พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓ ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 181

เอกปุคคลบาลี

เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก

[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกหา ได้ยากในโลก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล หาได้ยากในโลก.

[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 182

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคลผู้เอก เป็นเหตุเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นเหตุเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก.

[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ ด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.

[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอก เป็นความปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่างๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชา และวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นความปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 183

เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่างๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชา และวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล.

[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว ผู้ยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมอันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ เหมือนสารีบุตรนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม อันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไป ตามโดยชอบทีเดียว.

จบ เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 184

อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

อรรถกถาสูตรที่ ๑

เอกปุคคลวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอกปุคฺคโล แปลว่า บุคคลคนเดียว. บทว่า เอโก ใน คำว่า เอกปุคฺคโล นี้ เป็นการกำหนดจำนวน ซึ่งมีใจความปฏิเสธ คนที่ ๒ เป็นต้น. บทว่า ปุคฺคโล เป็นคำพูดโดยสมมติ ไม่ใช่คำพูด โดยปรมัตถ์.

จริงอยู่เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า มี ๒ อย่าง คือ สมมติเทศนา ๑ ปรมัตถเทศนา ๑ ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาทำนองนี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร ชื่อว่า สมมติเทศนา เทศนาทำนองนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน ชื่อว่า ปรมัตถเทศนา. ในเทศนา ๒ อย่างนั้น ชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยสมมติ สามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง สมมติเทศนาแก่ชนเหล่านั้น. ส่วนชนเหล่าใด ฟังเทศนาเนื่องด้วย ปรมัตถ์ แล้วสามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.

ในข้อนั้น พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้.

เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น ผู้บรรยาย เนื้อความแห่งเวททั้ง ๓ ชนเหล่าใด เมื่อพูดด้วยภาษาทมิฬ ย่อมรู้ใจ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 185

ความได้ ก็จะสอนชนเหล่านั้น ด้วยภาษาทมิฬ ชนเหล่าใดเมื่อพูดด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาของชาวอันธะเป็นต้น ย่อมรู้ใจความได้ ก็จะสอนด้วยภาษานั้นๆ แก่ชนเหล่านั้น เมื่อเป็นดังนั้น มาณพเหล่านั้น อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมเรียนศิลปะ ได้โดยฉับพลันทีเดียว. ในอุปมานั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนอาจารย์. ปิฎก ๓ ตั้งอยู่ในภาวะที่จะต้อง บอกกล่าว เปรียบเหมือนเวท ๓ ความเป็นผู้ฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ เหมือนความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น เวไนยสัตว์ผู้สามารถเข้าใจความได้ ด้วยอำนาจแห่งสมมติ และปรมัตถ์เหมือนมาณพ ผู้รู้ภาษาท้องถิ่นต่างๆ กัน เทศนาด้วยอำนาจสมมติและปรมัตถ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการสอนด้วยภาษา มีภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่า

พระสัมพุทธเจ้า เป็นยอดของผู้กล่าวสอนทั้งหลาย ได้ตรัสสัจจะ ๒ อย่าง คือ สมมติ สัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่ตรัสสัจจะที่ ๓ คำที่ชาวโลกหมายรู้กันก็เป็นสัจจะ เพราะมี โลกสมมติเป็นเหตุ คำที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ก็เป็นสัจจะ เพราะมีความจริงของธรรมทั้งหลาย เป็นเหตุ เพราะฉะนั้น มุสาวาท จึงไม่เกิดแก่พระโลกนาถผู้ศาสดา ผู้ฉลาดในโวหาร ผู้ตรัสตามสมมติ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 186

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปุคคลกถา ว่าด้วยบุคคล ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ เพื่อทรงแสดงหิริ ความละอาย และโอตัปปะ ความเกรงกลัว ๑ เพื่อทรงแสดงกัมมัสสกตา (ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) ๑ เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน ๑ เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมก่อนกรรมอื่นๆ ที่ให้ผล) ๑ เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา) ๑ เพื่อทรงแสดงถึงบุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติก่อนไว้) ๑ เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณา) ๑ และเพื่อไม่ทรง ละโลกสมมติ ๑. เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลาย ย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว ดังนี้ มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรู (โต้แย้ง) ว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว. แต่เมื่อตรัสว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ และมาร ย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย ไม่กลับ เป็นศัตรู (ไม่โต้แย้ง). เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบุคคลกถา (กถาว่าด้วยบุคคล) ก็เพื่อทรงแสดงหิริ และโอตตัปปะ.

แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความที่สัตว์มีกรรม เป็นของตน. แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า มหาวิหารทั้งหลาย มีเวฬุวัน เป็นต้น อันขันธ์ ธาตุ อายตนะ สร้างแล้วก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 187

แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมปลงชีวิต บิดา มารดา พระอรหันต์ กระทำกรรมคือยังพระโลหิตให้ห้อ และกระทำสังฆเภท ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงอนันตริยกรรม.

แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมมีเมตตา ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงพรหมวิหารธรรม. แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณ ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงบุพเพนิวาสญาณ.

แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมรับทานมหาชน ย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรูว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมรับทาน. แต่เมื่อกล่าวว่า บุคคลผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม เป็นต้น มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความหมดจดแห่งทักษิณา.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ละโลกสมมติ ตั้งอยู่ในชื่อของชาวโลก ในภาษาของชาวโลก ในคำพูดจากันของชาวโลก นั่นแลแสดงธรรม. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา แม้เพื่อไม่ละโลกสมมติ.

ดังนั้น จึงชื่อว่าบุคคลเอก เพราะบุคคลนั้นด้วย เป็นเอกด้วย. ที่ชื่อว่าบุคคลเอก เพราะอรรถว่ากระไร? เพราะอรรถว่า ไม่มีผู้อื่นเหมือน เพราะอรรถว่าพิเศษโดยคุณ เพราะอรรถว่าเสมอกับ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 188

พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีบุคคลเสมอ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่เหมือนกับมหาชนทั่วไป โดยคุณคือโพธิสมภาร นับตั้งแต่ทรงรำพึงถึงบารมี ๑๐ ตามลำดับ และโดยพระพุทธคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเอก เพราะอรรถว่าไม่มีใครเหมือนบ้าง.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงมีคุณพิเศษกว่า คุณของเหล่าสัตว์ผู้มีคุณทั่วไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อบุคคลเอก เพราะอรรถว่า มีความพิเศษโดยคุณ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนๆ ไม่เสมอ ด้วยสัตว์ทุกจำพวก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ พระองค์เดียวเท่านั้น เป็นผู้เสมอกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยพระคุณคือรูปกาย และพระคุณคือนามกาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเอก เพราะอรรถว่า เสมอกับพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ.

บทว่า โลเก ได้แก่ โลก ๓ คือ สัตวโลก โอกาสโลก สังขารโลก. กถาว่าด้วยความพิสดารแห่งโลกทั้ง ๓ นั้น ท่านได้กล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรค. บรรดาโลก ๓ นั้น สัตวโลกท่านประสงค์เอาในที่นี้. จริงอยู่ พระตถาคตนั้น แม้เมื่อเกิดในสัตวโลก หาได้เกิดในเทวโลก และ ในพรหมโลกไม่ ย่อมเกิดเฉพาะในมนุษยโลกเท่านั้น. แม้ในมนุษยโลกเล่า ก็หาได้เกิดในจักรวาลอื่นไม่ ย่อมเกิดเฉพาะในจักรวาลนี้เท่านั้น แม้ในจักรวาลนั้น ก็หาเกิดในที่ทุกแห่งไปไม่.

ในทิศบูรพา มีนิคม ชื่อว่า กชังคละ ถัดจากกชังคละนิคมนั้นไป มีนครชื่อว่า มหาสาละ ถัดจากมหาสาละนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ในทิศอาคเนย์ มีแม่น้ำ ชื่อว่า สัลลวดี ถัดจากแม่น้ำสัลลวดีนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 189

เป็นมัชฌิมชนบท. ในทิศทักษิณ มีนิคมชื่อว่า เสตกัณณิกะ ถัดจาก เสตกัณณิกนิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ในทิศประจิม มีบ้านพราหมณ์ ชื่อว่าถูนะ ถัดจากบ้านพราหมณ์นั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศอุดร มีภูเขา ชื่อว่า อุสีรธชะ ถัดจากเขานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็น มัชฌิมชนบท. พระตถาคตย่อมอุบัติ ในมัชฌิมประเทศ ที่ท่านกำหนดดังกล่าวมาแล้วนั้น โดยส่วนยาววัดได้ ๓๐๐ โยชน์ โดยส่วนกว้างวัดได้ ๑๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์. อนึ่งพระตถาคต หาได้อุบัติแต่ลำพังพระองค์อย่างเดียวไม่ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ แม้ท่านผู้มีบุญอื่นๆ ก็ย่อมเกิดขึ้น. พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ์ และ พราหมณ์คฤหบดี ผู้เป็นบุคคลสำคัญเหล่าอื่น ก็ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศนี้เหมือนกัน.

ก็บทว่า อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ ทั้งสองนี้ เป็นคำกล่าวค้างไว้เท่านั้น. ก็ในคำนี้พึงทราบความอย่างนี้ว่า พระตถาคตเมื่ออุบัติ ย่อมอุบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก หาอุบัติด้วยเหตุอื่นไม่. ก็ในอธิการนี้ ลักษณะเห็นปานนี้ ใครๆ หาอาจคัดค้านคำทั้งสองนั่นโดยลักษณะศัพท์อื่นไม่.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความต่างกันในคำนี้ ดังนี้ว่า อุปฺปชฺชมาโน นาม (ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติ) อุปฺปชฺชติ นาม (ชื่อว่ากำลังอุบัติ) อุปฺปนฺโน นาม (ชื่อว่าอุบัติแล้ว.) จริงอยู่ พระพุทธองค์ได้รับคำ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 190

พยากรณ์ แต่บาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร เมื่อแสวงหาพุทธการกธรรม (ธรรมเครื่องทำความเป็นพระพุทธเจ้า) ทรงเห็นบารมี ๑๐ จึงทรงตกลงพระทัยว่า เราควรบำเพ็ญธรรมเหล่านี้ แม้กำลังบำเพ็ญทานบารมีอยู่ ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ. แม้เมื่อทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ เหล่านี้คือ ศีลบารมี ฯลฯ อุเปกขาบารมีก็ดี ทรงบำเพ็ญอุปบารมี ๑๐ อยู่ก็ดี ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ. แม้เมื่อทรงบำเพ็ญปรมัตถบารมี ๑๐ อยู่ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ เมื่อบริจาค ซึ่งมหาบริจาค ๕ ประการ ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ แม้เมื่อทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา และพุทธัตถจริยา ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ. แม้เมื่อทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรม ให้ถึงที่สุด สิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ. แม้เมื่อทรงละอัตตภาพพระเวสสันดร ถือปฏิสนธิในดุสิตบุรี ดำรงอยู่ตลอด ๕๗ โกฏิปี กับอีก ๖๐,๐๐๐ ปี ก็ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติ. พระองค์อันเทวดาทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดู มหาวิโลกิตะ ๕ ประการ ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระเทวี ทรงพระนามว่า มหามายาก็ดี ทรงอยู่ในพระครรภ์ ๑๐. เดือนถ้วนก็ดี ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. แม้ทรงดำรงอยู่ในการครองเรือน ๒๙ พรรษา ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. แม้เมื่อทรงเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม มีนายฉันนะเป็นสหาย ทรงม้ากัณฐกะตัวประเสริฐ เสด็จออกผนวชในวันที่พระราหุลภัททะประสูติ ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. เสด็จผ่านพ้นราชอาณาจักรทั้ง ๓ แห่งไป ทรงผนวชที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานทีก็ดี ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน แม้ทรงทำมหาปธานความเพียร ๖ พรรษา ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. เมื่อพระญาณแก่กล้าแล้วเสวยกระยาหารหยาบก็ดี ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 191

เหมือนกัน. แม้เมื่อขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑสถาน ในวันวิสาขบุรณมี ในเวลาเย็นทรงกำจัดมาร และพลแห่งมาร ทรงระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณในปฐมยาม ทรงชำระทิพพจักขุในมัชฌิมยาม ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์ โดยอนุโลม และปฏิโลม ในเวลาติดต่อกับปัจฉิมยาม แล้วแทงตลอดโสดาปัตติมรรคก็ดี ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. ในขณะแห่งโสดาปัตติผลก็ดี ในขณะแห่งสกทาคามิมรรคก็ดี ในขณะแห่งสกทาคามิผลก็ดี ในขณะแห่งอนาคามิมรรคก็ดี ในขณะแห่งอนาคามิผลก็ดี ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. ส่วนในขณะแห่งอรหัตตมรรค ชื่อว่า กำลังอุบัติ. ในขณะแห่งอรหัตตผล ชื่อว่า อุบัติแล้ว. จริงอยู่ อิทธิวิธญาณเป็นต้น ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นตามลำดับ เหมือนของพระสาวกทั้งหลาย. ก็กองแห่งคุณมีพระสัพพัญญุตญาณ เป็นต้น แม้ทั้งสิ้นชื่อว่า ย่อมมาพร้อมกันทีเดียวกับพระอรหัตตมรรค. เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นชื่อว่า อุบัติแล้ว ในขณะแห่งอรหัตตผล เพราะมีกิจทั้งปวงอันสำเร็จแล้ว. ในสูตรนี้พึงทราบว่า กำลังอุบัติ หมายเอาขณะแห่งอรหัตตผล นั่นแล. ความจริงในคำว่า อุปฺปชฺชติ นี้ มีใจความดังนี้ว่า อุปฺปนฺโน โหติ (ย่อมเป็นผู้อุบัติ).

บทว่า พหุชนหิตาย ความว่า ย่อมเสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. บทว่า พหุโน ชนสฺส สุขาย ความว่า ย่อมเสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก. บทว่า โลกานุกมฺปาย ความว่า เสด็จอุบัติ เพราะอาศัยความเอ็นดูแก่สัตวโลก. ถามว่า แก่สัตว์โลกไหน? แก้ว่า เพื่อประโยชน์แก่สัตวโลกผู้สดับ พระธรรมเทศนาของพระตถาคต ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้วตรัสรู้ธรรม. เมื่อพระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 192

ภาคเจ้า ยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ณ โพธิมัณฑสถาน แล้วเสด็จจากโพธิมัณฑสถาน มายังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แล้วทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ อย่างนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ เป็นต้น พรหมนับได้ ๑๘ โกฏิ พร้อมด้วยท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. พระองค์เสด็จอุบัติ เพื่อความอนุเคราะห์แก่สัตวโลกนี้. ในวันที่ ๕ ในเวลาจบ อนัตตลักขณสูตร พระปัญจวัคคีย์เถระ ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. พระองค์ เสด็จอุบัติ เพื่อความอนุเคราะห์แก่สัตวโลกแม้นี้. ลำดับนั้น ทรงให้บุรุษ ๕๕ คน มียสกุลบุตรเป็นหัวหน้า ดำรงอยู่ในพระอรหัต. แต่นั้นทรงให้ภัททวัคคีย์กุมาร ๓๐ คน ณ ไพรสณฑ์ป่าฝ้าย ได้บรรลุมรรค ๓ และผล ๓. พระองค์เสด็จอุบัติ เพื่อความอนุเคราะห์แก่สัตวโลกนี้. ในเวลาจบอาทิตตปริยายสูตร ให้ชฎิล ๑,๐๐๐ คน ดำรงอยู่ในพระอรหัต ณ คยาสีสประเทศ. อนึ่ง พราหมณ์ และคฤหบดี ๑๑ นหุต มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ณ สวนตาล หนุ่มฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อีก ๑ นหุตตั้งอยู่ในสรณะ ในเวลาจบ อนุโมทนาด้วยติโรกุฑฑสูตร สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในสมาคมแห่งนายสุมนมาลาการ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในสมาคมแห่งช้างธนบาล สัตว์ ๑๐,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในสมาคมแห่งขทิรังคารชาดก สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในสมาคมแห่งชัมพุกาชีวก สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤต. ในสมาคมแห่งอานันทเศรษฐี สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤต. ในวันแสดงปารายนสูตร ณ ปาสาณกเจดีย์ สัตว์ ๑๔ โกฏิ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในวันแสดงยมกปาฏิหาริย์ สัตว์ ๒๐ โกฏิ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 193

ดื่มน้ำอมฤต. เมื่อพระศาสดาประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ภพดาวดึงส์ ทรงกระทำพระมารดาให้เป็นกายสักขี แสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ สัตว์ ๘๐ โกฏิ ดื่มน้ำอมฤต. ในวันเสด็จลงจากเทวโลก สัตว์ ๓๐ โกฏิ ดื่มน้ำอมฤต ในสักกปัญหสูตร เทวดา ๘๐,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ ในมหาสมัยสูตร ในมงคลสูตร ในจุลลราหุโลวาทสูตร ในสมจิตตปฏิปทาสูตร สัตว์ผู้ได้ตรัสรู้ธรรมกำหนดไม่ได้. พระองค์เสด็จอุบัติ เพื่อความอนุเคราะห์แก่สัตวโลก แม้นี้แล. เบื้องหน้าแต่นี้จากวันนี้ไป (และ) ในอนาคตกาล พึงทราบเนื้อความในอธิการนี้ ดังกล่าวมานี้ แม้ด้วยอำนาจแห่งเหล่าสัตว์ ผู้อาศัยพระศาสนาแล้วดำรงอยู่ในทางสวรรค์ และพระนิพพาน.

บทว่า เทวมนุสฺสานํ ความว่า พระองค์เสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้น ก็หาไม่ (แต่) เสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่สัตว์ที่เหลือ มีนาค และครุฑ เป็นต้นด้วย. ก็เพื่อจะแสดงบุคคล ผู้ถือปฏิสนธิเป็นสเหตุกะ ผู้สมควรทำให้แจ้งมรรคและผล จึงกล่าวอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระองค์เสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล และเพื่อความสุขเท่านั้น แม้แก่สัตว์เหล่านั้น.

บทว่า กตโม เอกปุคฺคโล มีปุจฉาดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า ปุจฉานี้ มี ๕ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา (คำถาม เพื่อให้กระจ่างในสิ่งที่ตนยังไม่เห็น) ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (คำถาม เพื่อเทียบกับสิ่งที่ตนเห็นแล้ว) ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา (คำถาม เพื่อตัดความสงสัย) ๑ อนุมติปุจฉา (คำถาม เพื่อรับอนุมัติ) ๑ กเถตุ-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 194

กัมยตาปุจฉา (คำถาม โดยใคร่จะกล่าวเสียเอง ๑) ปุจฉาทั้ง ๕ นั้น มีความต่างกันดังต่อไปนี้.

อทิฎฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน? ลักษณะตามปกติ เป็นสิ่งยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังชั่งไม่ได้ ยังไม่ได้ไตร่ตรอง ยังไม่ปรากฏชัด ยังไม่แจ่มแจ้ง บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อชั่ง เพื่อไตร่ตรอง เพื่อต้องการให้ปรากฏชัด เพื่อต้องการความแจ่มแจ้ง แห่งลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.

ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน? ลักษณะตามปกติ เป็นอันรู้แล้ว เห็น ชั่ง ไตร่ตรอง ปรากฏชัด และแจ่มแจ้งแล้ว บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.

วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน? ตามปกติ บุคคลย่อมแล่นไปสู่ความสงสัย เกิดความลังเลใจขึ้นว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรหนอ เป็นอย่างไรหนอ เขาจึงถามปัญหา เพื่อต้องการตัดความสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.

อนุมติปุจฉา เป็นไฉน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหา ตามความเห็นชอบของภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ไม่ เที่ยงพระเจ้าข้า. ก็รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า. ก็รูปใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นรูปนั่นว่า นั่นเป็นของเรา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 195

เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. ก็ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า. นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฉา.

กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถาม ปัญหาโดยที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะตรัสตอบเสียเอง แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.

ในปุจฉาทั้ง ๕ เหล่านั้น ปุจฉา ๓ ข้างต้น ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุไร? เพราะว่าสิ่งไรๆ ในกาลอันยืดยาวทั้ง ๓ กาล ที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือพ้นจากกาลอันยืดยาว ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ชื่อว่าไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงชั่ง ไม่ทรงไตร่ตรอง ไม่ปรากฏชัด ไม่แจ่มแจ้ง ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา จึงไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ก็สิ่งใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้ว ด้วยพระญาณของพระองค์ กิจ คือ การเทียบเคียงสิ่งนั้นกับด้วยผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม ย่อมไม่มีด้วยเหตุนั้น ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ย่อมไม่มีแก่พระองค์. ก็เพราะเหตุที่พระองค์ไม่มีความสงสัย. เป็นเหตุให้กล่าวว่าอย่างไร เป็นผู้ข้ามพ้นความเคลือบแคลงเสียได้ ขจัดความสงสัยในธรรมทั้งปวงได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น วิมติเฉทนาปุจฉา จึงไม่มีแก่พระองค์. ส่วนปุจฉา ๒ ข้อนอกนี้ย่อมมีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ในปุจฉาเหล่านั้น ปุจฉานี้ พึงทราบว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 196

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชี้บุคคลเอก ที่เขาถามด้วยคำถามนั้น ให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุ ๘ ประการ คือ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น. ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้. ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริงตามที่เป็นจริง. ทรงพระนามว่า พระตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง.ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง. ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเอง และให้ผู้อื่นกระทำ. ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำได้ (คือเป็นใหญ่).

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้นเป็นอย่างไร?

เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทรงขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงเสด็จมาแล้ว เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระสิขีเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระเวสสภูเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกกุสันธะเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระโกนาคมนะเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จมา ข้อนี้มีอธิบายอย่างไร? มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เสด็จมาด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้นเหมือนกัน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 197

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศเหล่านี้ คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ คือ บริจาคอวัยวะ บริจาคทรัพย์ บริจาคลูก บริจาคเมีย บริจาคชีวิต ทรงบำเพ็ญบุพประโยค บุพจริยา การแสดงธรรม และญาตัตถจริยา เป็นต้น ทรงถึงที่สุดแห่งพุทธจริยา เสด็จมาแล้วอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี เป็นต้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เสด็จมาแล้วอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า คถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น เป็นอย่างนี้

พระมนุทั้งหลายมีพระวิปัสสี เป็นต้น เสด็จมาสู่ความเป็นพระสัพพัญญูในโลกอย่างใด แม้พระศากยมุนีนี้ ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีจักษุจึงทรงพระนามว่า ตถาคต ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 198

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างไร?

เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นก็เสด็จไป ฯลฯ เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นก็เสด็จไป ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปอย่างไร? จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ประทับยืน บนปฐพีด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยอย่างพระบาท ๗ ก้าว ดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ประสูติบัดเดี๋ยวนั้น ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อท้าวมหาพรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีต่อไป ดังนี้. และการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผัน ด้วยความเป็นบุพพนิมิตแห่งการบรรลุ คุณวิเศษหลายประการ คือ ข้อที่พระองค์ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ก็ได้ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน นี้เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ ของพระองค์. อนึ่ง ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้อง ทิศอุดร เป็นบุพพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง. การย่างพระบาท ๗ ก้าวเป็นบุพพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ การกั้นพระเศวตฉัตร เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันบริสุทธิ์ประเสริฐ. คือพระอรหัตตผลวิมุตติธรรม. การทอดพระเนตรเหลียวดูทั่วทิศ เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้พระอนาวรณญาณ คือความเป็นพระ-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 199

สัพพัญญู. การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพพนิมิตแห่งการประกาศ พระธรรมจักรอันประเสริฐ อันใครๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น ละการเสด็จไปของพระองค์นั้น ก็ได้เป็นอาการอันแท้ไม่เปรผัน ด้วยความเป็นบุพพนิมิต แห่งการบรรลุคุณวิเศษเหล่านั้นแล.

ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

พระควัมบดีโคดมนั้น ประสูติแล้วในบัดเดี๋ยวนั้น ก็ทรงสัมผัสพื้นดิน ด้วยพระยุคลบาทสม่ำเสมอ เสด็จย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าว และฝูงเทพยดา เจ้าก็กางกั้นเศวตฉัตร พระโคดมนั้น ครั้นเสด็จไปได้ ๗ ก้าว ก็ทอดพระเนตรไปรอบทิศเสมอกัน ทรงเปล่งพระสุรเสียง ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ปานดังราชสีห์ ยืนอยู่บนยอดบรรพตฉะนั้น ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีเสด็จไปแล้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จไปแล้วฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เหมือนฉันนั้นทีเดียว ทรงละกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว ทรงละพยาบาท ด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะ ด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 200

ทรงละวิจิกิจฉา ด้วยการกำหนดธรรม เสด็จไปแล้ว ทรงทำลายอวิชชา ด้วยพระปรีชาญาณ ทรงบรรเทาความไม่ยินดี ด้วยความปราโมทย์ ทรงเปิดบานประตู คือ นิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ทรงสงบวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน ทรงหน่ายปีติ ด้วยตติยฌาน ทรงละสุขทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน ทรงก้าวล่วงรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เสด็จไปแล้ว.

ทรงละนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา ทรงละสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา ทรงละอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสสนา ทรงละนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ทรงละราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา ทรงละสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา ละความยึดมั่น ด้วยอุปสมานุปัสสนา ทรงละฆนสัญญา (สำคัญว่าเป็นก้อน) ด้วยขยานุปัสสนา ทรงละอายูหนา (การประมวลมา) ด้วยวยานุปัสสนา ทรงละธุวสัญญา (สำคัญว่ายั่งยืน) ด้วยวิปริณามานุปัสสนา ทรงละนิมิตตสัญญา ด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ทรงละการตั้งมั่นแห่งกิเลส ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ทรงละอภินิเวส (ยึดมั่น) ด้วยสุญญุตานุปัสสนา ทรงละสาราทานาภินิเวสะ (ยึดมั่นด้วยยึดถือว่าเป็นสาระ) ด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ทรงละสัมโมหาภินิเวส (ยึดมั่นด้วยความลุ่มหลง) ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ทรงละอาลยาภินิเวส (ยึดมั่นในอาลัย) ด้วยอาทีนวานุปัสสนา ละอัปปฏิสังขา (ไม่พิจารณา) ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ละสังโยคาภินิเวสะ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 201

(ยึดมั่นในการประกอบกิเลส) ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา ทรงละกิเลสอัน ตั้งอยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงถอนกิเลสอย่างละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาดด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม ตถาคต เพราะเสด็จมาถึง ลักษณะที่แท้เป็นอย่างไร? ปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง เป็นลักษณะแท้ไม่แปรผัน อาโปธาตุ มีลักษณะไหลเอิบอาบ เตโชธาตุ มีลักษณะร้อน วาโยธาตุมีลักษณะเคลื่อนไปมา อากาศธาตุมีลักษณะที่สัมผัสถูกต้องไม่ได้ วิญญาณธาตุมีลักษณะรู้แจ้ง รูปมีลักษณะสลาย เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำอารมณ์ สังขารมีลักษณะปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ วิตกมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารมีลักษณะตามเคล้าอารมณ์ ปีติมีลักษณะแผ่ไป สุขมีลักษณะสำราญ เอกัคคตาจิตมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ผัสสะมีลักษณะถูกต้องอารมณ์ สัทธินทรีย์มีลักษณะน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์มีลักษณะประคองไว้ สตินทรีย์มีลักษณะบำรุง สมาธินทรีย์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์มีลักษณะรู้ชัด สัทธาพละมีลักษณะไม่หวั่นไหวในความเชื่อ วิริยพละมีลักษณะไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน สติพละมีลักษณะไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้มีสติหลงลืม สมาธิพละมีลักษณะไม่หวั่นไหวในความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละมีลักษณะไม่หวั่นไหวในอวิชชา สติสัมโพชฌงค์มีลักษณะบำรุง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีลักษณะเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์มีลักษณะประคอง ปีติสัมโพชฌงค์มีลักษณะแผ่ไป

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 202

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะเข้าไปสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีลักษณะพิจารณา สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเห็น สัมมาสังกัปปะมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาวาจามีลักษณะกำหนดถือเอา สัมมากัมมันตะมีลักษณะลุกขึ้นพร้อม สัมมาอาชีวะมีลักษณะผ่องแผ้ว สัมมาวายามะมีลักษณะประคอง สัมมาสติมีลักษณะบำรุง สัมมาสมาธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อวิชชามีลักษณะไม่รู้ สังขารมีลักษณะคิดนึก วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ นามมีลักษณะน้อมไป รูปมีลักษณะสลาย สฬายตนะมีลักษณะต่อกัน ผัสสะมีลักษณะถูกต้องอารมณ์ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ตัณหามีลักษณะเป็นเหตุ อุปาทานมีลักษณะยึดถือ ภพมีลักษณะประมวลมา ชาติมีลักษณะบังเกิด ชรามีลักษณะทรุดโทรม มรณะมีลักษณะจิตไป ธาตุมีลักษณะว่าง อายตนะมีลักษณะต่อกัน สติปัฏฐานมีลักษณะบำรุง สัมมัปปธานมีลักษณะเริ่มตั้ง อิทธิบาทมีลักษณะสำเร็จ อินทรีย์มีลักษณะเป็นใหญ่ พละมีลักษณะไม่หวั่นไหว โพชฌงค์มีลักษณะนำออกจากทุกข์ มรรคมีลักษณะเป็นตัวเหตุ สัจจะมีลักษณะเป็นของแท้ สมถะมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนามีลักษณะตามเห็น สมถ และวิปัสสนามีลักษณะแห่งกิจอันเดียวกัน ธรรมที่ขนานคู่กันมีลักษณะไม่กลับกลาย สีลวิสุทธิมีลักษณะสำรวม จิตตวิสุทธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิมีลักษณะเห็น ขยญาณ (ความรู้ในความสิ้นไป) มีลักษณะตัดขาด อนุปปาทญาณ (ความรู้ในความไม่ เกิดขึ้น) มีลักษณะระงับ ฉันทะมีลักษณะเป็นมูลเค้า มนสิการมีลักษณะเป็นสมุฏฐานที่เกิดขึ้น ผัสสะมีลักษณะเป็นที่รวมกัน เวทนามีลักษณะประชุมลง สมาธิมีลักษณะเป็นประมุข สติมีลักษณะเป็นอธิปไตย

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 203

ปัญญามีลักษณะยิ่งยวดกว่านั้น วิมุตติมีลักษณะเป็นสาระ นิพพานที่หยั่งลงสู่อมตะ มีลักษณะเป็นที่สุดสิ้น เป็นของแท้ไม่แปรผัน ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงลักษณะที่แท้ด้วยญาณคติ คือ บรรลุไม่ผิดพลาด ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามความเป็นจริงอย่างไร?

ชื่อว่าธรรมที่แท้จริง ได้แก่ อริยสัจ ๔. อย่างที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นของแท้ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง? ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ว่า นี้ทุกข์ นั่นเป็นของแท้ นั่นไม่ผิด นั่นไม่กลายเป็นอย่างอื่น. พึงทราบความพิสดารต่อไป. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ ก็ คต ศัพท์ในที่นี้ มีตรัสรูยิ่งเองเป็นอรรถ.

อีกอย่างหนึ่ง สภาวะชรา และมรณะอันเกิด และประชุมขึ้น เพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นความแท้ไม่แปรฝัน ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ สภาวะสังขารทั้งหลายเกิด และประชุมขึ้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นความแท้ไม่แปรผันไม่เป็นอย่างอื่น. สภาวะอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายก็เหมือนกัน สภาวะสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ฯลฯ สภาวะชาติเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะ, เป็นความแท้นั้นไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ธรรมที่แท้นั้นทั้งหมด แม้เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งธรรม

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 204

อันถ่องแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ ธรรมอันถ่องแท้ตามความเป็นจริง เป็นอย่างนี้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็นรูปารมณ์ โดยอาการทุกอย่าง ที่มาปรากฏทางจักขุทวาร ของเหล่าสัตว์หาประมาณมิได้ ในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ในโลก พร้อมด้วยเทวโลก ในหมู่สัตว์พร้อมด้วยเทวดา และมนุษย์.

รูปารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เห็นอย่างนี้ ทรงจำแนก ด้วยอำนาจอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้นก็ดี ด้วยอำนาจร่องรอย, ที่ได้ในการเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้แจ้งก็ดี โดยชื่อมิใช่น้อย โดยวาระ ๑๓ โดยนัย ๕๒ ตามนัยมีอาทิว่า รูปใด เพราะอาศัยมหาภูตรูป ๔ มีสี และแสง เห็นได้ กระทบได้ เป็นสีเขียว สีเหลือง รูปนั้นคือรูปายตนะเป็นไฉน ดังนี้ เป็นของแท้ทั้งนั้น ไม่แท้ไม่มี. แม้ในสัททารมณ์ เป็นต้น ที่มาปรากฏแม้ในโสตทวาร เป็นต้นก็นัยนี้. สมจริงดังคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์ใดอันชาวโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ อันหมู่สัตว์พร้อมด้วยเทวดา และมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว พิจารณาแล้ว ย่อมรู้อารมณ์นั้น เรารู้ยิ่งอารมณ์นั้น แล้วด้วยใจ อารมณ์นั้น ตถาคตรู้แจ้งแล้ว อารมณ์นั้น ปรากฏแก่ตถาคตแล้ว. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริงด้วยประการ ฉะนี้. พึงทราบการเกิดแห่งบทว่า ตถาคต (ผู้ทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง)

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 205

ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริงเป็นอย่างไร?

ราตรีใด พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอปราชิตบัลลังก์ ณ โพธิมัณฑสถาน ทรงย่ำยีกระหม่อมของมารทั้ง ๓ ตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และราตรีใด เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ ในระหว่างราตรีนั้น ในเวลาที่พระองค์มีพรรษาประมาณ ๔๕ พรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพุทธพจน์อันใด ในปฐมโพธิกาลบ้าง มัชฌิมโพธิกาลบ้าง ปัจฉิมโพธิกาลบ้าง คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนั้น ใครๆ ตำหนิไม่ได้ ทั้งโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ ไม่ขาดไม่เกิน บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เป็นเครื่องย่ำยีราคะ ในพระพุทธพจน์นั้น ไม่มีความผิดพลาดแม้เพียงปลายขนทราย พระพุทธพจน์ทั้งหมดนั้น เหมือนประทับไว้ด้วยตราอันเดียวกัน เหมือนตวงด้วยทะนานเดียวกัน และเหมือนชั่งด้วยตาชั่งอันเดียวกัน จึงเป็นของแท้แน่นอนทั้งนั้น ไม่มีที่ไม่แท้.้ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ระหว่างราตรีนั้น ได้ภาษิต ได้กล่าว ชี้แจง คำพูดอันใดอันนั้น เป็นของแท้อย่างเดียว ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. จริงอยู่ คตศัพท์ ในบทว่า ตถาคโต นี้ มีคทเป็นอรรถ. ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง การพูด อธิบายว่า การกล่าวชื่อว่า อาคทะ. การตรัสของพระองค์เป็นจริง ไม่วิปริต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 206

เพราะแปลง เป็น ต. พึงทราบการเชื่อมบทในอรรถนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติกระทำอย่างที่ตรัสนั้น เป็นอย่างไร?

เพราะว่า พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมอนุโลมแก่พระวาจา แม้พระวาจาก็อนุโลมแก่พระกาย เพราะเหตุนั้น พระองค์ตรัสอย่างใด ก็ทรงกระทำอย่างนั้น และทรงกระทำอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น. ก็พระวาจาของพระองค์ผู้เป็นอย่างนั้น ตรัสอย่างใด แม้พระกายก็ไปอย่างนั้น อธิบายว่า ดำเนินไปอย่างนั้น. อนึ่ง พระกายทรงกระทำอย่างใด แม้พระวาจาก็ตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทำอย่างนั้น กระทำอย่างใด ก็พูดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติกระทำอย่างที่ตรัสนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถครอบงำได้ เป็นอย่างไร?

เพราะพระองค์ทรงครอบงำสัตว์ทั้งปวงในโลกธาตุ หาประมาณมิได้ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องต่ำถึงอเวจีมหานรก เบื้องขวางกำหนดที่สุดรอบๆ ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง พระองค์ไม่มีการชั่ง หรือการนับ พระองค์ชั่งไม่ได้ นับไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระราชาแห่งพระราชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นสักกะยอดแห่งเหล่าสักกะ เป็นพรหมยอดแห่งเหล่าพรหม ด้วยเหตุนั้น พระองค์จงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 207

ครอบงำ หมู่สัตว์ในโลก พร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา และมนุษย์ อันใครๆ ครอบงำมิได้ เป็นผู้เห็นโดยแท้ ทำให้ผู้อื่นอยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. พึงทราบบทสนธิ ในคำว่า ตถาคโต นั้น อย่างนี้.

การตรัส (พึงเห็น) เหมือนยาอันประเสริฐ. ก็การตรัสนั้น คืออะไร? คือความงดงามแห่งเทศนา และความพอกพูนขึ้นแห่งบุญ. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงทรงครอบงำคนผู้เป็นปรัปปวาททั้งหมด และสัตวโลกพร้อมด้วยเทวโลก เหมือนหมอผู้มีอำนาจมาก ครอบงำงูทั้งหลายด้วยยาทิพย์ ฉะนั้น. ดังนั้นพระองค์มีการตรัส คือ ความงดงามแห่งเทศนา และความพอกพูนขึ้นแห่งบุญอันเป็นจริง ไม่วิปริต เพราะทรงครอบงำสัตวโลกได้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ตถาคต เพราะแปลง ท. อักษร เป็น ต. อักษร. ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำด้วยประการ ฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปด้วยความจริง. เพราะทรงถึงซึ่งความจริง ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ตรัสรู้ ทรงล่วงแล้ว ทรงบรรลุ ทรงดำเนินไป. ในบรรดาคำเหล่านั้น ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ ตรัสรู้โลกทั้งสิ้น ด้วยความจริง คือ ตีรณปริญญา. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ ทรงล่วงโลกสมุทัย ด้วยความจริง คือ ปหานปริญญา. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ บรรลุการดับสนิทแห่งโลก ด้วยความจริง คือ สัจฉิกิริยา. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ ดำเนินไปสู่ความจริง คือ ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความดับโลก. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคต

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 208

ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ตถาคตไม่ประกอบแล้วในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกสมุทัย ตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกสมุทัย อันตถาคตละได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธ อันตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกนิโรธ อันตถาคตกระทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธคามินีปฏิปทา อันตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว เจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัจจะใดแห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ สัจจะทั้งหมด อันตถาคต ตรัสรู้ยิ่งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. อรรถแห่งคำว่า ตถาคตนั้น บัณฑิตพึงทราบแม้ด้วยประการอย่างนี้. แม้คำนี้ก็เป็นเพียงแนวทางในการแสดงความที่ตถาคตเป็นตถาคต. พระตถาคตเท่านั้น จึงจะพรรณนาความที่ตถาคต เป็นตถาคตได้ครบถ้วน ทุกประการ.

ก็ใน ๒ บทว่า อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ อันดับแรก พึงทราบว่า อรหํ ด้วยเหตุเหล่านี้คือ เพราะเป็นผู้ไกลข้าศึกคือกิเลส เพราะเป็นผู้หักกำกงแห่งสังสารจักรเสียได้ เพราะควรแก่สักการะมีปัจจัยเป็นต้น และเพราะไม่มีความลับในการทำชั่ว. ส่วนที่ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง. ความสังเขปในข้อนี้มีเท่านี้. ทั้ง ๒ บทนี้ กล่าวไว้โดยพิสดาร ในการพรรณนาพุทธานุสสติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 209

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การเกิดขึ้น คือ การสำเร็จ. บทว่า ทุลฺลโภ โลกสฺมึ ได้แก่ หาได้ยาก คือ หาได้โดยยากยิ่งในสัตวโลกนี้. ที่ชื่อว่า หาได้ยาก เพราะเหตุไร? เพราะพระองค์ไม่อาจบำเพ็ญทานบารมี คราวเดียวแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า. อนึ่งพระองค์ไม่ทรงสามารถ บำเพ็ญทานบารมี ๒ ครั้ง ๑๐ ครั้ง ๒๐ ครั้ง ๕๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง โกฏิครั้ง แสนโกฏิครั้ง ไม่ทรงสามารถบำเพ็ญทานบารมีได้ ๑ วัน ๒ วัน ๑๐ วัน ๒๐ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ๑,๐๐๐ วัน ๑๐๐,๐๐๐ วัน แสนโกฏิวัน ฯลฯ ๑ เดือน ๑ ปี ๒ ปี ฯลฯ แสนโกฏิปี ๑ กัป ๒ กัป ฯลฯ แสนโกฏิกัปป์ พระองค์ไม่สามารถบำเพ็ญทาน บารมี ๑ อสงไขย ๒ อสงไขย ๓ อสงไขย แห่งกัป แล้วเป็นพระพุทธเจ้าได้ แม้ในศีลบารมี เนกขัมมบารมี ฯลฯ อุเบกขาบารมี ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ครั้งสุดท้าย พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ สิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป แล้วจึงสามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระองค์จึงชื่อ ว่าหาได้ยาก.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 210

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อจฺฉริยมนุสฺโส แปลว่า มนุษย์อัศจรรย์.

บทว่า อจฺฉริโย ความว่า ไม่มีเป็นนิตย์ เหมือนตาบอดขึ้นภูเขา. นัยแห่งศัพท์เท่านี้ก่อน แต่นัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่า ควรปรบมือ แล้วมองดู.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ แม้เพราะประกอบด้วยธรรมอันไม่เคยมี น่าอัศจรรย์หลายประการ มีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เคยมีน่าอัศจรรย์ ๔ ประการ ย่อมมีปรากฏ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ. ชื่อว่า อัจฉริยมนุษย์ เพราะเป็นมนุษย์ที่เคยสั่งสมมาก็มี.

จริงอยู่ การที่พระองค์ทรงประชุมธรรม ๘ ประการ อันจะทำให้อภินิหารเพียบพร้อม แล้วทรงผูกพระมนัสประทับนั่ง ณ มหาโพธิมัณฑสถาน ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ใครๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ พระองค์เดียวเท่านั้นสั่งสมมา. อนึ่งแม้การที่พระองค์ ได้รับพยากรณ์ในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ป็นผู้ไม่หวนกลับหลัง อธิษฐานความเพียร แล้วบำเพ็ญพุทธการกธรรม ใครๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้น เคยสั่งสมมา. อนึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 211

พระบารมีให้แก่กล้า (ยังพระบารมีให้ถือเอาห้อง) ดำรงอยู่ในอัตตภาพ เช่น เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร บำเพ็ญสัตตสตกมหาทาน (ของ ๗ สิ่ง สิ่งละ ๗๐๐) มีอาทิอย่างนี้ คือ ช้าง ๗๐๐ ม้า ๗๐๐ ประดับด้วย เครื่องอลังการพร้อมสรรพ มอบพระโอรส เช่น พระชาลีกุมาร พระธิดา เช่น กัณหาชินา และพระเทวี เช่น พระนางมัทรีไว้ในมุขแห่งทาน ดำรงอยู่ตลอดอายุในอัตตภาพที่ ๒ ทรงถือปฏิสนธิในภพชั้นดุสิต ซึ่งใครๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้นเคยสั่งสมนา. แม้การที่พระองค์ทรงดำรงอยู่ในภพชั้นดุสิตตลอดอายุ ทรงรับการเชิญของเทวดาทั้งหลาย ทรงตรวจดูมหาวิโลกิตะ ๕ อย่าง ทรงมีพระสติ และสัมปชัญญะ จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในตระกูลที่มีโภคะมาก ซึ่งใครๆ อื่นมิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้นเคยสั่งสมมา อนึ่งหมื่นโลกธาตุไหวในวันถือปฏิสนธิก็ดี การที่พระองค์ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี การที่หมื่นโลกธาตุไหว แม้ในวันที่พระองค์ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ เสด็จออกจากพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี การที่พระองค์ประสูติในเดี๋ยวนี้ แล้วเสด็จย่างพระบาทได้ ๗ ก้าวก็ดี การกางกั้นเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์ก็ดี การโบกพัดด้วยวาลวีชนีอันเป็นทิพย์ก็ดี การที่พระองค์ทรงเหลียวดู อย่างสีหะไปใน ๔ ทิศ ไม่ทรงเห็นสัตว์ไรๆ ที่จะเสมอเหมือนพระองค์ แล้วทรงบันลือสีหนาทอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เลิศของโลกก็ดี การที่หมื่นโลกธาตุไหว ในขณะที่พระองค์ทรงละราชสมบัติ เมื่อพระญาณแก่กล้า แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดี การที่พระองค์ประทับนั่งสมาธิ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน ทรงชนะมารเป็นต้นไปแล้ว ทรงชำระบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และทิพจักขุญาณ ทรงทำ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 212

หมื่นโลกธาตุให้ไหว ขณะทรงแทงตลอดกองคุณคือพระสัพพัญญุตญาณ ในเวลาใกล้รุ่งก็ดี ประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ซึ่งมีวนรอบ ๓ รอบ ด้วยปฐมเทศนาก็ดี ความอัศจรรย์ทั้งหมดดังกล่าว มาอย่างนี้เป็นต้น ใครๆ อื่นมิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น เคยสั่งสมมา. ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ เพราะเป็นมนุษย์เคยสั่งสมมาดังนี้บ้าง ด้วยประการอย่างนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กาลกิริยา ความว่า ชื่อว่า กาลกิริยา เพราะกิริยาที่ปรากฏในกาลครั้งหนึ่ง. จริงอยู่ พระตถาคตทรงดำรงอยู่ ๔๕ พรรษา ทรงประกาศปิฎก ๓ นิกาย ๕ สัตถุศาสน์มีองค์ ๙ พระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทรงกระทำมหาชน ให้น้อมไปในพระนิพพาน โอนไปในพระนิพพาน บรรทมระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ตรัสเรียกภิกษุสงฆ์มา ทรงโอวาทด้วยความไม่ประมาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, กาลกิริยานี้ของพระตถาคตนั้น ปรากฏมาจนกระทั่งกาลวันนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กาลกิริยา เพราะเป็นกิริยาที่ปรากฏในเวลาหนึ่ง. บทว่า อนุตปฺปา โหติ แปลว่า กระทำความเดือดร้อนตาม (ภายหลัง). ในข้อนั้น

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 213

กาลกิริยาของพระเจ้าจักรพรรดิ การทำความเดือดร้อนตามแก่ เทวดาและมนุษย์ในหนึ่งจักรวาล. กาลกิริยาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กระทำความเดือดร้อนตามแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า กระทำความเดือดร้อนตามแก่ขนมาก ดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อทุติโย ความว่า ที่ชื่อว่า อทุติโย เพราะไม่มีพระพุทธเจ้า องค์ที่ ๒. จริงอยู่พระพุทธะ. มี ๔ คือ สุตพุทธะ จตุสัจจพุทธะ ปัจเจกพุทธะ สัพพัญญูพุทธะ. ในพุทธะ ๔ นั้น ภิกษุผู้เป็นพหูสูต (มีพุทธพจน์อันสดับแล้วมาก) ชื่อว่า สุตพุทธะ. ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ (มีอาสวะสิ้นแล้ว) ชื่อว่า จตุสัจจพุทธะ. พระองค์ผู้บำเพ็ญบารมี สองอสงไขยกำไรแสนกัป แล้วแทงตลอดปัจเจกพุทธญาณ ชื่อว่า ปัจเจกพุทธะ. พระองค์ผู้บำเพ็ญบารมี ๔ - ๘ - ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป แล้วย่ำยีกระหม่อมแห่งมารทั้ง ๓ แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า สัพพัญญูพุทธะ. ในพุทธะ ๔ เหล่านี้ พระสัพพัญญูพุทธะ ชื่อว่า ไม่มีพระองค์ที่ ๒ ธรรมดาว่าพระสัพพัญญูพุทธะพระองค์อื่น จะเสด็จอุบัติร่วมกับพระสัพพัญญูพุทธะพระองค์นั้นก็หาไม่.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 214

บทว่า อสหาโย ความว่า ชื่อว่าไม่มีสหาย เพราะท่านไม่มีสหาย ผู้เช่นกับด้วยอัตตภาพ หรือด้วยธรรมที่ทรงแทงตลอดแล้ว. ก็พระเสขะและพระอเสขะ ชื่อว่า เป็นสหายของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยปริยายนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้เสกขปฎิปทา และอเสกขปฏิปทาเป็นสหายแล.

บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตตภาพเรียกว่า รูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่น เช่นกับอัตตภาพของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้ว ด้วยทองและเงิน เป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า ผู้สามารถกระทำโอกาส แม้สักเท่าปลายขนทราย ให้เหมือนอัตตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีผู้เปรียบ แม้โดยประการทั้งปวง. บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า ไม่มีผู้เทียบ เพราะใครๆ ชื่อว่า ผู้จะเทียบกับอัตตภาพของพระตถาคตนั้น ไม่มี.

บทว่า อปฺปฏิภาโค (ไม่มีผู้เทียม) ความว่า ชื่อว่า ไม่มีผู้เทียม เพราะธรรมเหล่าใดอันพระตถาคตทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า สติปัฏฐานมี ๔ ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะทำเทียมในธรรมเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า น จตฺตาโร สติปฏฺานา ตโย วา ปญฺจ วา (สติปัฏฐาน ไม่ใช่ ๔ สติปัฏฐานมี ๓ หรือ ๕.) บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล (ไม่มีบุคคล ผู้แข่ง) ความว่า ชื่อว่า ไม่มีบุคคลผู้แข่ง เพราะไม่มีบุคคลอื่นไรๆ ชื่อว่าสามารถ เพื่อให้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 215

บทว่า อสโม (ไม่มีผู้เสมอ) ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เสมอด้วยสัตว์ทั้งปวง เพราะไม่มีบุคคลเทียมนั่นเอง. บทว่า อสมสโม (ผู้เสมอ กันบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ) ความว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เป็นอดีตและอนาคต ท่านเรียกว่า ไม่มีผู้เสมอ ผู้เสมอด้วยพระ สัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครๆ เสมอเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เสมอกับบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ.

บทว่า ทฺวิปทานํ อคฺโค ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นยอดของเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก สัตว์ผู้มีรูป ไม่มีรูป ผู้มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่. เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของเหล่าสัตว์ ๒ เท้า? เพราะเนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่ ธรรมดาว่า ท่านผู้ประเสริฐ เมื่อจะอุบัติในโลกนี้ หาอุบัติในสัตว์ไม่มีเท้า มี ๔ เท้า และมีเท้ามากไม่ ย่อมอุบัติเฉพาะในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น. ในสัตว์ ๒ เท้า ชนิดไหน? ในมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. ก็เมื่อเสด็จอุบัติในหมู่มนุษย์ ย่อมอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถเพื่อทำสามพันโลกธาตุ และหลายพันโลกธาตุ ให้อยู่ในอำนาจได้. เมื่ออุบัติในหมู่เทวดา ย่อมอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ทำหมื่นโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้ ท้าวมหาพรหมนั้น พร้อมที่จะเป็นกัปปิยการก หรือเป็นอารามิก ของพระองค์ ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นยอดของสัตว์ ๒ เท้า ด้วยอำนาจเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวดาแม้นั้นทีเดียว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 216

อรรถกถาสูตรที่ ๖ เป็นต้น

ในสูตรที่ ๖ เป็นต้น วินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอกปุคฺคลสฺส ภิกฺขเว ปาตุภาวา มหโต จกฺขุสฺส ปาตุภาโว โหติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุใหญ่ย่อมปรากฏ เพราะพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลเอกปรากฏ. เมื่อบุคคลนั้นปรากฏแล้ว แม้จักขุก็ย่อมปรากฏเหมือนกัน เพราะเว้นบุคคลปรากฏเสีย จักขุก็ปรากฏไม่ได้. บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การอุบัติ คือความสำเร็จ. จักษุชนิดไหน? จักษุ คือปัญญา. เสมือนเช่นไร? เสมือนวิปัสสนาปัญญา ของพระสารีบุตรเถระ เสมือนสมาธิปัญญา ของพระมหาโมคคัลลานเถระ. แม้ในอาโลกะ (การเห็น) เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ ในการมองเห็นเป็นต้นนี้ ท่านประสงค์เอาการมองเห็น เช่นการมองเห็นด้วยปัญญา และแสงสว่าง เช่นแสงสว่างแห่งปัญญา ของพระอัครสาวกทั้งสอง. บทแม้ทั้ง ๓ นี้ คือ แห่งดวงตาอันใหญ่ แห่งการมองเห็นอันใหญ่ แห่งแสงสว่างอันใหญ่ พึงทราบว่า ตรัสเจือกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.

บทว่า ฉนฺนํ อนุตฺติยานํ ได้แก่ ธรรมอันสูงสุด ๖ อย่าง ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ในคำนั้นมีอธิบายว่า อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ คือ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ความปรากฏเกิดขึ้นแห่ง อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ จึงมี.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 217

จริงอยู่ท่านพระอานนทเถระ ย่อมได้เห็นพระตถาคต ด้วยจักขุวิญญาณทั้งเช้าทั้งเย็น นี้ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. แม้คนอื่น ไม่ว่าจะเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ก็ย่อมได้เห็น พระตถาคตเหมือนพระอานนทเถระ แม้นี้ ก็ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. อนึ่ง บุคคลอื่นอีกผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ก็ได้เห็นพระทศพลเหมือน พระอานนทเถระ ทำการเห็นนั้นให้เจริญ ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ก็ชื่อว่า ทัสสนะ เหมือนกัน ส่วนการเห็นเดิม ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. จริงอยู่ บุคคลย่อมได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลเนืองๆ ด้วยโสตวิญญาณ เหมือนพระอานนท์เถระ นี้ชื่อว่า สวนานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมได้ฟังพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า เหมือนพระอานนท์เถระ แม้นี้ก็ชื่อว่า สวนานุตตริยะ. ส่วนบุคคลอื่นอีก ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ได้ฟังพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า เหมือนพระอานนท์เถระ เจริญสวนะนั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคนี้ก็ชื่อว่า สวนะเหมือนกัน ส่วนการฟังเดิม ชื่อว่า สวนานุตตริยะ.

บุคคลย่อมได้เฉพาะศรัทธา ในพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระนี้ ก็ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. แม้บุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ได้ลาภเฉพาะ คือศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ ย่อมได้ลาภเฉพาะ แม้นี้ก็ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก เป็นกัลยาณปุถุชน ได้ลาภเฉพาะ คือศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระเจริญลาภนั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคนี้ ชื่อว่า การได้เหมือนกัน ส่วนการได้อันเดิม ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 218

อนึ่ง บุคคลศึกษาสิกขา ๓ ในพระศาสนาของพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ นี้ชื่อว่า สิกขานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมศึกษาสิกขา ๓ ในพระศาสนาของพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระแม้นี้ ก็ชื่อว่า สิกขานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ศึกษาสิกขา ๓ ในพระศาสนาของพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ เจริญสิกขา ๓ นั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคนี้ชื่อว่า การศึกษาเหมือนกัน ส่วนการศึกษาอันเดิม ชื่อว่า สิกขานุตตริยะ

อนึ่ง บุคคลปรนนิบัติพระทศพลเนืองๆ เหมือนพระอานนทเถระ นี้ชื่อว่า ปาริจริยานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมปรนนิบัติพระทศพลเนืองๆ แม้นี้ก็ชื่อว่า ปาริจริจริยานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นๆ ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ปรนนิบัติพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ เจริญการปรนนิบัตินั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคนี้ชื่อว่า การปรนนิบัติเหมือนกัน ส่วนการปรนนิบัติอันเดิม ชื่อว่า ปาริจริยานุตตริยะ.

บุคคลระลึกถึงเนืองๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระของพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ นี้ชื่อว่า อนุสสตานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ระลึกเนืองๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระของพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ แม้นี้ก็ชื่อว่า อนุสสตานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก เป็นกัลยาณปุถุชน ระลึกเนืองๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระของพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ เจริญการระลึกเนืองๆ นั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคนี้ชื่อว่า อนุสสติ เหมือนกัน ส่วนอนุสสติ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 219

เดิม ชื่อว่า อนุสสตานุตตริยะ ดังพรรณนามานี้ คืออนุตตริยะ ๖. อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ย่อมปรากฏ อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวเจือปนกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.

บทว่า จตุนฺนํ ปฏิสมฺภิทานํ สจฺฉิกิริยา โหติ ความว่า ก็ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ในปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ความรู้ในอรรถชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา. ความรู้ในธรรมชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา. ความรู้ในการกล่าวภาษา ที่เป็นอรรถและธรรมชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ความสังเขป ในที่นี้ มีเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารแห่งปฏิสัมภิทาเหล่านั้น มาแล้วในอภิธรรม นั่นแล. อธิบายว่า การกระทำให้แจ้งประจักษ์ ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ นี้ ย่อมมีในพุทธุปบาทกาล. การกระทำให้แจ้ง ปฏิสัมภิทาเหล่านั้น เว้นพุทธุปบาทกาลเสีย ย่อมไม่มี. ปฏิสัมภิทา แม้เหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า เป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.

บทว่า อเนกธาตุปฏิเวโธ ความว่า การแทงตลอดธาตุ ๑๘ มีคำว่า จักขุธาตุ รูปธาตุ ดังนี้เป็นต้น ย่อมมีในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น เว้นพุทธุปบาทกาลย่อมไม่มี. ในคำว่า นานาธาตุปฏิเวโธ โหติ การแทงตลอดธาตุต่างๆ จึงมีนี้ ธาตุ ๑๘ นี้แหละ พึงทราบว่า นานาธาตุ เพราะมีสภาวะต่างๆ. ก็การแทงตลอดอันใด ซึ่งธาตุเหล่านั้น โดยเหตุต่างๆ อย่างนี้ว่า ธาตุเหล่านี้ มีสภาวะต่างกัน ในข้อนี้ นี้ชื่อว่า การแทงตลอดธาตุต่างๆ.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 220

บทว่า วิชฺชา ในบทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยา นี้ ได้แก่ ผลญาณ. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ ธรรมที่สัมปยุตด้วยโสดาปัตติผล นอกจากวิชชานั้น. บทว่า โสตาปตฺติผลสจฺฉิกิริยา ความว่า ปฐมมรรค ชื่อว่า โสตะ. ชื่อว่า โสดาปัตติผล เพราะเป็นผลอันบุคคลพึงบรรลุ ด้วยโสตะนั้น. สกทาคามิผลเป็นตัน ปรากฏชัดแล้วแล.

บทว่า อนุตฺตรํ แปลว่า ยอดเยี่ยม. บทว่า ธมฺมจกฺกํ ได้แก่ จักรอันประเสริฐ. จริงอยู่ จักก ศัพท์นี้ มาในอรรถว่า อุรจักร (คือ จักรประหารชีวิต) ในคาถานี้ว่า

ท่านได้ประสบนางเวมานิกเปรต ๔ นาง จาก ๔ นาง เป็น ๘ นาง จาก ๘ นาง เป็น ๑๖ นาง ถึงจะได้ประสบนางเวมานิกเปรต จาก ๑๖ นาง เป็น ๓๒ นาง ก็ยังปรารถนายิ่งไปกว่านั้น จึงได้ประสบจักรนี้ จักรกรดย่อมพัดผันบนกระหม่อม ของคนผู้ถูกความอยากครอบงำแล้ว.

ลงในอรรถว่า จักรคืออิริยาบถ ในประโยคนี้ว่า ชาวชนบทเปลี่ยนอิริยาบถ เดินไปรอบๆ. ลงในอรรถว่า จักรคือไม้ ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ช่างรถ หมุนจักรคือไม้ยนต์ที่ทำ ๗ เดือนเสร็จ. ลงในอรรถว่า จักรคือลักษณะ. ในประโยคนี้ว่า โทณพราหมณ์ได้เห็น จักรคือลายลักษณะ อันเกิดที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งมีกำพันซี่. ลงในอรรถว่า จักรคือสมบัติ ในประโยคนี้ว่า สมบัติ ๔ ย่อมเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 221

ด้วยสมบัติเหล่าใด สมบัติเหล่านี้ มี ๔ ประการ. ลงในอรรถว่า จักรคือรัตนะ ในประโยคนี้ว่า จักรคือรัตนะ อันเป็นทิพย์ปรากฏอยู่. แต่ในที่นี้ ลงในอรรถว่า จักรคือธรรม.

ในบทว่า ปวตฺติตํ นี้พึงทราบประเภทดังนี้ว่า ชื่อว่า กำลังปรารถนาอย่างจริงจัง ซึ่งพระธรรมจักร ธรรมจักรชื่อว่า ปรารถนาอย่างจริงจังแล้ว ชื่อว่า กำลังทำพระธรรมจักรให้เกิดขึ้น ธรรมจักรชื่อว่า ทรงทำให้เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า กำลังประกาศพระธรรมจักร ธรรมจักรชื่อว่า ทรงประกาศแล้ว.

ชื่อว่ากำลังปรารถนาอย่างจริงจัง ซึ่งพระธรรมจักร ตั้งแต่ครั้งไหน? ครั้งที่พระองค์เป็นสุเมธพราหมณ์ เห็นโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะ ถวายสัตตสดกมหาทาน แล้วบวชเป็นฤาษี ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด ตั้งแต่นั้นมาชื่อว่า กำลังปรารถนาอย่างจริงจัง ซึ่งพระธรรมจักร.

ชื่อว่า ปรารถนาอย่างจริงจังแล้ว ตั้งแต่ครั้งไหน? ครั้งพระองค์ ประชุมธรรม ๘ ประการ แล้วทรงผูกพระมนัส เพื่อประโยชน์แก่การทำพระมหาโพธิญาณ ให้ผ่องแผ้ว ณ บาทมูลแห่งพระพุทธเจ้า พระนามว่าทีปังกร ทรงอธิษฐานพระวิริยะว่า เราไม่ได้รับพยากรณ์ จักไม่ลุกขึ้น แล้วจึงนอนลง ได้รับพยากรณ์จากสำนักพระทศพลแล้ว ตั้งแต่นั้นมา ธรรมจักรชื่อว่า ปรารถนาอย่างจริงจังแล้ว.

ชื่อว่า กำลังให้ธรรมจักรเกิดขึ้น ตั้งแต่ครั้งไหน? ครั้งแม้เมื่อพระองค์ ทรงบำเพ็ญทานบารมีชื่อว่า กำลังยังธรรมจักรให้เกิด

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 222

ขึ้น. เมื่อทรงบำเพ็ญศีลบารมีก็ดี ฯลฯ ทรงบำเพ็ญอุปบารมีก็ดี ชื่อว่า กำลังยังธรรมจักรให้เกิดขึ้น เมื่อทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ก็ดี เมื่อทรงบำเพ็ญมหาบริจาค ๕ ก็ดี ทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยาก็ดี ชื่อว่า ทรงยังธรรมจักรให้เกิดขึ้น. ทรงอยู่ในภาวะเป็นพระเวสสันดร ทรงถวายสัตตสดกมหาทาน ทรงมอบบุตรและภรรยา ในมุขคือทาน ทรงถือเอายอดพระบารมี ทรงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ในดุสิตนั้น ตลอดพระชนมายุ อันเทวดาทูลอาราธนาแล้วให้ปฏิญญา แม้ทรงพิจารณาดูมหาวิโลกนะ ๕ ชื่อว่า กำลังยังธรรมจักรให้เกิดขึ้นเหมือนกัน. เมื่อทรงถือปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี เมื่อทรงทำหมื่นจักรวาลให้ไหว ในขณะปฏิสนธิก็ดี เมื่อทรงทำโลกให้ไหวเหมือนอย่างนั้น นั่นแล ในวันเสด็จออกจากพระครรภ์ของมารดาก็ดี เมื่อประสูติในเดียวนั้น แล้วเสด็จย่างพระบาทไป ๗ ก้าว ทรงบันลือสีหนาทว่า เราเป็นผู้เลิศก็ดี เมื่อเสด็จอยู่ครองเรือน ตลอด ๒๙ พรรษาก็ดี เสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ก็ดี ทรงบรรพชา ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีก็ดี ทรงกระทำมหาปธานความเพียร ๖ พรรษาก็ดี เสวยข้าวมธุปายาส ที่นางสุชาดาถวาย แล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำ แล้วเสด็จไปโพธิมัณฑสถานอันประเสริฐ. ในเวลาเย็น ประทับนั่งตรวจโลกธาตุด้านทิศบุรพา ทรงกำจัดมาร และพลของมาร ในเมื่อดวงอาทิตย์ยังทรงอยู่ นั่นแล ทรงระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณในปฐมยามก็ดี ทรงชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยามก็ดี ทรงพิจารณาปัจจยาการ ในเวลาต่อเนื่องกับเวลาใกล้รุ่ง แล้วแทงตลอดโสดาปัตติมรรคก็ดี ทรงทำให้แจ้งโสดาปัตติผลก็ดี ทรงทำให้แจ้งสกทาคามิมรรค

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 223

สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผลก็ดี เมื่อทรงแทงตลอด อรหัตตมรรคก็ดี ก็ชื่อว่า ทรงกำลังกระทำธรรมจักร ให้เกิดขึ้นเหมือนกัน.

ก็ธรรมจักร ชื่อว่า อันพระองค์ให้เกิดขึ้นแล้ว ในขณะแห่งพระอรหัตตผล. จริงอยู่คุณราสีกองแห่งคุณทั้งสิ้น ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมสำเร็จพร้อมกับอรหัตตผล นั่นแล. เพราะฉะนั้น ธรรมจักรนั้นเป็นอันชื่อว่า อันพระองค์ให้เกิดขึ้นแล้วในขณะนั้น.

พระองค์ทรงประกาศธรรมจักรเมื่อไร? เมื่อพระองค์ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ณ โพธิมัณฑสถาน ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร กระทำพระอัญญาโกณฑัญญเถระให้เป็นกายสักขี ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ชื่อว่า ทรงประกาศพระธรรมจักร.

ก็ในกาลใดพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ได้การฟังที่บังเกิด ด้วยอานุภาพแห่งเทศนาญาณของพระทศพล แล้วบรรลุธรรมก่อนเขาทั้งหมด จำเดิมแต่กาลนั้นมา พึงทราบว่าธรรมจักร เป็นอันชื่อว่า ทรงประกาศแล้ว.

จริงอยู่ คำว่า ธรรมจักร นี้เป็นชื่อ แห่งเทศนาญาณบ้าง แห่งปฏิเวธญาณบ้าง. ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาญาณเป็นโลกิยะ ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ. ถามว่า เทศนาญาณ ปฏิเวธญาณ เป็นของใคร? แก้ว่า ไม่ใช่ของใครอื่น พึงทราบว่าเทศนาญาณ และปฏิเวธญาณ เป็นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น.

บทว่า สมฺมเทว ได้แก่ โดยเหตุ คือ โดยนัย โดยการณ์ นั้นเอง. บทว่า อนุปฺวตฺตนฺติ ความว่า พระเถระชื่อว่า ย่อมประกาศตาม

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 224

ธรรมจักร ที่พระศาสดาทรงประกาศไว้ก่อนแล้ว เหมือนเมื่อพระศาสดาเสด็จไปข้างหน้า พระเถระเดินไปข้างหลัง ชื่อว่าเดินตามพระศาสดานั้น ฉะนั้น. ถามว่า ประกาศตามอย่างไร? ตอบว่า ก็พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ อะไรบ้าง ชื่อว่า ทรงประกาศธรรมจักร. พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ นั่นแล เมื่อแสดงว่า ดูก่อนผู้มีอายุ สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ย่อมประกาศตามซึ่งธรรมจักร. แม้ในสัมมัปปธานเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. มิใช่แต่ในโพธิปักขิยธรรมอย่างเดียว.

แม้ในคำว่า ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยวงศ์ ๔ เหล่านี้ เป็นต้น ก็พึงทราบนัยนี้เหมือนกัน. ด้วยประการดังกล่าวนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่า ทรงประกาศธรรมจักร พระเถระชื่อว่า ประกาศตามพระธรรมจักร ที่พระทศพลทรงประกาศแล้ว.

ก็พระธรรมอันพระเถระ ผู้ประกาศตามธรรมจักรอย่างนี้ แสดงแล้วก็ดี ประกาศแล้วก็ดี ย่อมชื่อว่า เป็นอันพระศาสดาทรงแสดงแล้ว ประกาศแล้วทีเดียว. ผู้ใดผู้หนึ่งไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณีก็ตาม อุบาสก อุบาสิกาก็ตาม เป็นเทพ หรือเป็นท้าวสักกะก็ตาม เป็นมารหรือเป็นพรหมก็ตาม แสดงธรรมไว้ ธรรมทั้งหมดนั้น เป็นอันชื่อว่า พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ทรงประกาศแล้ว. ส่วนชนนอกนั้นชื่อว่า ตั้งอยู่ในฝ่ายของผู้ที่ดำเนินตามรอยอย่างไร? เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายอ่านลายพระราชหัตถ์ ที่พระราชาทรงประทาน แล้วกระทำงานใดๆ งานนั้นๆ อันผู้ใดผู้หนึ่ง กระทำเองก็ดี ให้คนอื่นกระทำก็ดี เขาเรียกว่า พระราชาใช้ให้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 225

ความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนพระราชาผู้ใหญ่. พุทธพจน์คือปิฎก ๓ เหมือนลายพระราชหัตถ์ การให้โดยมุขคือนัยในพระไตรปิฎก เหมือนการทรงประทานลายพระราชหัตถ์. การให้บริษัท ๔ เรียนพุทธพจน์ ตามกำลังของตนแล้ว แสดงประกาศแก่ชนเหล่าอื่น เหมือนอ่านลายพระราชหัตถ์แล้ว ทำการงาน. ในธรรมเหล่านั้น ธรรมที่ผู้ใดผู้หนึ่งแสดงก็ดี ประกาศก็ดี พึงทราบว่า ชื่อว่า ธรรมอันพระศาสดาแสดงแล้ว ประกาศแล้ว เหมือนผู้ใดผู้หนึ่ง อ่านลายพระราชหัตถ์ ทำงานใดๆ ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ดี งานนั้นๆ ชื่อว่า อันพระราชาใช้ให้ทำแล้วเหมือนกัน. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

จบ อรรถกถา เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓