พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อกัมมนิยวรรคที่ ๓ ว่าด้วยจิตที่อบรมและไม่อบรม

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 81

อกัมมนิยวรรคที่ ๓

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงานเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน.

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้วย่อมควรแก่การงานเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน.

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้วย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้วย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 82

เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้.

[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้.

จบ อกัมมนิยวรรคที่ ๓

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 83

อรรถกถาอกัมมนิยวรรคที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อวิภาวิตํ ความว่า ไม่เจริญ คือไม่เป็นไปด้วยอำนาจภาวนา บทว่า อกมฺมนิยํ โหติ ได้แก่ ย่อมไม่ควรแก่งาน คือไม่คู่ควรแก่งาน.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ พึ่งทราบความโดยปริยายดังกล่าวแล้ว ก็บทว่า จิตฺตํ ในสูตรที่ ๑ นั้น ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ (ในสูตรที่ ๒ ได้เก่ จิตที่เกิดด้วยอำนาจวัฏฏะ) ก็ในสองอย่างนั้น พึงทราบความแตกต่างกันดังนี้ คือ วัฏฏะ วัฏฏบาท วิวัฏฏะ วิวัฏฏบาท กรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า วัฏฏะ กรรมคือการกระทำเพื่อได้วัฏฏะ ชื่อว่า วัฏฏบาท โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า วิวัฏฏะ กรรมคือการปฏิบัติเพื่อได้วิวัฏฏะ ชื่อว่า วิวัฏฏบาท ท่านกล่าววัฏฏะและวิวัฏฏะ ไว้ในสูตร เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 84

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ พึงทราบจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะนั่นแล บทว่า มหโต อนตฺถาย สํวตฺตติ ความว่า จิตแม้ให้เทวสมบัติ มนุษยสมบัติ และความเป็นใหญ่ในมารและพรหม ยังให้ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเนืองๆ และให้ วัฏฏะ คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท ย่อมให้แต่กองทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

จบ อรรถสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

บทว่า จิตฺตํ ในสูตรที่ ๔ ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕ - ๖

ในสูตรที่ ๕ - ๖ มีความแปลกกันเพียงเท่านี้ว่า อภาวิตํ อปาตุภูตํ ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ดังนี้ ในข้อนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า จิตแม้เกิดด้วยอำนาจวัฎฏะ ก็ชื่อว่า ไม่อบรม ไม่ปรากฏ เพราะเหตุไร? เพราะไม่สามารถจะแล่นไปในวิปัสสนา ที่มีฌานเป็นบาท มรรค ผล และนิพพาน อันเป็นโลกุตตระ ส่วนจิตที่เกิดด้วยอำนาจวิวัฏฏะ ชื่อว่า เป็นจิตอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะเหตุไร? เพราะสามารถแล่นไปในธรรมเหล่านั้นได้ ส่วนท่านพระปุสสมิตต

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 85

เถระ ผู้อยู่กุรุนทกวิหารกล่าวว่า ผู้มีอายุ มรรคจิตเท่านั้น ชื่อว่า เป็นจิตอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕ - ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘

ในสูตรที่ ๗ - ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อพหุลีกตํ ได้แก่ ไม่กระทำบ่อยๆ พึงทราบเฉพาะจิตที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจวัฏฏะ และวิวัฏฏะ ทั้ง ๒ ดวง แม้นี้แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

(จิต) ชื่อว่า นำทุกข์มาให้ เพราะชักมา คือนำมาซึ่งวัฏฏทุกข์ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์) บาลีว่า ทุกฺขาธิวาหํ ดังนี้ ก็มีความแห่งบาลีนั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ว่า จิต ชื่อว่า ทุกขาธิวาหะ เพราะยากที่จะถูกนำส่งตรงต่ออริยธรรม อันมีฌานที่เป็นบาทของโลกุตตระ เป็นต้น แม้จิตนี้ก็คือ จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏทุกข์ นั่นเอง. จริงอยู่ จิตนั้นแม้จะให้เทวสมบัติ และมนุษย์สมบัติ มีประการดังกล่าวแล้ว ก็ชื่อว่านำทุกข์มาให้ เพราะนำชาติทุกข์เป็นต้นมาให้ และชื่อว่า ยากที่จะนำไป เพราะส่งไป เพื่อบรรลุอริยธรรมได้โดยยาก.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 86

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

จิต ก็คือ จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิวัฏฏะนั่นแหละ จริงอยู่ จิตชื่อว่า สุขาธิวหะ หรือสุขาธิวาหะ เพราะอรรถว่าชักมา คือนำมาซึ่ง ทิพยสุขอันละเอียดประณีตกว่าสุขของมนุษย์, ซึ่งฌานสุขอันละเอียดประณีตกว่าทิพยสุข. ซึ่งวิปัสสนาสุขอันละเอียดประณีตกว่าผลสุข. ซึ่งมรรคสุขอันละเอียดประณีตกว่าวิปัสสนาสุข. ซึ่งผลสุขอันละเอียดประณีตกว่ามรรคสุข, ซึ่งนิพพานสุขอันละเอียดประณีตกว่าผลสุข, จริงอยู่ จิตนั้น เป็นจิตสะดวกที่จะส่งตรงต่ออริยธรรม ซึ่งมีฌานอันเป็นบาทของโลกุตตระ เป็นต้น เหมือนวชิราวุธของพระอินทร์ที่ปล่อยไป ฉะนั้น เหตุนั้นจึงเรียกว่า สุขาธิวาหะ. ในวรรคนี้ท่านกล่าววัฏฏะและวิวัฏฏะ เท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาอกัมมนิยวรรค ๓