุย เป็นต้น อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดเพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

อนึ่ง บางรูป เป็นผู้เจริญวิปัสสนากระทำกิจในอนุปัสสนา ๗ และมหาวิปัสสนา ๑๘ อยู่. เมื่อเธอเป็นอยู่อย่างนี้ กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส แต่ต่อมาเมื่อเธอละกิจในวิปัสสนา มุ่งไปในการทำร่างกายให้แข็งแรง อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ตั้งขึ้น ก็ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

บางรูปเป็นผู้ประกอบงานนวกรรม ให้สร้างโรงอุโบสถ และโรงฉัน เป็นต้น เมื่อเธอกำลังคิดถึงเครื่องอุปกรณ์ของโรงอุโบสถ เป็นต้นเหล่านั้นอยู่ กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส ครั้นต่อมา เมื่องานนวกรรมของเธอเสร็จแล้ว หรือทอดทิ้งเสีย อาศัยอโยนิโสมนสิการ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 53

และการปล่อยสติ กิเลสก็เกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

อนึ่งบางรูป มาแต่พรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์, เพราะตน ไม่มีการส้องเสพมาก่อน กิเลสจึงไม่ได้โอกาส แต่ครั้นต่อมาได้การส้องเสพ อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งกิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ด้วยประการอย่างนี้ก่อน.

กิเลสที่เกิดขึ้น เพราะอารมณ์ที่ยังไม่เคยเสวยเป็นอย่างไร? ภิกษุบางรูป ย่อมได้อารมณ์ มีรูปารมณ์ที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเป็นต้น ที่ตนเคยไม่เคยเสวย อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติไปในอารมณ์นั้น ราคะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิด เพราะอารมณ์ที่ยังไม่เคยเสวย ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า อุปฺปนฺโน ได้แก่ เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว บทว่า ภิยฺโยภาวาย ได้แก่ เพื่อเกิดมีบ่อยๆ บทว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์คือ เพื่อความเป็นกอง. ในข้อนั้น ข้อที่ว่ากามฉันทะเกิดขึ้นคราวเดียวจักไม่ดับ หรือดับไปคราวเดียวจักไม่เกิดขึ้นอีก นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. ก็เมือกามฉันทะ อย่างหนึ่งดับไปแล้ว กามฉันทะเมื่อเกิดสืบๆ ไปในอารมณ์นั้น หรืออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ชื่อว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมียิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 54

บทว่า สุภนิมิตฺตํ ได้แก่อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ จริงอยู่ บทว่า นิมิตฺตํ เป็นชื่อแห่งปัจจัย ได้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศล บาปธรรม ที่มีปัจจัยย่อมเกิดขึ้น ที่ไม่มีปัจจัยหาเกิดขึ้นไม่. บทว่า นิมิตฺตํ เป็นชื่อแห่งเหตุ ได้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการถึงเหตุทั้ง ๕ ตามกาลอันควร บทว่า นิมิตฺตํ เป็นชื่อของสมาธิ ได้ในคำนี้ว่า โส ตํ นินิตฺตํ อาเสวติ ภาเวติ ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมเสพ ย่อมเจริญสมาธินั้น. บทว่า นิมิตฺตํ เป็นชื่อแห่งวิปัสสนา ได้ในคำนี้ว่า เมื่อภิกษุอาศัยวิปัสสนาใด มนสิการวิปัสสนาใด อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปเรื่อยๆ. แต่ในที่นี้ ธรรมอันเป็นอิฎฐารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งราคะ. ท่านประสงค์เอาสุภนิมิต.

บทว่า อโยนิโส มนสิกโรโต ความว่า เมื่อภิกษุใส่ใจโดยมิใช่ อุบาย ด้วยอำนาจการใส่ใจนี้ว่า บรรดาการใส่ใจเหล่านั้น การใส่ใจ โดยไม่แยบคายเป็นไฉน? การใส่ใจโดยไม่แยบคาย คือการใส่ใจไปนอกทาง ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่ไม่เป็นอัตตาว่าเป็นอัตตา ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือการรำพึงถึง การคำนึงถึงเนืองๆ การผูกใจ การประมวลจิต ด้วยสิ่งอันเป็นปฏิกูลที่ปราศจากความจริง แม้นี้เรียกว่า การใส่ใจโดยไม่แยบคายแล

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 55

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺยาปาโท ได้แก่ ความวิบัติ ความละปกติแห่งจิต เหมือนความวิบัติแห่งอาหาร (อาหารบูด). บทว่า พฺยาปาโท นี้เป็น ชื่อแห่งพยาปาทนิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว อย่างนี้ว่า ในนิวรณ์เหล่านั้น พยาปาทนิวรณ์เป็นไฉน? คือ ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความฉิบหายแก่เรา.

บทว่า ปฏิฆนิมิตฺตํ ได้แก่ นิมิตที่ไม่น่าปรารถนา คำว่า ปฏิฆนิมิตฺตํ นี้ เป็นชื่อของปฏิฆจิต ความแค้นเคืองก็มี เป็นชื่อของอารมณ์ ที่ทำให้แค้นเคืองก็มี สมจริงดังคำที่พระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า แม้ปฏิฆจิต ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต แม้ธรรมที่เป็นอารมณ์ของ ปฏิฆจิต ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าว ในกามฉันทะนั่นแล. ในปฏิฆนิวรณ์นี้ฉันใด แม้ในนิวรณ์อื่นจากนี้ ก็ฉันนั้น. ก็ในสูตรนั้นๆ ข้าพเจ้าจักกล่าวเพียงข้อแปลกกันเท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 56

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ถีนมิทฺธํ ได้แก่ ถีนะ และมิทธะ ใน ๒ อย่างนั้น ภาวะที่จิตไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า ถีนะ คำว่า ถีนะ นี้ เป็นชื่อของความเกียจคร้าน. ภาวะที่ขันธ์ทั้ง ๓ ไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า มิทธะ. คำว่า มิทธะ นี้ เป็นชื่อของความโงกง่วง ดุจความโงกง่วงของลิง เป็นธรรมชาติกลับกลอก. พึงทราบความพิสดารแห่งถีนะและมิทธะ ทั้ง ๒ นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ในถีนะและมิทธะทั้ง ๒ นั้น ถีนะ เป็นไฉน? ภาวะที่จิตไม่เหมาะไม่ควรแก่การงาน หย่อนยาน ท้อแท้ ชื่อว่า ถีนะ ในถีนะและมิทธะทั้ง ๒ นั้น มิทธะเป็นไฉน? ภาวะที่กายไม่เหมาะ ไม่ควรแก่การงาน โงกง่วง ชื่อว่า มิทธะ

บทว่า อรติ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่จำแนกไว้แล้วในวิภังค์ นั่นแล สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น อรติ เป็นไฉน? ความไม่ยินดี ภาวะที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง ความไม่อภิรมย์ ความเอือมระอา ความหวาดในเสนาสนะอันสงัด หรือในอธิกุศลธรรมอย่างอื่นๆ นี้เรียกว่า อรติ บรรดาธรรมเหล่านั้น ตนฺทิ ความเกียจคร้านเป็นไฉน? ความเกียจ ความคร้าน ความใส่ใจในความคร้าน ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ภาวะแห่ง ผู้เกียจคร้าน นี้ท่านเรียกว่า ตันทิ บรรดาธรรมเหล่านั้น ความบิดกายเป็นไฉน? ความบิด ความเอี้ยว ความน้อมไป ความโน้มมา ค้อมไป ค้อมมา ความบิดเบี้ยวนี้ เรียกว่า วิชัมภิกา. บรรดาธรรมเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 57

ความเมาอาหาร เป็นไฉน? ผู้มักบริโภค มึนในอาหาร ลำบากในอาหาร อ่อนเปลี้ยในกาล นี้เรียกว่า ความเมาในอาหาร. บรรดาธรรมเหล่านั้น ความที่จิตหดหู่เป็นไฉน? ภาวะที่จิตไม่เหมาะ ไม่ควรแก่การงาน ความย่อหย่อน ความย่นย่อ ความท้อแท้ ความท้อถอย ภาวะท้อแท้แห่งจิตนี้ เรียกว่า ความท้อแท้แห่งจิต ก็บรรดาธรรมเหล่านี้ ธรรม ๔ ข้างต้น เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธนิวรณ์ ทั้งโดยสหชาตปัจจัย ทั้งโดยอุปนิสสยปัจจัย อนึ่งภาวะที่ย่อหย่อน ย่อมไม่เป็นสหชาตปัจจัยโดยตนของตนเอง แต่ย่อมเป็นสหชาตปัจจัยในที่สุดแห่งอุปนิสสยปัจจัย.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุทฺธจฺจกุกฺกุจจํ ได้แก่ อุทธัจจะ และกุกกุจจะ. ใน ๒ อย่างนั้น อาการที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทธัจจะ ความเดือดร้อน ของบุคคลผู้ไม่ได้กระทำคุณความดี ทำแต่ความชั่ว เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ชื่อว่า กุกกุจจะ บทว่า เจตโส อวูปสโม นี้ เป็นชื่อของ อุทธัจจะ และกุกกุจจะ นั่นเอง. บทว่า อวูปสนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตไม่สงบ ด้วยฌานและวิปัสสนา ก็ความไม่สงบนี้ เป็นปัจจัยแก่อุทธัจจะ และกุกกุจจะในที่สุด แห่งอุปนิสสยปัจจัย.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 58

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิจิกิจฺฉา ได้แก่ วิจิกิจฉานิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมสงสัยในพระศาสดา ความใส่ใจโดยไม่แยบคาย มีลักษณะดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุปฺปนฺโนว กามฉนฺโท นุปฺปชฺชติ ความว่า กามฉันทะ ที่ไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ อย่างเท่านั้นคือ ด้วยความไม่ฟุ้งขึ้น หรือด้วยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวย ก็ไม่เกิดขึ้น. กามฉันทะนั้น เป็นอันภิกษุข่มได้แล้วอย่างนั้น ย่อมไม่ได้เหตุหรือปัจจัยอีก. แม้ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบ ความไม่ฟุ้งขึ้นด้วยอำนาจวัตรเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อภิกษุบางรูปประกอบอยู่ในวัตร กระทำวัตรอยู่นั่นเอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เพราะฉะนั้น กามฉันทะนั้น เป็นอันชื่อว่า ภิกษุข่มไว้ได้ด้วยอำนาจวัตร ภิกษุนั้นการทำกามฉันทะนั้น ให้เป็นอันตนข่มไว้ได้อย่างนั้น แล้วเว้นขาดย่อมยึดเอาพระอรหัตได้ เหมือนพระมาลกติสสเถระ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า ท่านพระมาสกติสสะ บังเกิดในครอบครัวพรานในที่ ภิกขาจาร แห่งคเมณฑวาสีวิหาร ในโรหณชนบท เจริญวัยแล้วก็

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 59

ครองเรือน คิดว่าจักเลี้ยงบุตรและภรรยา วางฟ้าทับเหวไว้ ๑๐๐ คัน ดักบ่วงไว้ ๑๐๐ บ่วง ฝังหลาวไว้ ๑๐๐ แห่ง สร้างสมบาปไว้เป็นอันมาก วันหนึ่งถือเอาไฟและเกลือจากเรือนไปป่า ฆ่าเนื้อที่ติดบ่วง กินเนื้อที่สุกด้วยถ่านเพลิง กระหายน้ำ ก็เข้าไปคเมณฑวาสีวิหาร ไม่ได้ดื่มน้ำแม้เพียงบรรเทาความกระหาย ในหม้อน้ำประมาณ ๑๐ หม้อ ในโรงน้ำดื่ม เริ่มยกโทษว่า อะไรกันนี่ ในที่อยู่ภิกษุมีประมาณ เท่านี้ ไม่มีน้ำดื่มเพียงบรรเทาความกระหาย สำหรับผู้มาเพื่อหวังจะดื่ม พระจูฬบิณฑปาติกติสสเถระ ฟังถ้อยคำของเขาแล้ว จึงไปหาเขา เห็นหม้อน้ำดื่ม ประมาณ ๑๐ หม้อเต็มน้ำในโรงดื่ม คิดว่า สัตว์นี้ชะรอยจักเป็นชีวมานเปรต จึงกล่าวว่า อุบาสก ถ้าท่านกระหายน้ำ ก็จงดื่มเถิด ดังนี้แล้ว ยกหม้อขึ้นรดลงที่มือของเขา เพราะอาศัย กรรมของเขา น้ำดื่มที่ดื่มแล้วๆ ระเหยไปเหมือนใส่ลงในกระเบื้องร้อน เมื่อเขาดื่มน้ำในหม้อทั้งหมด ความกระหายก็ไม่หายขาด ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะเขาว่า ก่อนอุบาสก ก็ท่านทำกรรมหยาบช้า เพียงไรไว้ ท่านจึงเกิดเป็นเปรตในปัจจุบันทีเดียว วิบากจักเป็นเช่นไร?

เขาฟังคำของพระเถระแล้ว ได้ความสังเวช ไหว้พระเถระ แล้วรื้อเครื่องประหารมีฟ้าทับเหวเป็นต้นเหล่านั้นเสีย รีบไปเรือน ตรวจดูบุตรและภรรยาแล้วทำลายหอก ทิ้ง ประทีป เนื้อ และนกไว้ในป่า กลับไปหาพระเถระขอบรรพชา พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก ท่านจักบวชได้อย่างไร? เขากล่าวว่าท่านเจริญ กระผมเห็นเหตุแจ้งประจักษ์อย่างนี้ จักไม่บวชได้อย่างไร พระเถระให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้เขาบวช ท่านเริ่ม

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 60

วัตรปฏิบัติ ยินดีเรียนเอาพุทธพจน์ วันหนึ่ง ได้ฟังฐานะนี้ใน เทวทูตสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกนายนิรยบาล ย่อมใส่สัตว์ผู้เสวยกองทุกข์มีประมาณเท่านี้ เข้าในมหานรกอีก จึงกล่าวว่า นายนิรบาล ใส่สัตว์ผู้เสวยกองทุกข์ มีประมาณเท่านี้แล้วลงในมหานรกอีก โอ มหานรก หนักนะขอรับ พระเถระตอบว่า เออผู้มีอายุหนัก ท่านถามว่า ผมอาจจะมองเห็นไหมขอรับ พระเถระกล่าวว่า ท่านไม่อาจมองเห็น (แต่) เราจักแสดงเหตุอย่างหนึ่ง เพื่อจะกระทำให้เหมือนกับที่มองเห็นแล้ว กล่าวว่า เธอจงชักชวนพวกสามเณรทำกองไม้สด บนหลังแผ่นหินสิ ท่านได้กระทำเหมือนอย่างนั้น พระเถระนั่งอยู่ตามเดิม สำแดงฤทธิ์ นำเสก็ดไฟประมาณเท่าหิ่งห้อย จากมหานรก ใส่ลงไปที่กองฟืนของพระเถระนั้น ผู้กำลังดูอยู่นั่นแล การที่เสก็ดไฟนรก ตกลงไปในกองฟืนนั้น แลการที่กองฟืนไหม้เป็นเถ้า ปรากฏไม่ก่อนไม่หลังกันเลย.

ท่านเห็นเหตุนั้นแล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่า ธุระในพระศาสนานี้มีเท่าไร? พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ มี ๒ คือ วาสธุระ (วิปัสสนาธุระ) และคันถธุระ ท่านกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่า คันถะ เป็นภาระของผู้สามารถ แต่ศรัทธาของกระผมอาศัยทุกข์เป็นเหตุ กระผมจักบำเพ็ญวาสธุระ ขอท่านจงให้กรรมฐานแก่กระผมเถิด ไหว้แล้วก็นั่ง พระเถระตั้งอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ ด้วยคิดว่า ภิกษุต้องเป็นผู้สมบูรณ์อยู่ด้วยวัตร แล้วจึงบอกกรรมฐานแก่ท่าน ท่านรับกัมมัฏฐานแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา และบำเพ็ญวัตร กระทำวัตรที่จิตตลบรรพตมหาวิหารวันหนึ่ง, ทำที่คาเมณฑ-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 61

วาสีมหาวิหารวันหนึ่ง, ทำที่โคจรคามมหาวิหารวันหนึ่ง พอถีนมิทธะ ครอบงำ จึงทำใบไม้ให้ชุ่มน้ำวางไว้บนศีรษะ นั่งเอาเท้าแช่น้ำ เพราะกลัววัตรจะเสื่อม วันหนึ่ง ทำวัตรตลอด ๒ ยาม ที่จิตตลบรรพตวิหาร เมื่อเริ่มจะหลับในเวลาใกล้รุ่งจึงนั่งวางใบไม้สดไว้บนศีรษะ เมื่อ สามเณร กำลังท่องบ่น อรุณวติสูตร อยู่ ณ ข้างเขาด้านตะวันออก ได้ยินฐานะนี้ว่า

อารภถ นิกฺขมถ ยุญฺชถ พุทฺธสาสเน

ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโร

โย อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อปฺปมฺโต วิหริสฺสติ

ปหาย ชาติสํสารํ ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ.

จงพากเพียรพยายามบากบั่น ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดกองทัพของมฤตยู เหมือนกุญชรกำจัดเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ผู้ใดไม่ประมาท ในพระธรรมวินัยนี้อยู่ จักละชาติสงสาร ทำที่สุดทุกข์ได้

จึงเกิดปีติขึ้นว่า คำนี้จักเป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสโปรดภิกษุ ผู้ปรารภความเพียรเช่นกับเรา ดังนี้แล้วทำงานให้บังเกิด กระทำฌานนั้น นั่นแล ให้เป็นบาทแล้ว ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พยายามสืบๆ ไป ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แม้ในเวลาปรินิพพาน เมื่อแสดงเหตุนั้น นั่นแหละ จึงกล่าวคาถาอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 62

อลฺลปลาสปุญฺชาหํ สิเรนาทาย จงฺกมิ

ปตฺโตสฺมิ ตติยฏานํ นตฺถิ เม เอตฺถ สํสโย

เราเอาศีรษะเทินฟ่อนใบไม้สดเดินจงกรม เราเป็นผู้ถึงฐานที่ ๓ (อนาคามิผล) เราไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้.

กิเลสที่ข่มไว้ด้วยอำนาจแห่งวัตรของภิกษุเห็นปานนี้ ชื่อว่า ย่อมเป็นอันข่มไว้อย่างนั้นเทียว เมื่อภิกษุบางรูปขวนขวายในคันถะ (คัมภีร์พุทธวจนะ) เรียน แสดง และประกาศ คันถะ โดยนัยที่กล่าวแล้ว นั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มไว้ได้ด้วยอำนาจคันถะ นั่นแล ท่านกระทำกิเลสนั้นให้เป็นอันข่มได้ อย่างนั้นนั่นแล คลายกำหนัดได้ แล้วก็ยึดเอาพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระมาลิยเทวเถระ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า ท่านพระมาลิยเทวเถระ ผู้มีอายุนั้น เรียนอุเทศและทำวิปัสสนากรรมฐาน ที่มณฑลารามวิหาร ในกัลลคาม ในเวลาเป็นภิกษุได้ ๓ พรรษา ครั้นวันหนึ่ง เมื่อท่านเที่ยวภิกษาจารในกัลลคาม อุบาสิกาคนหนึ่ง ถวายข้าวยาคูกะบวยหนึ่ง เกิดความสิเนหาเหมือนดังบุตร ให้พระเถระนั่งภายในนิเวศน์ ถวายโภชนะอันประณีตแล้ว ถามว่า ท่านเป็นชาวบ้านไหนละพ่อ? ท่านตอบว่า อุบาสิกา อาตมาทำกิจกรรม คือการเรียนคันถะ ในมณฑลารามวิหาร อุบาสิกากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พ่อจงรับภิกษาเป็นประจำ ในที่นี้แหละ ตราบเท่าที่เรียนคันถะ ท่านรับคำนั้นแล้ว รับภิกษาในที่นั้นเป็นประจำ ในเวลาเสร็จภัตกิจ เมื่อจะทำอนุโมทนา จึง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 63

กล่าวเฉพาะ ๒ บทว่า สุขํ โหตุ ทุกฺขา มุจฺจตุ (ขอท่านจงเป็นสุข จงพ้นจากทุกข์) แล้วก็ไปการทำการสงเคราะห์แก่นางนั้นนั่นแล ตลอด ๓ เดือน ภายในพรรษา การทำความยำเกรงต่อบิณฑบาต ในวันมหาปวารณาก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. พระมหาเถระผู้เป็นเจ้าถิ่น กล่าวว่า ท่านมหาเทวะ วันนี้มหาชนจักประชุมกันในวิหาร ท่านจงให้ธรรมทานแก่มหาชนนั้น พระเถระก็รับคำเชิญ ภิกษุหนุ่มและสามเณร ได้ให้สัญญาแก่อุบาสิกาว่า วันนี้ บุตรของท่านจักแสดงธรรม ท่านพึงไปวิหารฟังธรรม อุบาสิกากล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ชนทั้งหมดไม่รู้ธรรมกถา บุตรของดิฉันแสดงแก่ดิฉันตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แสดงเฉพาะ ๒ บทเท่านั้นว่า ขอท่านจงมีความสุข ขอท่านจงพ้นจากทุกข์ ท่านอย่าเย้ยหยันเลย ภิกษุหนุ่มและสามเณร กล่าวว่า อุบาสิกา ท่านจะรับรู้หรือไม่รับรู้ ก็จงไปวิหารฟังธรรมเท่านั้น อุบาสิกาถือเอาสักการะ มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปบูชาแล้วนั่งฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท พระธรรมกถึกและภิกษุ ผู้สวดสรภัญญะตอนกลางวัน รู้ความพอดีของตนก็ลุกกลับไป ลำดับนั้น พระมาลิยเทวเถระ นั่งบนธรรมาสน์ จับพัดวิชนีกล่าว บุรพกถาแล้วคิดว่า เราทำอนุโมทนา แก่มหาอุบาสิกขาด้วย ๒ บทมาตลอด ๓ เดือน วันนี้เราจักจับเอา (ข้อความ) จากพระไตรปิฎกแล้วกล่าว ความหมายของบททั้ง ๒ นั้นตลอดทั้งคืน จึงเริ่มแสดงธรรมเทศนา ตลอดคืนยังรุ่ง ในเวลาจบเทศนาอรุณขึ้น มหาอุบาสิกา ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

พระเถระอีกรูปหนึ่ง นามว่า ติสสภูตเถระ ในวิหารนั้นนั่นเอง เรียนพระวินัย เข้าไปภายในบ้านในเวลาภิกขาจาร ได้แลเห็นวิสภา-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 64

คารมณ์ ท่านเกิดความโลภขึ้น ท่านทำเท้าที่ยืนอยู่อย่างนั้น ไม่ให้เคลื่อนไปไหน เทข้าวยาคูในบาตรของตนลงในบาตรของภิกษุหนุ่ม ผู้เป็นอุปัฎฐาก คิดว่า ความวิตกนี้ เมื่อเพิ่มมากขึ้นจักทำเราให้จมลง ในอบาย ๔ จึงกลับจากที่นั้น ไปยังสำนักของอาจารย์ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กล่าวว่า พยาธิอันหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผมแล้ว ผมไม่สามารถจะเยียวยามันได้ จึงมาหาไม่ได้มาโดยเรื่องนอกนี้เลย ขอท่านจงโปรดตรวจดูกระผม ตั้งอุเทศกลางวันแล้ว และอุเทศตอนเย็น แต่อย่าตั้งอุเทศในเวลาใกล้รุ่งเลย ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ไปยังสำนักของ พระมัลลยวาสิมหารักขิตเถระ พระเถระกำลังทำการล้อมรั้ว บรรณศาลาของตน ไม่มองดูท่าน กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ จงเก็บงำบาตรและจีวรของท่านเสีย ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมมีพยาธิอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าท่านสามารถเยียวยามันได้ไซร้ กระผมจึง จักเก็บงำ พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ คุณมายังสำนักของท่าน ผู้สามารถเยียวยาโรคที่เกิดขึ้นแล้ว คุณจงเก็บงำเสียเถิด ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คิดว่า อาจารย์ของพวกเรา ไม่รู้ คงไม่กล่าวอย่างนั้น แล้ววางบาตรและจีวร แสดงวัตรแก่พระเถระไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระรู้ว่า ผู้นี้เป็นราคะจริต จึงได้บอกอสุภกรรมฐาน ท่านลุกขึ้นคล้องบาตรและจีวรไว้บนบ่า ไหว้พระเถระไหว้แล้วไหว้อีก พระเถระถามว่า ท่านมหาภูติ ทำไมคุณจึงแสดงอาการ เคารพนบนอบเกินไป ท่านกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ถ้ากระผมจักทำกิจของตนได้ไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่ได้เช่นนั้น การเห็นครั้งนี้ จะเป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของผม พระเถระกล่าวว่า ท่านมหาภูติไปเถิด ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี กุลบุตรผู้ประกอบ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 65

ความเพียรเช่นนั้น ได้ไม่ยากดอก ภิกษุนั้นฟังถ้อยคำของพระเถระ แสดงอาการนอบน้อมแล้วไปสู่โคนกอไม้มะลื่น อันร่มที่ตนกำหนด หมายตาไว้ในตอนมา นั่งขัดสมาธิ ทำอสุภกรรมฐานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัต ทันแสดงปาติโมกข์ ในเวลาใกล้รุ่ง ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจคันถะ เป็นอันชื่อว่า ข่มได้ด้วยประการนั้นเหมือนกัน

ก็เมื่อภิกษุบางรูป บริหารธุดงค์โดยนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส กิเลสนั้นเป็นอันท่านข่มได้ ด้วยอำนาจธุดงค์ ท่านทำกิเลสนั้น ให้เป็นอันข่มได้แล้ว นั่นแล คลายกำหนัดได้แล้ว ยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนท่านพระมหาสิวเถระ ผู้อยู่ที่เงื้อมเขาใกล้บ้าน.

ได้ยินว่า พระมหาสิวเถระ อยู่ในติสสมหาวิหาร ใกล้มหาคาม สอนพระไตรปิฎก กะภิกษุคณะใหญ่ ๑๘ คณะ ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยบาลี ภิกษุ ๖๐,๐๐๐ รูป ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารภธรรมที่ตนได้แทงตลอดแล้ว เกิดโสมนัสขึ้น คิดว่า ความสุขนี้มีแก่อาจารย์ของเราบ้างไหมหนอ ภิกษุนั้น เมื่อคำนึงอยู่ก็รู้ว่า พระเถระยังเป็นปุถุชน คิดว่า เราจักให้ความสังเวชเกิดขึ้นแก่พระเถระ ด้วยอุบายนี้ จึงจากที่อยู่ของตนไปยังสำนักของพระเถระ ไหว้แสดงวัตรแล้วนั่ง. ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะ ภิกษุนั้นว่า ท่านปิณฑปาติกะ มาทำไม ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านขอรับ กระผมมาด้วยหวังว่า ถ้าท่านจักกระทำโอกาสแก่กระผม กระผมก็จักเรียนธรรมบทๆ หนึ่ง พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ ภิกษุเป็นอันมากเรียนกัน ท่านจักไม่มีโอกาสดอก, ภิกษุนั้นเมื่อไม่ได้โอกาส ในส่วน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 66

กลางคืนและกลางวัน จึงกล่าวว่า เมื่อโอกาสไม่มีอย่างนั้น ท่านจักได้โอกาสแห่งมรณะอย่างไร? เวลานั้น พระเถระคิดว่า ภิกษุนี้ไม่มาเพื่อเรียนอุเทศ แต่เธอมาเพื่อทำความสังเวชให้เกิดแก่เรา แม้ภิกษุนั้น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญธรรมดาว่า ภิกษุพึงเป็นผู้เช่นเรา ดังนี้ แล้วไหว้พระเถระ เหาะไปในอากาศ อันมีสีดังแก้วมณี.

พระเถระเกิดความสังเวช ตั้งแต่เวลาที่ภิกษุนั้นไปแล้ว บอกอุเทศตอนกลางวันและในตอนเย็น วางบาตรและจีวรไว้ใกล้หัตถบาส ในเวลาใกล้รุ่งจึงเรียนอุเทศ ถือบาตรและจีวรลงไปกับภิกษุ ผู้กำลังลงไปอยู่ อธิษฐานธุดงคคุณ ๑๓ ให้บริบูรณ์แล้ว ไปยังเสนาสนะที่ เงื้อมเขาใกล้บ้าน ปัดกวาดเงื้อมเขาแล้ว ให้ยกเตียงและตั่งขึ้น ผูกใจว่า เรายังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่เหยียดหลังบนเตียง จึงลงสู่ที่จงกรม เมื่อท่านพยายามอยู่ด้วยหวังใจว่า เราจักบรรลุพระอรหัตในวันนี้ เราจักบรรลุพระอรหัตในวันนี้ วันปวารณาก็มาถึง เมื่อใกล้วันปวารณา ท่านคิดว่า เราจักละความเป็นปุถุชน ปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณา ก็ลำบากอย่างยิ่ง ท่านเมื่อไม่สามารถจะทำมรรคหรือผล ให้เกิดในวันปวารณานั้นได้ จึงกล่าวว่า ผู้ปรารภวิปัสสนาแม้เช่นเราก็ยังไม่ได้ พระอรหัตนี้ ช่างเป็นคุณอันได้ยากจริงหนอ จึงเป็นผู้มากไปด้วยการยืนและการเดิน โดยทำนองนี้แล กระทำสมณธรรมตลอด ๓๐ ปี เห็นพระจันทร์เพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในท่ามกลางดิถี วันมหาปวารณา คิดว่า ดวงจันทร์บริสุทธิ์ หรือศีลของเราบริสุทธิ์ รำพึงว่า ในดวงจันทร์ยังปรากฏมีลักษณะเป็นรูปกระต่าย แต่รอยดำหรือจุดด่างในศีลของเรา ตั้งแต่เราอุปสมบท จนถึงทุกวันนี้ไม่มีเกิดโสมนัส ข่มปีติเพราะมีญาณแก่กล้า บรรลุพระ-

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 67

อรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจธุดงค์ เป็นอันชื่อว่า ข่มกิเลสได้แล้ว โดยประการนั้น นั่นแล.

เพราะภิกษุบางรูปมากไปด้วยการเข้าปฐมฌาน เป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มได้ด้วยอำนาจสมาบัติ ท่านกระทำกิเลสให้เป็นอันข่มได้โดยประการนั้น นั่นแล คลายกำหนัดได้แล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระมหาติสสเถระ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระมหาติสสเถระได้สมาบัติ ๘ ตั้งแต่เวลาที่มีพรรษา ๘ ท่านกล่าวธรรมได้ใกล้เคียงอริยมรรค ด้วยอำนาจเรียน และการสอบถาม เพราะกิเลสที่ถูกข่มไว้ด้วยสมาบัติไม่ฟุ้งขึ้น แม้ในเวลาที่ท่านมีพรรษา ๖๐ ก็ไม่รู้ตัวว่า ยังเป็นปุถุชน ครั้นวันหนึ่ง ภิกษุสงฆ์ จากติสสมหาวิหาร ในบ้านมหาคาม ได้ส่งข่าวแก่ พระธัมมทินนเถระ ผู้อยู่ที่หาดทรายว่า ขอพระเถระจงมากล่าว ธรรมกถาแก่พวกกระผม พระเถระรับคำแล้ว คิดว่า ภิกษุผู้แก่กว่า ไม่มีในสำนักของเรา แต่พระมหาติสสเถระเล่า ก็เป็นอาจารย์ผู้บอกกัมมัฏฐานแก่เรา เราจะตั้งท่าน ให้เป็นพระสังฆเถระแล้วจักไป ท่านอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ไปยังวิหารของพระเถระ แสดงวัตรแก่พระเถระ ในที่พักกลางวันแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระกล่าวว่า ธัมมทินนะ. ท่านมานานแล้วหรือ? พระธัมมทินนเถระกล่าวว่า ท่านผู้เจริญขอรับ ภิกษุสงฆ์ส่งข่าวสาสน์จากติสสมหาวิหาร มาถึงกระผม ลำพังกระผมผู้เดียวก็จักไม่มา แต่กระผมปรารถนาจะไปกับท่าน จึงได้มา ท่านกล่าวสาราณิยกถา ถ่วงเวลาให้ช้าๆ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 68

แล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านบรรลุธรรมนี้เมื่อไร? พระเถระกล่าวว่า ท่านธัมมทินนะ ประมาณ ๖๐ ปี พระธัมมทินนเถระกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านใช้สมาธิหรือ พระเถระกล่าวว่าขอรับท่าน พระธัมมทินนเถระกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านเนรมิตสระโปกขรณีสระหนึ่ง ได้ไหม พระเถระกล่าวว่า ท่าน ข้อนั้นไม่หนักเลย แล้วเนรมิตสระโปกขรณีขึ้นในที่ต่อหน้า และถูกท่านกล่าวว่า ท่านจงเนรมิต กอปทุม กอหนึ่งในสระนี้ ก็เนรมิตกอปทุมแม้นั้น พระธัมมทินนเถระ กล่าวว่า บัดนี้ ท่านจงสร้างดอกไม้ใหญ่ในกอปทุมนี้ พระเถระก็แสดงดอกไม้แม้นั้น ถูกกล่าวว่า ท่านจงแสดงรูปหญิงมีอายุประมาณ ๑๖ ปี ในดอกไม้นี้ ก็แสดงรูปหญิงแม้นั้น ลำดับนั้น พระธัมมทินนะ กล่าวกะพระเถระนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงใส่ใจถึงรูปหญิงนั้น บ่อยๆ โดยความงาม พระเถระแลดูรูปหญิงที่ตนเนรมิตขึ้น เกิดความกำหนัดขึ้นในเวลานั้น จึงรู้ตัวว่ายังเป็นปุถุชน จึงกล่าวว่า ท่านสัปปุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม แล้วนั่งกระโหย่งในสำนักของอันเตวาสิก พระธรรมทินนะ กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมมาเพื่อประโยชน์นี้เอง แล้วบอกกัมมัฏฐานเบาๆ เนื่องด้วยอสุภแก่พระเถระ แล้วออกไปข้างนอกเพื่อให้โอกาสแก่พระเถระ พระเถระผู้มีสังขารอันปริกรรมไว้ดีแล้ว พอพระธัมมทินนะนั้น ออกไปจากที่พักกลางวันเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ลำดับนั้น พระธัมมทินนเถระ กระทำท่านให้เป็นพระสังฆเถระ ไปยังมหาติสสวิหาร แสดงธรรมกถาแก่สงฆ์ กิเลสอันพระเถระเห็น ปานนั้นข่มแล้ว ก็เป็นอันข่มแล้วโดยประการนั้น นั่นแล

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 69

แต่สำหรับพระภิกษุบางรูป กระทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มกิเลสได้ ด้วยอำนาจวิปัสสนา นั้นแล ภิกษุนั้นกระทำกิเลสให้เป็นอันข่มได้ ด้วยประการนั้น คลายกำหนัดได้แล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนภิกษุ ผู้เจริญวิปัสสนา ประมาณ ๖๐ รูปในครั้งพุทธกาล

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น รับพระกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว เข้าไปป่าอันเงียบสงัด กระทำกรรมในวิปัสสนา (แต่) ไม่กระทำความพยายาม เพื่อประโยชน์แก่มรรคผล ด้วยสำคัญว่า เราบรรลุมรรคผลแล้ว เพราะกิเลสไม่ฟุ้งขึ้น คิดว่าเราจักกราบทูล ถึงธรรมที่เราแทงตลอดแล้วแด่พระทศพล จึงมาเถิดพระศาสดา แต่ก่อนที่ภิกษุเหล่านั้นจะมาถึง พระศาสดาได้ตรัสกะพระอานนทเถระว่า อานนท์ ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร จะมาพบเราในวันนี้ เธออย่าให้โอกาสแก่ภิกษุเหล่านั้น เพื่อจะพบเราพึงส่งไปว่า พวกท่านจงไป ป่าช้าทิ้งศพดิบ ทำภาวนาอสุภสด พระเถระบอกข่าวที่พระศาสดา สั่งไว้แก่ภิกษุที่มาแล้วเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า พระตถาคต ไม่ทรงทราบแล้วคงไม่ตรัส ชะรอยจักมีเหตุในข้อนี้เป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงไปยังป่าช้าศพดิบ ตรวจดูอสุภสดก็เกิดความกำหนัดขึ้น เกิดความสังเวชขึ้นว่า ข้อนี้ พระสัมมาสัมพุทธคงจักทรงเห็นแล้วเป็นแน่ จึงเริ่มกัมมัฏฐานเท่าที่ตนได้ตั้งแต่ต้น พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเริ่มวิปัสสนา ประทับนั่งที่พระคันธกุฎี นั่นแล ได้ตรัสโอภาส คาถาว่า

ยานีมานิ อปตฺถานิ อลาพูเนว สารเท

กาโปตกานิ อฏฺีนิ ตานิ ทิสฺวาน กา รติ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 70

จะยินดีไปใย เพราะได้เห็นกระดูก ที่มีสีดังนกพิลาป ที่ใครๆ ไม่ปรารถนา เหมือนน้ำเต้าในสารทกาล ฉะนั้น

ในเวลาจบคาถา ภิกษุเหล่านั้น ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตตผล ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา เป็นอันชื่อว่า ข่มได้แล้ว โดยประการนั้น นั่นแล

เมื่อภิกษุบางรูปกระทำนวกรรม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันชื่อว่า ท่านข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจนวกรรม ท่านกระทำกิเลสนั้น ให้เป็นอันข่มไว้แล้ว อย่างนั้น คลายกำหนัดได้แล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระติสสเถระ ในจิตตลบรรพต ฉะนั้น.

ได้ยินว่า ในเวลาที่พระติสสเถระนั้นได้ ๘ พรรษา เกิดความอยากสึก ท่านไม่อาจบรรเทาความอยากสึกนั้นได้ ซักย้อมจีวรปลงผมแล้ว ไหว้พระอุปัชฌาย์ยืนอยู่ ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะท่านว่า ท่านมหาติสสะ อาการของท่าน เหมือนไม่ยินดีหรือ? ภิกษุนั้น ตอบว่า ขอรับท่าน กระผมอยากสึก กระผมบรรเทามันไม่ได้ พระเถระตรวจอัธยาศัยของท่าน เห็นอุปนิสัยพระอรหัต จึงกล่าวโดยความเอ็นดูว่า ผู้มีอายุ พวกเราเป็นคนแก่ ท่านจงสร้างสถานที่อยู่ สำหรับพวกเราสักหลังหนึ่ง ภิกษุไม่เคยถูกใครพูดเป็นคำที่ ๒ จึงรับว่าดีละ ขอรับ ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุเมื่อท่านกำลังทำนวกรรม ก็อย่าได้สละแม้แต่อุเทศ จงมนสิการพระกัมมัฏฐาน และจงกระทำบริกรรมกสิณตามกาลอันสมควร ภิกษุนั้น กล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 71

กระผมจักกระทำอย่างนั้น ขอรับ ไหว้พระเถระแล้ว ตรวจดูที่อันเป็นเงื้อมเห็นปานนั้น คิดว่า ตรงนี้ทำได้ จึงนำฟืนมาเผาชำระ (ที่) ให้สะอาด แล้วก่ออิฐ ประกอบประตู และหน้าต่าง ทำที่เร้นเสร็จ พร้อมทั้งก่ออิฐบนพื้นที่จงกรม เป็นต้น แล้วตั้งเตียง และตั่งไว้แล้ว ไปยังสำนัก พระเถระไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ ที่เร้นเสร็จแล้ว โปรดจงอยู่เถิด พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านทำงานนี้ได้โดยยาก วันนี้ท่านอยู่ในที่นี้เสียวันหนึ่ง ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดีละขอรับ ล้างเท้าแล้ว เข้าไปยังที่เร้น นั่งสมาธิ รำลึกถึงกรรมที่คนทำ เมื่อท่านคิดว่า การทำการขวนขวาย ด้วยกายอันเป็นที่ถูกใจ เรากระทำแก่พระอุปัชฌาย์แล้ว ปีติเกิดขึ้น ในภายใน ท่านข่มปีตินั้นได้แล้ว เจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัต อันเป็นผลเลิศ ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจนวกรรม เป็นอันชื่อว่า ท่านข่มได้แล้ว โดยประการนั้นเหมือนกัน

ส่วนภิกษุบางรูป มาจากพรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์ กิเลสไม่ฟุ้งขึ้น เพราะท่านไม่มีอาเสวนะ (คือการทำจนคุ้น) เป็นอันชื่อว่า ท่านข่มได้ด้วยอำนาจภพ ท่านเว้นขาดกิเลสนั้น อันข่มได้แล้ว โดยประการนั้น ยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนท่านพระมหากัสสปะ ฉะนั้น

จริงอยู่ ท่านพระมหากัสสปะนั้น ไม่บริโภคกามทั้งที่อยู่ครองเรือน ละสมบัติใหญ่ ออกบวช เห็นพระศาสดาเสด็จมา เพื่อต้อนรับในระหว่างทาง ถวายบังคมแล้ว ได้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ข้อ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในอรุณที่ ๘ ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจภพ เป็นอันชื่อว่า ข่มกิเลสได้ อย่างนั้นเหมือนกัน

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 72

อนึ่ง ภิกษุใด ได้อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ซึ่งไม่เคยได้เสวย เริ่มตั้งวิปัสสนา ในอารมณ์นั้นนั่นเอง คลายกำหนัดได้แล้วย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ กามฉันทะที่ไม่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจอารมณ์ที่ไม่เคยเสวย ก็ชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเห็นปานนี้

บทว่า อุปฺปนฺโน ในคำว่า อุปฺปนฺโน วา กามจฺฉนฺโท ปหียติ นี้ ได้แก่ เกิดแล้ว มีแล้ว ฟุ้งขึ้นแล้ว

บทว่า ปหียติ ความว่า ท่านละได้ด้วยปหานะ ๕ เหล่านี้ คือ ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้นอีก ในปหาน ๕ อย่างนั้น กิเลส ที่ท่านละได้ด้วยวิปัสสนา ด้วยอำนาจตทังคปหาน เพราะเหตุนั้นวิปัสสนาพึงทราบว่า ตทังคปหาน ส่วนสมาบัติย่อมข่มกิเลสได้ เพราะฉะนั้น สมาบัตินั้นพึงทราบว่า วิกขัมภนปหาน ละได้ด้วยการข่ม มรรคตัดกิเลสได้เด็ดขาดก็เกิดขึ้น ผลสงบระงับเกิดขึ้น พระนิพพานสลัดออกจากกิเลสทั้งปวง มรรคผลนิพพาน ทั้ง ๓ ดังว่ามานี้ ท่านเรียกว่า สมุจเฉทปหาน ปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน อธิบายว่า กิเลสท่านละด้วยปหาน ๕ อันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระเหล่านี้

บทว่า อสุภนิมิตฺตํ ได้แก่ ปฐมฌานพร้อมทั้งอารมณ์เกิดขึ้น ในอสุภ ๑๐ ด้วยเหตุนั้น พระโปราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า อสุภนิมิตมีในอสุภ ธรรมทั้งหลายอันมีอสุภเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อสุภนิมิต

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 73

บทว่า โยนิโส มนสิกโรโต ความว่า ผู้ใส่ใจอยู่ด้วยอำนาจมนสิการ โดยอุบายดังกล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิ ดังนี้ว่า ในธรรมเหล่านั้น โยนิโสมนสิการเป็นไฉน? คือ มนสิการในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง บทว่า อนุปฺปนฺโน เจว กามจฺฉนฺโท นุปฺปชฺชติ ได้แก่ กามฉันทะที่ยังไม่ฟุ้งก็ไม่ฟุ้งขึ้น บทว่า อุปฺปนฺโน กามจฺฉนฺโท ปหียติ ความว่า กามฉันทะฟุ้งขึ้นแล้ว ท่านละได้ด้วยปหานทั้ง ๕

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง ๖ เป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือ การเรียนอสุภนิมิต การประกอบเนืองๆ ในอสุภภาวนา ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ จริงอยู่ เมื่อภิกษุเรียนเอาอสุภนิมิตทั้ง ๑๐ ก็ดี เจริญอสุภภาวนาอยู่ก็ดี คุ้มครองในอินทรีย์ก็ดี รู้จักประมาณในโภชนะ เพราะเมื่อมีโอกาสกลืนกินได้ ๔ - ๕ คำ ก็ดื่มน้ำเสียแล้ว ยังอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติก็ดี ท่านย่อมละกามฉันทนิวรณ์ได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

จตฺตาโร ปญฺจอาโลเป อภุตฺวา อุทกํ ปิเว

อลํ ผาสุวิหาราย ปหิตฺตสฺส ภิกฺขุโน

ภิกษุไม่พึงบริโภคคำข้าวเสีย ๔ - ๕ คำ แล้วดื่มน้ำ (แทน) ก็พออยู่เป็นผาสุก สำหรับภิกษุผู้มีจิตอันสงบ.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 74

ภิกษุ คบหากัลยาณมิตร ยินดีในอสุภภาวนา เช่นกับพระติสสเถระ ผู้บำเพ็ญอสุภกรรมฐาน ย่อมละกามฉันทะได้ ด้วยอสัปปายกถา อันอาศัยอสุภ ๑๐ ในการยืนและนั่งเป็นต้น ก็ละกามฉันทะได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เมตตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาที่แผ่ประโยชน์เกื้อกูล ไปในสัตว์ทุกจำพวก ก็เพราะเหตุที่จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ย่อมหลุดพ้นจากธรรม อันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น ฉะนั้น เมตตานั้นท่านจึงเรียกว่า เจโตวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ว่าโดยพิเศษเมตตานั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องกลุ้มรุม คือพยาบาททั้งหมด. ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เมตตาในคำว่า เมตฺตาเจโตวิมุตฺติ นั้น แม้ปฏิปทาเป็นส่วนเบื้องต้นก็ใช้ได้. แต่เพราะท่านกล่าวว่า เจโตวิมุตติ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเมตตา เฉพาะที่เป็นอัปปนา โดยอำนาจติกฌาน และจตุกกฌานเท่านั้น. บทว่า โยนิโส มนสิกาโร ความว่า มนสิการอยู่ ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ด้วยมนสิการโดยอุบาย ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวแล้ว.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 75

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละพยาบาท คือการเล่าเรียนเมตตานิมิต การประกอบเนืองๆ ในเมตตาภาวนา การพิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ความเป็นผู้มากไปด้วยการพิจารณา ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ. จริงอยู่ เมื่อภิกษุถือเมตตาด้วยการแผ่ไป โดยเจาะจง และไม่เจาะจง ก็ย่อมละพยาบาทได้ เมื่อพิจารณาถึงความที่ตนและบุคคลอื่น เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน อย่างนี้ว่า ท่านโกรธเขาแล้วจักทำอะไรเขา จักทำศีลเป็นต้น ของเขาให้พินาศได้หรือ ท่านมาด้วยกรรมของตน แล้วก็ไป ด้วยกรรมของตนเท่านั้น มิใช่หรือ ชื่อว่าการโกรธผู้อื่น ย่อมเป็นเหมือนจับถ่านเพลิง ที่ปราศจากเปลวไฟ ซี่เหล็กที่ร้อน และคูถเป็นต้น แล้วประสงค์ประหารผู้อื่น คนผู้โกรธต่อท่านแม้คนนี้ จักกระทำอะไรได้ จักอาจทำศีลเป็นต้น ของท่านให้พินาศหรือ เขามา ด้วยกรรมของตน แล้วจักไปด้วยกรรมของตนเท่านั้น ความโกรธนั้น จักตกบนกระหม่อมของนั้นเท่านั้น เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ ที่ไม่มีอะไรปิดกั้นไว้ และเหมือนกำธุลีซัดไปทวนลม ฉะนั้น ดังนี้ก็ดีผู้พิจารณาความที่เขาทั้ง ๒ เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน แล้วตั้งอยู่ในการพิจารณาก็ดี คบหากัลยาณมิตร ผู้ยินดีในการเจริญภาวนา เหมือนกับพระอัสสคุตตเถระก็ดี ย่อมละพยาบาทได้ ย่อมละพยาบาทได้แม้ด้วยการกล่าวถ้อยคำ ที่เป็นสัปปายะ ที่อิงเมตตา ทั้งในการยืน และนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นี้ และในที่อื่นจากนี้ นั่นแล. แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเพียงที่แปลกกันเท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 76

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ความเพียรครั้งแรกชื่อว่า อารัพภธาตุ ในคำมีอาทิว่า อารพฺภธาตุ. ความเพียรมีกำลังแรงกว่านั้น เพราะออกจากความเกียจคร้านได้ ชื่อว่า นิกกมธาตุ ความเพียรที่แรงกว่านั้น เพราะก้าวไปยังฐานข้างหน้าๆ ชื่อว่า ปรักกมธาตุ. แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ความเพียรเริ่มแรก เพื่อบรรเทากาม ๑ การก้าวออกเพื่อกำจัดกิเลสดุจลิ่ม ๑ ความบากบั่นเพื่อตัดกิเลสดุจเครื่องผูก ๑ แล้วกล่าวว่า เรากล่าวว่า ความเพียรมีประมาณยิ่งกว่าทั้ง ๓ อย่างแม้นั้น.

บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ได้แก่ ผู้มีความเพียรที่บริบูรณ์ และมีความเพียรที่ประคองไว้ ในสองอย่างนั้น ความเพียรที่ปราศจากโทษ ๔ อย่าง พึงทราบว่า ความเพียรที่เริ่มแล้ว แต่ไม่ใช่ที่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ใช่ที่ประคองเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ความเพียรที่หดหู่ในภายใน และไม่ใช่ความเพียรที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ความเพียรนี้นั้น มี ๒ อย่าง คือความเพียรทางกาย ๑ ความเพียรทางใจ ๑

ในสองอย่างนั้น พึงทราบความเพียรทางกายของภิกษุ ผู้พากเพียรพยายามทางกาย ตลอด ๕ ส่วน ของกลางคืนและกลางวัน อย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อมชำระจิตเสียจากธรรมที่พึงกั้นจิต ด้วยการเดินการนั่งตลอดวัน. พึงทราบความเพียรทางจิต ของภิกษุผู้พากเพียรพยายามผูกใจ ด้วยการกำหนด

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 77

โอกาสอย่างนี้ว่า เราจักไม่ออกไปจากที่เร้นนี้ ตราบเท่าที่จิตของเรา ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น หรือด้วยการกำหนดอิริยาบถ มีการนั่ง เป็นต้นอย่างนี้ว่า เราจักไม่เลิกนั่งขัดสมาธินี้ ตราบเท่าที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น. ความเพียรแม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมสมควรในที่นี้. ก็สำหรับท่านผู้ปรารภความเพียร ด้วยความเพียรแม้ทั้ง ๒ อย่างนี้ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เหมือนพระติสสเถระเผ่ามิลักขะ เหมือนพระมหาสิวเถระ ผู้อยู่เงื้อมเขาใกล้ละแวกบ้าน เหมือนพระปีติมัลลกเถระ และเหมือนพระติสสเถระบุตรกุฏุมพี ฉะนั้น ก็บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระ ๓ รูปข้างต้น และพระเถระเหล่าอื่นเห็นปานนั้น เป็นผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร ด้วยความเพียรทางกาย พระติสสเถระบุตรกุฏุมพี และพระเถระเหล่าอื่นเห็นปานนั้น เป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยความเพียรทางใจ ส่วนพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ที่อุจจวาลุกวิหาร เป็นผู้ปรารภความเพียรทั้ง ๒ อย่าง.

ได้ยินว่า พระเถระ เดินจงกรมสัปดาห์ ๑ ยืนสัปดาห์ ๑ นั่งสัปดาห์ ๑ นอนสัปดาห์ ๑ พระมหาเถระไม่มีแม้สักอิริยาบถหนึ่ง ที่จะได้ชื่อว่า ไม่เป็นสัปปายะ ในสัปดาห์ที่ ๔ ท่านเจริญวิปัสสนา ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ การถือเอานิมิตในการบริโภคเกินไป ๑ การเปลี่ยนอิริยาบถโดยสม่ำเสมอ ๑ มนสิการถึงอาโลกสัญญา ๑ การอยู่กลางแจ้ง ๑ ความมีกัลยาณมิตร ๑ การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ ๑ จริงอยู่

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 78

เมื่อภิกษุบริโภคโภชนะ เหมือนอย่างพราหมณ์ที่ชื่อว่า อาหรหัตถกะ พราหมณ์ที่ชื่อว่า ภุตตวัมมิตกะ พราหมณ์ที่ชื่อว่า ตัตถวัฏฏกะ พราหมณ์ที่ชื่อว่า อลังสาฏกะ และพราหมณ์ที่ชื่อว่า กากมาสกะ เป็นต้น นั่งในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน กระทำสมณธรรมอยู่ ถีนมิทธะย่อมครอบงำเหมือนช้างใหญ่ ฉะนั้น แต่เมื่อภิกษุหยุดพักคำข้าว ๔ - ๕ คำ แล้วดื่มน้ำเสีย พอทำอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ ถีนมิทธะนั้นก็ไม่มี แม้เมื่อภิกษุถือเอานิมิตในการบริโภคเกินไป ดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้ ถีนมิทธะก้าวลงในอิริยาบถใด เมื่อท่านเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้นเสียก็ดี มนสิการถึงแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งประทีป แสงสว่างแห่งคบเพลิงตอนกลางคืน และแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ตอนกลางวันก็ดี อยู่กลางแจ้งก็ดี คบกัลยาณมิตร ผู้ละถีนมิทธะได้แล้ว เสมือนกับพระมหากัสสปเถระก็ดี ย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยการกล่าวสัปปายกถา อันอิงธุดงคคุณ ในอิริยาบถมีการยืน และการนั่งเป็นต้น ก็ย่อมละได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วูปสนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตสงบแล้วด้วยฌาน หรือวิปัสสนา

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 79

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละอุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความเป็นผู้พหูสูต ความเป็นผู้สอบถาม ความเป็นผู้ชำนาญวินัย การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้เรียนได้ ๑ นิกาย ๒ นิกาย ๓ นิกาย ๔ นิกาย หรือ ๕ นิกาย ด้วยอำนาจบาลี และด้วยอำนาจอรรถแห่งบาลี ย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะได้ แม้ด้วยความเป็นพหูสูต เมื่อภิกษุมากด้วยการสอบถามในสิ่งที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถยืนและนอนเป็นต้นก็ดี เป็นผู้ชำนาญ เพราะมีความช่ำชองชำนาญ ในวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าหาพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เฒ่าก็ดี คบกัลยาณมิตรผู้ทรงพระวินัย เสมือนกับพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะได้ ย่อมละได้แม้ด้วยคำอันเป็นสัปปายะ ที่อิงสิ่งที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจะกุกกุจจะ

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โยนิโส มนสิกโรโต ความว่า มนสิการอยู่ โดยอุบาย ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ ความเป็นพหูสูต การสอบถาม ความเป็นผู้ชำนาญวินัย ความเป็นผู้มากด้วยน้อมใจเชื่อ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำอันเป็น

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 80

สัปปายะ เมื่อภิกษุเรียน ๑ นิกาย ๒ นิกาย ๓ นิกาย ๔ นิกาย หรือ ๕ นิกาย ด้วยอำนาจบาลีและด้วยอำนาจอรรถ ย่อมละวิจิกิจฉาได้ แม้ความเป็นพหูสูต เมื่อภิกษุมากด้วยการสอบถามเกี่ยวกับพระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีความช่ำชองชำนาญในพระวินัยก็ดี ผู้มากไปด้วยอธิโมกข์ กล่าวคือ ศรัทธาปักใจเชื่อในฐานะ ๓ ก็ดี ผู้ส้องเสพกัลยาณมิตร เสมือนพระวักกลิเถระผู้น้อมไปในศรัทธาก็ดี ย่อมละวิจิกิจฉาได้ ย่อมละได้ แม้ด้วยการกล่าวถ้อยคำอันเป็นสัปปายะ อิงคุณพระรัตนตรัย ในอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในนีวรณปหานวรรคนี้ ท่านกล่าวไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ แล.

จบ อรรถกถาสูตร นีวรณปหานวรรคที่ ๒